S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การบริหารจัดการ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงิน ให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาในอนาคต(2557-11-25T06:35:58Z) จารุวรรณ เป็งมลการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในอนาคต” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอว่าควรนำกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาใช้ในการบริหารจัดการกยศ.ในอนาคต กยศ. ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาไปแล้วกว่า 3.7 ล้านราย และใช้งบประมาณแผ่นดินไปกว่า 3 แสนล้านบาท แต่นับว่ายังไม่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและ CSR เป็นหน่วยวิเคราะห์ เพื่อนำมวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) จากผลศึกษา กยศ. ควรนำแนวคิด CSR มาใช้ในการบริหารจัดการมากกว่าเดิม และควรอยู่ในกระบวนการทำงานหลักขององค์กร เป็น“CSR in-process" โดยปรับปรุงข้อกำหนด ข้อบังคับ หรือกฎหมาย และควรมีกลยุทธ์ด้าน CSR ที่เป็นที่ยอมรับเป็นเครื่องมือ อาทิ นโยบายการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ (Good governance) มาตรฐาน ISO 26000 การกำหนดให้ CSR เป็นยุทธศาสตร์หลักของ กยศ. เชื่อได้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อ นักเรียน นักศึกษา และสังคมโดยรวม ทำให้กยศ.ประสบความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา และขับเคลื่อนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงรายการ ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ THE ACHIEVEMENT IN MANAGEMENT OF THE CRIME SUPPRESSION DIVISION,CENTRAL INVESTIGATION BUREAU ROYAL THAI POLICE(2557-09-02T11:01:09Z) จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์การวิจัยเรื่อง “ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม (2) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปรามกับผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม และ (4) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการบริหารจัดการที่ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจของกองบังคับการปราบปราม จำนวน 304 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 14 คน