S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การบริหารจัดการยุทธศาสตร์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร= INTEGRATED STRATEGIC MANAGEMENT OF TOURISM IN THE SAMUT SAKHON PROVINCE(2558-01-08T09:08:28Z) สุนทร วัฒนาพรการวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร จากนักท่องเที่ยวจานวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, และศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร จากผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จานวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง 25–34 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับประกาศนียบัตร ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001–20,000 บาท นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญต่อภาพรวมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาครระดับสูงทุกด้าน โดยให้ความสาคัญด้านการตลาดการท่องเที่ยวสูงที่สุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร มีโครงสร้างหน้าที่และบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ส่วนด้านงบประมาณมาจากภาครัฐเป็นหลัก ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาครพบว่า ด้านโครงสร้างหน้าที่ คือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไม่ได้ขึ้นกับสังกัดเดียวกัน และ ประเด็นสาคัญคือการไม่มีคณะกรรมการร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับจังหวัด ด้านบุคลากร คือภาครัฐยังมีบุคลากรน้อยและไม่มีความชำนาญอย่างแท้จริง ด้านงบประมาณ คือการได้รับงบประมาณจากส่วนกลางน้อยมาก และที่สาคัญขาดการบูรณาการงบประมาณของภาครัฐ ด้านการมีสถานที่ดำเนินการอย่างเหมาะสม คือการไม่มีศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยว และที่สาคัญสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสาครไม่ได้มีสถานที่ทาการของตนเอง ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงานของภาครัฐ คือไม่สามารถสั่งการข้ามสังกัดได้ ส่วนการประสานงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชนปัญหาคือ แนวทางระเบียบขั้นตอนในการทำงานที่แตกต่างกัน ด้านสมรรถนะขององค์กรภาครัฐที่จะนานโยบายไปปฏิบัติ คือการที่องค์กรภาครัฐมีสมรรถนะระดับต่า สาหรับด้านความร่วมมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติภาครัฐ คือการไม่ทราบว่าเจ้าภาพที่รับผิดชอบหลักด้านการท่องเที่ยวคือใคร แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าควรมีการบูรณาการใน 2 ระดับ คือ การบูรณาการระดับองค์กร เป็นกระบวนการบูรณาการระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัด เพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด และ การบูรณาการระดับปฏิบัติการ เพื่อนำนโยบายและยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้กำหนดไปใช้ในการดำเนินการ โดยการจัดตั้งอนุกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัด