LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กฎ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการควบคุมการออกกฎและการดำเนินการตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครอง(Sripatum University, 2567) ชาญณรงค์ ศรีเกตุสารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายอันเกิดจากฝ่ายปกครอง (Administration) ออกกฎ (By-law) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (IIlegality) จากการศึกษา พบว่าพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (Administrative Procedure Act B.E. 2539 (1996) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999) กำหนดเพียงนิยามคำว่า "กฎ" ไว้เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการควบคุมการออกกฎ และการดำเนินการตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครองไว้แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจในการออกกฎ และมีองค์กรตุลาการทางปกครองที่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ซึ่งมีการใช้หลักการของบทบัญญัติแห่งกฎหมายแม่บท แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางกฎหมายมาพิจารณาในการออกกฎและตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่ก็มิอาจรับรองได้ว่ากฎที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าจะชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่งผลที่กระทบต่อสิทธิของบุคคล หรือไม่จำกัดหรือลิดรอนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้กฎที่ออกโดยฝ่ายปกครองชอบด้วยกฎหมายโดยสารนิพนธ์นี้มีการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎของฝ่ายปกครองตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยรายการ ปัญหาการควบคุมและตรวจสอบการออกกฎของหน่วยงานทางปกครอง : ศึกษากรณีการเพิกถอนกฎตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปรีชา สุขะสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการตรากฎหมายลำดับรองที่ออกโดยหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติต่างๆ ดังนั้น กฎหมายลำดับรองที่ตราขึ้นโดยหน่วยงานทางปกครองซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงมีจำนวนมากมาย และมีความหลากหลายที่แตกต่างกันทั้งที่มาของอำนาจในการออก เนื้อหา รูปแบบ สภาพบังคับ ซึ่งกฎดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งการมีผลกระทบต่อการปกิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การศึกษาในครั้งนี้มุ่งศึกษาแนวคิด และวิวัฒนาการเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้หน่วยงานทางปกครองออกกฎหมายลำดับรอง โดยศึกษาระบบกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพนธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นต้น และศึกษาระบบกฎหมายของไทย เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาในการพัฒนาการออกกฎหมายลำดับรองของไทยให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติรัฐอันเป็นหลักซึ่งอารยประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ยอมรับกันเป็นสากลรายการ ปัญหาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาวิธีการชั่วคราวก่อนดารพิพากษาคดีปกครอง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กรรณิกา ฉวีจันทร์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีปกครอง การทุเลาการบังคับตามกฎ (By – Law) หรือคำสั่งทางปกครอง (Administrative Order) และการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว (Temporary Relief) ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ พระราชบัญญัติจัดตั้งสาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 66 วรรคสอง วางหลักว่าการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีนั้น ให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบรอหารงานของรัฐประกอบด้วย