LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กฎหมาย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายส่งเสริมการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ประพันธ์ สันติวิทยวงศ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าไทยมีการส่งเสริมการลงทุนโดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ที่มีการส่งเสริมน้อยกว่า ให้ความสำคัญในแนวเชิงปฏิบัติการ ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้นโยบายเปิดประเทศสู่โลกกว้าง ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าการลงทุนขององค์การการค้าโลก และข้อตกลงต่าง ๆ ที่เข้าเป็นภาคีร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีกฎหมายว่าด้วยการลงทุนชาวต่างชาติ ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ฉบับใหม่ที่มีการส่งเสริมที่กว้างขวางครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับการลงทุนของต่างชาติ ความเหมือนและแตกต่างของกฎหมายราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็คือ ข้อจำกัดการลงทุนตามบัญชีรายการ ทั้งสองประเทศก็มีส่วนคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทรัพยากรของชาติ วัฒนธรรม การศึกษา และที่แตกต่างคือ ไทยจำกัดอาชีพสงวนสำหรับคนไทย องค์กรส่งเสริมของไทยคือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีอำนาจควบคุมในการอนุญาต ตรวจสอบ ส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน้าที่เพียงส่งเสริม เผยแพร่ ชักจูงให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ไม่มีอำนาจควบคุม ตรวจสอบอนุญาต แต่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ลงทุน การวิจัยเสนอแนะให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ และ ร่วมมือกับประเทศในอาเซียนผนึกกำลัง เพื่อต่อรองและสร้างสมดุลอำนาจการลงทุน ควรมีมาตรการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล สำหรับนักลงทุนไทยเสนอแนะให้ศึกษารายละเอียดและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่สาธารณรัฐประชาชนจีนรายการ การไต่สวนมูลฟ้องกับการคุ้มครองสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชาลิสา เดชโภคินันท์ในปัจจุบัน การปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้หากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลได้ประทับฟ้องบุคคลใดไว้ในกระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้น ซึ่งอาจจะต้องถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาหากไม่ได้รับการประกันตัว ผลของการไต่สวนมูลฟ้องจึงอาจทำให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำผิดได้ โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิด วิธีปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ซึ่งศาลมักจะไม่ทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน เพราะเห็นว่าการที่พนักงานอัยการฟ้องคดีย่อมมีการตรวจสอบมาแล้วโดยเริ่มต้นการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน และตรวจสอบโดยพนักงานอัยการอีกครั้งก่อนที่จะมาฟ้องคดียังศาล อันไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบการดำเนินการของพนักงานอัยการ Due Process of Law เมื่อไต่สวนมูลฟ้องเป็นการกลั่นกรองคดีก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณา และเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้กล่าวหาไม่ให้ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาโดยไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ควรที่จะต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องคคดีก่อน ไม่ใช่การดำเนินการอยู่ภายใต้หลักความเชื่อใจแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ให้สิทธิจำเลยบางอย่างแต่ก็มีข้อบกพร่องในส่วนที่จำกัดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยในชั้นไต่สวนอยู่พอสมควรกล่าวคือ การไม่ดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยอย่างแท้จริง โดยมองช่องว่างทางกฎหมายเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือหรือจำเลยควรต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการจัดให้มีทนายความมาช่วยเหลือในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพราะสิทธิการมีทนายความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องถือว่ามีความสำคัญอันเป็นไปตามหลัก Right to Counsel โดยเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะมีทนายความมาช่วยเหลือได้ แต่สิทธิดังกล่าวจะมีขึ้นได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้จัดหาทนายความมาเอง รัฐไม่ได้เป็นผู้จัดหาทนายความให้ ล้วในทางกลับกัน หากเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ ยากจน เป็นผู้ที่ไม่รู้กฎหมายแล้ว สิทธินั้นก็จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง นอกจากนี้การที่ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาประกอบการพิจารณาพิพากษาจำเลยโดยที่ไม่มีทนายความมาช่วยเหลือ ก็จะเป็นผลเสียแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยอันเกิดจากการไม่ได้รับสิทธินี้ด้วยรายการ ปัญหากฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในกิจการโทรคมนาคม ศึกษากรณีคนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในกิจการโทรคมนาคม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปกเกศ คณะธรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมีความจำเป็นเพื่อเอื้ออำนวยต่อการลงทุนของคนต่างด้าวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นธุรกิจที่คนไทยมีความต้องการการพัฒนาความรู้เทคโนโลยี ให้มีความทันสมัยและทั่งถึง ประกอบกีบประเทศไทยมีพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกและลงนามในให้สัตยาบันในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (The General Agreement on Trade in Services) หรือในระดับภูมิภาคเอเชีย เช่น สมาคมประชาชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia Nation : ASEAN)รายการ ปัญหากฏหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กรณีความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม(2555-11-21T07:05:24Z) ดิษพันธ์ สุทธิรักษ์สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายกรณีรถที่ได้มีการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “พ.ร.บ.ค้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”) มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองและชดเชยความเสียหายแก่ผ็ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยอันเกิดจากรถ เพื่อให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายได้โดยไม่จำต้องรอให้มีการพิสูจน์ความผิด จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการเยียวยาความเสียหายและการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม กรณีที่ความเสียหายเกิดจากรถบางประเภทที่ได้มีการติดตั้งวัตถุอันตราย เช่น สารพิษ หรือสารเคมี...รายการ ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์(2555-11-21T04:56:11Z) ชูสกุล สุทธิศรีศิลป์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้น เป็นมาตรการทางกฎหมายในอันที่จะให้ความคุ้มครองในทางแพ่งแก่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำละเมิดเพื่อเป็นการยับยั้งและลงโทษการกระทำใดๆของบุคคลที่ปราศจากสิทธิตามกฎหมายไม่ให้เกิดการลอกเลียนหรือเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรมจากการกระทำเพื่อใช้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ การคิดค้น หรือคิดทำ และชื่อเสียงทางการค้าของบุคคลอื่นรายการ ปัญหาการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายการจัดสรรที่ดิน : ศึกษากรณี ที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธาณะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) รชต ฉัตรวชิระวงษ์สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมายตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญยัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้จัดสรรที่ดินประกอบการจัดสรรที่ดิน โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา โฆษณา หรือแผนงาน โครงการที่เสนอไว้ในการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการจัดการที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ เป็นเหตุให้ที่ดินที่ใช้บริการสาธารณะนั้น ถูกจัดสรรที่ดินทำให้เสื่อมประโยชน์ เสื่อมความสะดวกในการใช้สอยและถูกโอนไปยังบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากขาดบทบัญญัติทางกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองที่ดินดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนผู้ซื้อที่ดินจัดสรรซึ่งเป็นผู้บริโภคและภาครัฐ การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาด้วยวิธีทางเอกสาร โดยศึกษาจากตำรา บทความ เปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ตรายการ ปัญหาในทางกฏหมายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทย(2555-11-21T04:36:03Z) สมชาย รอดสวัสดิ์กฎหมายหลักที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทยนั้นฉบับแรกคือพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ฉบับที่3) พ.ศ. 2550 ตามลำดับ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกฉบับยังคงหลักการในการให้สิทธิในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในรูปแบบภาคสมัครใจ ถึงแม้ว่าได้มีการแก้ไขกฎหมายในปี พ.ศ. 2550 ให้มีความก้าวหน้าไปในหลายๆเรื่องเช่น การแก้ไขในเรื่องนโยบายการลงทุน การโอนย้าย เงินกองทุนของลูกจ้าง ข้อกำหนดในการประชุมสมาชิก การจัดทำบัญชีกองทุน การขอรับเงินเป็นงวด การขอคงเงินไว้ในกองทุน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อความสะดวกของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบริษัทจัดการ เพื่อการปฏิบัติงาน การตรวจสอบ การลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น และไม่มีกฎหมายฉบับใดเลยที่ได้แก้ไขให้มีลักษณะเป็นการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบภาคบังคับซึ่งพัฒนาไปในบางประเทศที่เจริญแล้วเพื่อผลประโยชน์ของลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะได้มีเงินออมไว้ใช้จ่ายเมื่อแกษียณอายุ ดังนั้นจึงมีประเด็นคำถามว่า เป็นการจำกัดสิทธิของลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ นักกฎหมาย นักบัญชี วิศวกร คนขับรถรับจ้าง ชางไร่ ชาวนา และผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ที่จะได้รับโอกาศให้มีสิทธิเข้าป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเป็นหลักประกันในวัยชราที่จะมีรายได้เลี้ยงตัวเองไม่ต้องเป็นภาระของรัฐ หรือผู้อื่นในอนาคตรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาทคดีอาญาโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้าน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ทัชช แก่นน้อยสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาทคดีอายาโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยศึกษากฎหมายต่างๆของประเทสไทย ควรจะมีข้อกำหนดความรับผิดทางอาญาอย่างไร และควรที่จะเพิ่มเติมบทบัญยัติที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยคณะกรรมการหมู่บ้านเข้าไปในกฎหมายต่างๆของประเทศไทย จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการระงับข้อพิพาทคดีอาญา โดยการจัดการข้อพิพาทในคดีอาญานั้นถือเป็นการกระทำอยู่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ขาดความร่วมมือ และการประสานงานในแต่ละองค์กรอย่างเป็นระบบ และกรณีอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีอาญา หรือพิพากษาลงโทษแก่ผู้กระทำผิดได้ ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 ฉบับบัญญัติให้ผู้ใหญ่บ้านทำการไกล่เกลี่ยตักเตือน หรือตัดสินให้ผู้กระทำผิดต้องรับผิดตามกฎหมาย หากได้นำไปปฏิบัติในพื้นที่ชุมชนอย่างจริงจัง ก็ย่อมเกิดผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องนำข้อพิพาทเป็นคดีความให้รกโรงรกศาลจนมากเกินไปรายการ มาตรการบังคับใช้สิทธิบัตรยา : กรณีศึกษาสิทธิบัตรยากับการคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศไทย(2555-11-21T04:27:55Z) ธนกฤต หงษ์ฤทัยมาตรการบังคับใช้สิทธิบัตรยา(Compulsory Licensing) เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกโดยนายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ตัดสินใจบังคับใช้สิทธิบัตรยามาตรา 51 ของพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 เจตนารมณ์คือต้องการให้ยามีราคาถูกลงและประชาชนเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น โดยเบื้องต้นได้ประกาศใช้สิทธิบัตรยาด้านไวรัสเอสไอวี ได้แก่ ยาเอฟาไวเรนซ์ (Effavirenz) และยาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และแรโทนาเวียร์ (Lopinavir & Ritonavir) ที่จำหน่ายภายใต้เครื่องหมาย ยาโคลพิโดเกรล(Clopidogrel) ที่จำหน่ายในชื่อ พลาวิคซ์ (Plavix) แม้จะเป็นการใช้สิทธิโดยรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ที่มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชน์ (Public Non-Commercial Use) และสอดคล้องกับความตกลงทริปส์ (The Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization- WTO) ข้อ 31 (b)