LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กฎหมายจราจร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522: ศึกษากรณีโทษปรับทางอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อัจฉรา คะเณย์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กรณีโทษปรับทางอาญา โดยมีการศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการบังคับใช้โทษปรับทางอาญา อีกทั้งได้วิเคราะห์เปรียบเทียบการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาตามกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้ โทษปรับทางอาญาที่เหมาะสม มีมาตรการทางกฎหมายที่เคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กรณีโทษปรับทางอาญา มีจำนวนค่าปรับไม่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานจราจรในการเปรียบเทียบปรับ และปัญหาการบังคับโทษปรับกรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการนำระบบโทษปรับตามวันและรายได้มาบังคับใช้กับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นการป้องปรามยับยั้งการกระทำความผิด ทั้งนี้การกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลและบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัดและเหมาะสม เพี่อให้ผู้กระทำความผิดสำนึกในการกระทำ รู้สึกเข็ดหลาบ เกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์แก่ความปลอดภัยสาธารณะ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนรายการ ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยมประเทศไทยในปัจจุบันเกิดอุบัติเหตุทางจราจรจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพบว่า เกิดจากการที่ผู้ขับขี่มึนเมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมการขับขี่ที่เห็นได้ชัด คือ ความประมาทในการขับขี่และการดื่มสุราก่อนขับขี่ ถึงแม้ทางภาครัฐจะมีการป้องกันโดยหน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระร่วมกันรณรงค์และแก้ปัญหาเมาแล้วขับและยังมีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บังคับใช้แล้วก็ตาม แต่การแก้ปัญหาโดยบทลงโทษที่มีอยู่นั้น แนวโน้มยังไม่ดีขึ้น ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สภาพปัญหา มาตรการทางกฎหมายปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ของประเทศไทยนั้น มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิให้ผู้ขับขี่ทราบก่อนที่จะมีการกักตัวและประเด็นในส่วนของบทลงโทษยังถือว่ามีอัตราโทษที่น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษา ส่งผลให้มีการกระทำความผิดมากขึ้นในทุกปี ทั้งนี้เพราะอัตราโทษที่น้อยและไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดทำให้ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด และยังอาศัยช่องว่างของกฎหมายในการปฏิเสธการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นตัวบทกฎหมายบางมาตราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ยังขาดความแน่นอนชัดเจนและมีปัญหาการบังคับใช้อยู่บางประการ ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอแนะของการวิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในส่วนของการแจ้งสิทธิตามมาตรา 142 และที่เกี่ยวกับบทลงโทษตามมาตรา 157/1 โดยเทียบเคียงกับกฎหมายต่างประเทศ และขอเสนอให้กำหนดหลักเกณฑ์ของอัตราโทษที่จะได้รับตามระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ตรวจวัดได้ในขณะที่กระทำความผิดและตามจำนวนครั้งที่กระทำความผิด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายของต่างประเทศรายการ มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) สุสิริวงษ์ ยอดวงษ์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นและเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยก็ยังคงประสบปัญหาในเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางสังคมที่สำคัญก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือขับขี่ในขณะเมาสุรา เนื่องจากผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางไม่เคารพกฎหมายจราจร หรือ ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีสาเหตุมาจากความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้ หรือ บทลงโทษของผู้กระทำความผิด ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พบว่าภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับบทลงโทษ และลักษณะของการกระทำผิดอันเกี่ยวข้องกับการจราจรทางบกซึ่งรายละเอียดของความผิดจะถูกกำหนดโดยกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เช่น กฎกระทรวง หรือระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่ เพื่อแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ หรือการกระทำที่มีผู้กระทำความผิดแล้วส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในสังคม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าตัวบทกฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีความสามารถในการข่มขู่ หรือยับยั้งให้คนไม่กล้า หรือเกรงกลัวในการกระทำความผิดได้ ส่งผลให้ยังเกิดการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางอยู่เสมอ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนอุบัติเหตุจากการจราจรในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี (2) ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษผู้กระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะความผิดที่มีโทษปรับทางอาญา พบว่า ภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด ได้แก่ การตัดแต้มใบขับขี่ การชำระค่าปรับ และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต อย่างไรก็ตามบทลงโทษที่มีโทษปรับทางอาญา และการตัดแต้มนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งผลให้กับผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางเกิดความเกรงกลัวในผลของบทลงโทษทางกฎหมาย (3) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจรในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กับผู้กระทำความผิด พบว่าพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็นกฎหมายหลักในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจจราจร อย่างไรก็ตาม การที่พระราชบัญญัติจราจรให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับอย่างกว้าง ส่งผลให้ความเคารพกฎหมายของคนในสังคมลดลง และเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานจราจรใช้โทษและมาตรการบังคับเป็นข้อต่อรอง เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ ราชอาณาจักรสวีเดน แล้ว ทั้งสามประเทศต่างให้ความสำคัญกับลักษณะของการกระทำความผิด และบทลงโทษเพื่อป้องกันการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย พร้อมทั้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบอนุญาตขับขี่ และเขียนใบสั่งเมื่อพบเห็นการกระทำความผิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นในกรณีของการกระทำความผิดเมาแล้วขับนั้น ไม่เพียงแต่ห้ามเฉพาะผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ยังกำหนดความผิดไปถึงผู้ที่ให้ยืมรถ หรือผู้ที่จัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้ขับขี่ด้วย สหราชอาณาจักรได้กำหนดบทลงโทษในการตัดแต้ม และ ค่าปรับสำหรับผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะความผิดกรณีขับรถยนต์เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด สำหรับราชอาณาจักรสวีเดนได้ดำเนินโครงการ Vision Zero โดยได้ดำเนินการออกแบบถนนเพื่อความปลอดภัยของคน ทั้งคนขับและคนที่เดินถนน มากกว่าความสะดวกสบายในการขับขี่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ (1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของการกระทำความผิดให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโทษปรับในฐานความผิดที่กระทบสิทธิของประชาชนโดยรวม ให้สูงมากยิ่งขึ้นจนเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด (3) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานจราจรเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อพบการกระทำความผิดสามารถออกหมายเรียก หมายจับ และติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนความ เพื่อให้การติดตามและจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษมีความรวดเร็ว