CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "กรมอุทยานแห่งชาติ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเปิดรับและความเข้าใจสื่อประชาสัมพันธ์ของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่มีต่อประชาชนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธรรมรัตน์ ธัญธเนสการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปิดรับและความเข้าใจสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีต่อประชาชนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อความหมายธรรมชาติของประชาชนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ศึกษาความเข้าใจการสื่อความหมายธรรมชาติของประชาชนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติ และศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนจากการเปิดรับ และความเข้าใจมีต่อการสื่อความหมายธรรมชาติของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทั้งนี้ เป็นการศึกษาการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 26-37 ปี และจะต้องมีประสบการณ์การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติอย่างน้อย 1 ครั้งเท่านั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย มีอายุ 30-33 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้ 20,001-25,000 และมีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีความถี่ในการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 2-3 ครั้ง มีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ โดยรวม มีระดับการเปิดรับอยู่ในระดับมาก มีความเข้าใจสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยรวมมีระดับความเข้าใจอยู่ในระดับมาก และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดรายการ แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าผ่านเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(Sripatum University, 2563) อัจจิมา สำเภาเงินการวิจัยเรื่อง "แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าผ่านเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการศึกษาการสื่อสารข้อมูลเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจและแนวความคิดของกลุ่มผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีต่อรูปแบบและข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฯ