CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "กลยุทธ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา ช่อง THAI FAIRY TALES ใน YOUTUBE(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) อดิศร ไม้ประดิษฐ์วิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาช่อง thai fairy tales ใน youtube” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหากลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยม ด้าน เนื้อหา รูปแบบ วิธีการนำเสนอ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อรายการ และศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมเปิดรับรายการประเภทเด็กอย่างไรบ้าง การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยจากการการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face to face interview : F2F) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) ในการเก็บข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบศึกษาเพื่อตอบวัตุประสงค์ของการศึกษาด้วยวิธีการนำเสนอผลการวิจัยเป็นเชิงพรรณ (Descriptive Research) อภิปรายข้อมูล และ บรรยายสรุป โดยแยกตามวัตถุประสงค์ของการศึกษารายการ กลยุทธ์เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัยวุฒิกร ศิริรัตน์การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์เพื่อการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม” ครั้งนี้มุ่งศึกษา1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ และ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ในทุกคณะ สำหรับปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการจำแนกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Chi-Square ด้วยวิธีการ Crosstab และ Correlationรายการ การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนา รายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พรเทพ สิงหกุลการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องการรับรู้ และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการ ฝนฟ้าอากาศ (2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ (3) เพื่อศึกษากลยุทธ์กระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ ให้สอดคล้องกับความต้องการรับชม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการประมวลผลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ประชาชนทั่วประเทศที่เคยรับชมรายการฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD แบ่งเป็นภาค 6 ภาค ภาคละ 70ชุด รวมจำนวน 420 คน ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งการตอบแบบสอบถามผู้วิจัยจะระบุว่าผู้ชมต้องเคยรับชมรายการฝนฟ้าอากาศมาแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง โดยผู้วิจัยจะส่งให้ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำตามจังหวัดเชียงใหม่ทางภาคเหนือ จังหวัดขอนแก่นทางภาคอีสาน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้ จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออก และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้วิจัยจะทำการเผยแพร่ด้วยตนเอง ผลการศึกษาวิจัยการรับรู้ และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการ ฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD จากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า ลักษณะที่แตกต่างกัน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และที่อยู่ (ภูมิภาค) ของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ และตามผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ และ ที่อยู่อาศัย (ภูมิภาค) มีผลต่อการรับรู้ของผู้ชมที่มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ โดยช่วงอายุ 21-30 ปี มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างพบว่า รายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท บริษัทเอกชน มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่รายได้อื่นๆรายการ ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการคุยข่าว เพื่อสร้างกลยุทธ์การทำรายการ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ทินณภพ พันธะนามการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อรายการคุยข่าวเพื่อสร้างกลยุทธ์การทำรายการ” (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับชมรายการคุยข่าวของผู้ชม (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมต่อการเปิดรับชมรายการคุยข่าว (3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การทำรายการคุยข่าวของสถานีโทรทัศน์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก (Depth Interview) จากผู้อำนวยการฝ่ายข่าวหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้ดำเนินรายการ บรรณาธิการหรือโปรดิวเซอร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรายการคุยข่าวหรือฮาร์ดทอล์ค ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเลือก (Simple Random Sampling) จนได้ 5 รายการ จาก 5 สถานีโทรทัศน์ ประกอบด้วย รายการคมชัดลึก สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ช่อง 22 รายการคนชนข่าว สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู ช่อง 24 รายการดรามาโซเซียล สถานีโทรทัศน์ช่องวัน ช่อง 31 รายการถามตรงตรง สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวีช่อง 32 รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ช่อง 36 ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่ำกว่า 20 – 60 ปี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเผยแพร่แบบสอบถามใน โซเชียลมีเดีย คือ เฟซบุ๊ก และ ไลน์