CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสาร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศิริวัฒน์ ชัยพิพัฒนพงษ์การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาฟุตบอลอาชีพไทยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย และ 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย 5 ขึ้นไป จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ 10 คน ภาคเอกชน (สโมสร) 10 คน นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ 10 คน และ สื่อมวลชนสายกีฬาฟุตบอล10 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย ได้แก่ สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ การตลาด งบประมาณ บุคลากร แฟนคลับ การบริหารจัดการ รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน (สปอนเซอร์)รายการ กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วาราดา จินดาอินทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายภายในองค์กรประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และภายนอกองค์กรประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการ และสื่อมวลชนรายการ กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่มีผลต่อความสำเร็จของแบรนด์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นพวรรณ กองวิสัยสุขการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่มีผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (3) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (4) เพื่อศึกษาการรับรู้ของเจนเนอเรชั่นซีที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ และความสำเร็จของแบรนด์โลแลน ซีคูล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก (Depth Interview) ในกลุ่มบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์โลแลน ซีคูล ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการตลาด และด้านการสื่อสารขององค์กร นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักวิชาการและนักอาชีพสื่อสารจำนวนกลุ่มละ 3 ท่านในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 13-23 ปี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเผยแพร่แบบสอบถามในเฟซบุ๊กแฟนเพจของแบรนด์โลแลน ซีคูล