CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "การตัดสินใจ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศรัณญา ซื่อตรงการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค 3) กลยุทธ์ทางการตลาดของร้านกาแฟ 4) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ 5) การตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงในเขตพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการร้านกาแฟจำนวน 8 เขต ด้วยวิธีการสุ่ม ได้แก่ เขตลาดพร้าว เขตวัฒนา เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตดินแดง เขตบางเขน เขตจตุจักร และเขตบางรัก การวิเคราะห์หาคำตอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ การแสดงค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณรายการ การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2561-05-20) สันติ ธนลาภอนันต์การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง "การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม" เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุม ศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเปิดรับ การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ ปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองและการรับรู้ของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ทีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ปี 2562 ในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) คณากร คงประทีปการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง ปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองและการรับรู้ของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองปี 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ปัจจัยการรับรู้ข้อมูลพรรคการเมืองของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินไจเลือกพรรคการเมือง และศึกษาการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและใช้สื่อออนไลน์จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) อธิบายผลการวิเคราะห์ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Anaalysis) ทดสอบความแตกต่างใช้ค่าสถิติในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 ประชากรหรือกลุ่มโดยสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน (Independent-Sample T-Test) โดยใช้สถิติ T-test และทดสอบค่าสถิติในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปโดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance : One way ABOVA) โดยใช้สถิติทดสอบแบบ F-Test ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple Comparison)โดยวิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test และทำการวิเคราะห์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์สองตัวแปรโดยใช้สถิติทดสอบแบบ Peason's Correlation Coefficient ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผลในรูปแบบตารางประกอบคำอธบานรายการ พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจรับชม สื่อบันเทิงใน Netflix ของเจนเนอเรชั่น Y(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปวัตน์ แซ่บางการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ของเจนเนอเรชั่น Y” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ของเจเนอเรชั่น Y ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ของเจเนอเรชั่น Y ศึกษาทัศนคติที่มีต่อสื่อบันเทิงใน Netflix ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ของ เจเนอเรชั่น Y และเพื่อศึกษาการตัดสินใจรับชมสื่อบันเทิงใน Netflix ของเจเนอเรชั่น Y เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 17-36 ปี เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเผยแพร่แบบสอบถามในโซเซียลมีเดีย คือ เฟซบุ๊ก แฟนเพจจำนวน 8 เพจ ประกอบด้วย สมาคมผู้คลั่งไคล้ SuperHero หนังโปรดของข้าพเจ้า ขอบ สหนัง สาม ก. คอหนัง อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก JUST ดู IT Viewfinder Fanpage และ คอเป็นหนัง ทั้งนี้ดำเนินการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การคิดหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้ค่าสถิติทดสอบค่าที่ (t-test) กรณีตัวแปรสองกลุ่ม และการทดสอบค่า (f-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)รายการ พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการเปิดรับสื่อ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) บารมี โกนบางการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการเปิดรับสื่อ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ” การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษาที่ตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ศึกษาระดับการเปิดรับการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อใหม่ของนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพในระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดสูตรของ (Taro Yamane, 1973) การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าความน่าเชื่อถือโดยกำหนดความเชื่อมั่น 95%ถือว่ามีความรับผิดพลาดมาตรฐานไม่เกิน 5% หรือระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05รายการ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) จารุวรรณ ว่าบ้านพลับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีสาวสวยที่สุดในประเทศไทยอันดับที่ 1-5 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจกแจงแบบที (t test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และ ชั้นปีที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ประเภทสื่อที่เปิดรับ ประเภทสื่อที่เปิดรับ วันที่เปิดรับ ช่วงเวลาที่เปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ และเคยมีการทำศัลยกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านหลักฐานทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ พฤติกรรมการใช้ประโยชน์แอพพลิเคชั่นผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย: กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) อัมรินทร์ ข้อสมการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้ประโยชน์แอพพลิเคชั่นผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมีผลต่อการตัดสินใจในการมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการตัดสินใจในการมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี 3) ศึกษาการใช้ประโยชน์แอพพลิเคชั่นผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการตัดสินใจมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี 4) ศึกษาการตัดสินใจมีคู่ต่างชาติของผู้หญิงไทย กรณีศึกษา จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้หญิงไทยที่มีอายุระหว่าง 16-60 ปี อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกันกัน ด้วยค่า Independent-Samples t-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ในการทดสอบสมมติฐานรายการ พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฟังเพลงไทยสากลในยุคดิจิทัลของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2564) จิรายุ ละอองมณีการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฟังเพลงไทยสากลในยุคดิจิทัลของเจนเนอเรชั่นซีในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะ 1.ประชากรศาสตร์ 2.พฤติกรรมการฟังเพลงไทยสากล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฟังเพลงไทยสากล 3.ปัจจัยในการฟังเพลงไทยสากลต่อการเลือกฟังเพลงไทยสากล 4.เพื่อศึกษาการตัดสินใจการฟังเพลงไทยสากลรายการ ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์ แบ็ก อินดีด (BAG INDEED)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ภาราดา แก้วนิยมการวิจัยเรื่อง “ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารออนไลน์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed)” งานวิจัยเรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารออนไลน์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋า แบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากร ศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจซื้อ แบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาส่วน ประสมทางตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) 4) เพื่อศึกษาการสื่อสารออนไลน์ ของแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) 5) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงทั้งหมด ส่วนใหญ่สถานะโสด อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี อาชีพพนักงาน บริษัท และมีรายได้ 20,001-30,000 บาท ส่วนประสมทางการตลาด (7P) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ในภาพรวม ด้านกระบวนการจัดการสินค้าและบริการ มีค่าเฉลี่ย 4.36 อยู่ระดับการตัดสินใจซื้อมากที่สุด การสื่อสารออนไลน์ ในภาพรวมด้านการซื้อ สินค้าผ่านเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด การตัดสินใจซื้อ ในภาพรวมด้านการบอกต่อ มีค่าเฉลี่ย 4.45 อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในเรื่อง ประเภทสินค้าที่ซื้อและเหตุผลในการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการสื่อสารออนไลน์ของแบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed) ในส่วนของเว็บไซต์และแฟนเพจเฟซบุ๊ก มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ แบรนด์ แบ็ก อินดีด (Bag Indeed)