สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การขายตรง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริม(2551-06-26T06:41:53Z) วรัญญู วงศ์พินทุการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้ครอบคลุมธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมนี้ ซึ่งการประกอบธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมนี้ได้ใช้วิธีการทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภค ทั้งในลักษณะที่เป็นการติดต่อกับผู้บริโภค นอกสถานที่โดยการสาธิตคุณภาพของสินค้า ให้ผู้บริโภคได้เห็น เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าที่เรียกว่าการขายตรง การทำการตลาดวิธีดังกล่าวเป็นตลาดในเชิงรุก จำเป็นต้องใช้วิธีการระดมเครือข่ายผู้ขายตรงเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ใช้วิธีระดมเครือข่ายในการหลอกลวงให้มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ขายตรงในทางมิชอบ การตลาดเชิงรุกนี้ทำให้ผู้บริโภค อยู่ในภาวะที่ไม่อาจตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ วิธีการขายแบบเชิงรุกนี้หากมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าในด้านของการระดมหรือเครือข่ายผู้ขายตรงหรือการขายสินค้าไม่ตรงกับคำกล่าวอ้าง ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เข้าไปเป็นเครือข่ายในการขายตรง และต่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยทั่วไป ผู้เขียนได้ศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2541 และกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจคุ้มครองและครอบคลุมปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในปัจจุบันทั้งหมดได้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากตัวบทกฎหมายและมาตรการบังคับใช้ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือเกิดจากการขัดแย้งกันทางกฎหมาย เนื่องจากธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ บางครั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงยังไม่ชัดเจน ต้องใช้กฎหมายหลายฉบับมาปรับใช้จนอาจขัดแย้งกันได้ นอกจากนั้นความไม่รัดกุมของกฎหมายอาจทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ และกฎหมายที่มีอยู่ไม่มีบทลงโทษที่เข้มงวดกับผู้จำหน่ายตรง เป็นเหตุให้ผู้จำหน่ายตรง อาจกระทำผิดไปจากกฎหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจไม่เข้าใจกฎหมายหรือพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพียงพอเพราะไม่ได้ศึกษาโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายหลายประการได้ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เข้มงวด บังคับ ควบคุม ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมอย่างจริงจังเด็ดขาดเมื่อเกิดการกระทำผิด ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย และไม่ให้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและไม่เป็นธรรมในสังคม จึงได้นำปัญหาและอุปสรรคข้อบกพร่องต่างๆ ที่มีผลต่อผู้บริโภคและปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกิจการขายตรงอาหารเสริม ในปัจจุบันมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข มาตรการทางกฎหมายต่างๆ โดยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการเร่งรัดและแก้ไขปัญหากฎหมายพร้อมทั้งมาตรการทางกฎหมาย นำมาใช้บังคับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอาหารเสริม ให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนผู้บริโภคให้มีการรวมตัว มีการสร้างมาตรฐานต่างๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่รัดกุมและเข้มงวด และบังคับให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างในการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมในภายหน้าเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคต่อไป