CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การจัดเรียงสินค้าแบบเข้าก่อนออกก่อน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การวางผังคลังสินค้าห้องเย็น กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนิรุต ทรัพย์สุคนธ์ปัจจุบันธุรกิจห้องเย็นขายปลาทะเลแช่แข็งมีการแข่งขันสูง จึงต้องมีวิธีการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ปัจจัยที่สำคัญของห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร คือ การลดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า โดยการจัดวางผังสินค้าห้องเย็นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของธุรกิจให้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวธุรกิจ จากการศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิดและวางแผนการจัดการเรียงสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพโดยลดเวลาและระยะทางลง จึงได้นำเทคนิคการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC (ABC ANALYSIS) เข้ามาช่วย อีกทั้งยังดึงวิธีการ First In First Out: FIFO มาช่วยจัดการเพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ในห้องเย็น ที่เข้ามาก่อน ออกก่อน ป้องกันของเสียที่เกิดจากการเก็บสินค้าไว้นาน วิธี ABC เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะ สินค้าไหนที่มียอดขายที่สูงจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อสามารถหยิบได้สะดวก ลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าเพราะ เป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าลงได้ครึ่งหนึ่งรายการ แนวทางการวางผังการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เปล่า กรณีศึกษาลานบริการตู้คอนเทนเนอร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศศิยา กลั่นบัวหอมการวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการวางผังการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เปล่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยตู้คอนเทนเนอร์เปล่าด้วยหลักการ FIFO กรณีศึกษาลานบริการตู้คอนเทนเนอร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อทำการวิเคราะห์ วางแผน และปรับปรุงพื้นที่ในการจัดวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่าให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนผังก้างปลา, การสังเกต, หลักการ FIFO, การจัดการพื้นที่คลังสินค้า และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่าขั้นตอนในการจัดเก็บ และปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ไม่เป็นไปตามหลักการ FIFO เนื่องจากพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถแยกประเภท เและอายุของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าได้ และพนักงานไม่เข้าใจหลักการทำงาน FIFO ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุง โดยการจัดแผนผังของพื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่าใหม่ ด้วยวิธีการปรับพื้นที่ในการจัดวางตู้เปล่าให้เพิ่มขึ้น ให้สามารถคัดแยกประเภทและอายุของตู้ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาของพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และสามารถจัดเก็บและปล่อยตู้ได้ตามหลักการ FIFO มีการอธิบาย ทำความเข้าใจกับพนักงานถึงหลักการทำงานตามหลักการ FIFO ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่ลูกค้ากำหนด คือไม่เกินร้อยละ 2 สรุปการวิจัยนี้ มีการแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ในการวางตู้คอนเทนเนอร์เปล่า และการนำหลักการ FIFO เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดเก็บตู้เปล่า เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปล่อยตู้ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ FIFO ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และสามารถทำให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป