CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การท่องเที่ยว"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความพึงพอใจระบบโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศริญญกรณ์ พวงเพ็ชร์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบโลจิสติกส์สําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความพึงพอใจในระบบโลจิสติกส์สําหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test ผลการศึกษาพบว่า..ความพึงพอใจต่อระบบโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการไหลของสารสนเทศ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการให้บริการ และด้านการไหลทางกายภาพ นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา : จังหวัดนครนายก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงยกระดับความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น และ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในภาพรวมมีอายุ 25-34 ปี ทางด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวนครนายก 2-3 ครั้ง เพื่อความเพลิดเพลิน/พักผ่อนหย่อน และ มีรูปแบบการเดินทางมาเที่ยวจังหวัดนครนายกในลักษณะวางแผนการเดินทางโดยการปรึกษาเพื่อน/คนรู้จัก มีระยะเวลาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก 2 วัน 1 คืน เลือกใช้พาหนะในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกโดยใช้ รถยนต์ ได้รับทราบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต/Social Media เลือกพักรีสอร์ท ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก มากกว่า 2,000 บาท นักท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในในระดับความพึงพอใจมาก ต่อองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในภาพรวม โดยสรุป ผลการวิจัยเกี่ยวกับระดับศักยภาพโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก สามารถนําไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาการจัดการระบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพใน การดำเนินงานและมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดต่อไป เพื่อทำหน้าที่และบทบาทดังกล่าวร่วมกัน