S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 82
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการความรู้ที่ปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(2556-05-26T05:34:44Z) พระมหากัมพล เตียนคำสารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) การจัดการความรู้ 2) ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการความรู้ที่ปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเกี่ยวกับหมวดฤาษีดัดตน ผู้วิจัยพบว่า เมื่อศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 รูป/คนแล้ว ได้ผลการศึกษาวิจัยดังนี้ การจัดการความรู้นั้นเป็นเรื่องยากที่บุคคลทั่วไปจะเข้าใจได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับทางวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และยังไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ การจัดการความรู้ทั้ง 7 กระบวนการ กล่าวคือ การค้นหาความรู้, การสร้างและแสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ, การประมวลและกลั่นกรองความรู้, การเข้าถึงความรู้, การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้, และการเรียนรู้ ซึ่งมีการนำหลักการจัดการความรู้มาใช้บางกระบวนการเท่านั้น เช่น การสร้างและแสวงหาความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้รายการ การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร(2557-11-24T08:10:09Z) อุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อยการศึกษาวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1) ระดับความสาเร็จในการนานโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนานโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการนานโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ และ (4) ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสาเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน สาหรับการวิจัยเชิงปริมาณสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 25 แห่ง จานวน 294 คน และ2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละครัวเรือนจานวน 300 คน สาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มคณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน (2) กลุ่มข้าราชการ จำนวน 8 คน และ(3) กลุ่มพนักงานจ้าง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนมีความเห็นตรงกันว่า ความสำเร็จในการนานโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับปานกลาง โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีระดับความสำเร็จสูงสุด ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มีระดับความสำเร็จต่่ำที่สุด โดยในประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการนานโยบายไปปฏิบัติที่ได้ค่าคะแนนสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของนโยบาย ส่วนด้านการบรรลุเป้าหมายของนโยบายได้รับค่าคะแนนน้อยที่สุด และปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ส่วนด้านภาวะผู้นำ ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติน้อยที่สุด สาหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย ด้านทรัพยากรทางการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การ สามารถนำมาทำนายความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติได้มากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคในการนานโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) การขาดจิตสานึกสาธารณะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ (2) ปัญหาทางด้านนโยบาย และ (3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ส่วนแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) เร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน (2) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม (3) เตรียมความพร้อมทางทรัพยากรในการดาเนินงานให้เพียงพอ (4) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลจะต้อง (1) ให้ความสาคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น (2) เร่งหามาตรการในการปลูกจิตสานึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนให้เกิดขึ้น (3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ และ(4) เสริมสร้างให้เกิดระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตาบลแต่ละแห่งจะต้อง (1) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา (2) ให้ความสาคัญกับการดาเนินภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน (3) ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง (4) ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทางานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันให้เกิดขึ้นในการดำเนินงาน (5) แสวงหาการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินงาน (6) จัดเตรียมความพร้อมในทรัพยากรทางการบริหารทุกๆด้านให้เพียงพอกับการดำเนินงาน (7) เสริมสร้างให้เกิดลักษณะโครงสร้างในการทำงาน ที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ (8) ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหน้าที่เห็นถึงเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ตลอดจนถึงสามารถประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย และ (9) มีการพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นรายการ การนำระบบ BIM ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร (M&E AS BUILT DRAWINGS) กรณีศึกษาโครงการโรงแรม เวฟพัทยา(2557-11-18T08:51:31Z) ปัญญาพล จันทร์ดอนการศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ หารทดลองนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงส่วนงานระบบอาคาร (M&E As Built Drawings) กรณีศึกษาโครงการโรงแรมเวฟพัทยาโดยผู้ศึกษาเลือก Software ที่เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี จึงเลือก Software ที่ชื่อว่า Tekla BIMsight มาใช้ทำการศึกษาทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร เฉพาะงานระบบสุขาภิบาลซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของการใช้ Tekla BIMsight ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงซึ่งพบว่า TeklaBIMsight มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจาก Tekla Structure ซึงเป็น Software ที่เป็นฐานข้อมูลของ TeklaBIMsight เป็น Software สำหรับงานโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กเพราะในตัว Software เองมีข้อมูลสำเร็จรูปของเหล็กอย่างครบถ้วน ซึ่งในส่วนของระบบสุขาภิบาลตัว Software ไม่ข้อมูลสำเร็จรูปรองรับผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานต้องสร้างข้อมูลโดยกำหนดค่าต่างๆขึ้นมาเองในส่วนงานระบบสุขาภิบาลทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งานในส่วนนี้ แต่ข้อดีคือ TeklaBIMsight ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับการ Review เพื่อตรวจสอบส่วนต่างๆของงานสุขาภิบาล การแสดงผลของ TeklaBIMsight จะแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติเพื่อประโยชน์ในการวัดระยะต่างๆอีกทั้งยังสามารถ Note บันทึกตำแหน่งภาพหรือจุดต่างๆที่ต้องการใน Models แล้วส่งข้อมูลที่ Note ไปยังผู้ร่วมงานส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งทำเกิดความสะดาวกและเข้าใจได้ง่ายต่อผู้ใช้งาน และยังสามารถใช้งานบนแท็บเล็ตภายใต้ Application ที่ชื่อว่าTeklaBIMsight Note ซึ่งจะช่วยเกิดความสะดวกรายการ การบริหารการจัดการศึกษาภาษาบาลี:(2556-05-26T05:56:27Z) พระมหาสมหวัง ฐิตสํวโร (บุญสา)สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการศึกษาภาษาบาลีสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และเพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุและสามเณรต่อการบริหารการจัดการศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พระภิกษุ – สามเณร ที่เป็นกลุ่มตัวแทนภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร จำนวน 120 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test (one-way ANOVA)รายการ การบริหารก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์ กรณีศึกษา : โครงการ ไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ = UNCOMPLETE CONSTRUCTION DRAWING PROJECT IN CONSTRUCTION MANAGEMENT: A CASE STUDY OF WIN CONNECTION DELI PROMENADA CHIANG MAI(2557-10-15T10:39:30Z) ศราวุธ จำปานันท์การดำเนินวิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ แบบเฉพาะเจาะจงจำนวนทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย โดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่าโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์นั้น ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับสูง มีประสบการณ์ และความเข้าใจในการบริหาร มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย โดยสามารถสรุปหลักการและแนวคิดของการบริหารงานได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลาและแผนการดำเนินงาน ด้านงบประมาณ ด้านรูปแบบอาคารและความสวยงาม ด้านความสัมพันธ์กับที่ตั้งโครงการ ด้านความสัมพันธ์กับระบบการจัดการ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านเทคนิคที่ใช้ในการก่อสร้าง ด้านความปลอดภัย และจากการวิจัยสามารถสรุปประเด็นของปัญหาและสาเหตุได้ทั้งสิ้น 5 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านวัตถุประสงค์โครงการ ปัญหาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านวิธีการและการจัดการ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการติดต่อประสานงานข้อมูลและข่าวสาร ดังนั้นผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ที่ควบคุมและจัดการ การบริหารโครงการจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องของทั้งด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม และการจัดการอย่างดี เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถในการคาดการณ์ และสอดประสานระบบงานส่วนต่างๆ ควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน ความเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของแต่ละโครงการเป็นสำคัญรายการ การประเมินผลการบริหารวัดพระอารามหลวง(2556-05-26T05:43:26Z) พระมหาจิรสิน จนฺทสาโร ( สุภัทรากร )การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่พระภิกษุ สามเณร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกรุงเทพมหานคร ที่จำพรรษาในวัดพระเชตุพน 1 ปีขึ้นไปจำนวน 100 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ การพัฒนาการบริหารงานยศตำรวจ:(2556-05-26T06:02:55Z) ร้อยตำรวจโทหญิง วรัญญา กุมขุนทดการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารงานยศตำรวจ: กรณีศึกษา กองทะเบียนพล สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเพื่อศึกษาเป็นแนวทางที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบด้วย 2 ส่วน และแบบสัมภาษณ์ วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูล ผู้วิจัยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำรวจงานยศตำรวจ กองทะเบียนพล สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบสอบถามตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ค่าค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ในแบบสอบถาม ส่วนที่ 2รายการ การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การ บริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(2557-11-24T09:20:02Z) สรรเสริญ หมายสวัสดิ์การวิจัยเรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(4)ศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(5)ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ (6)ศึกษาแนวทางการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ พนักงานระดับปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จานวน 330 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จานวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1)กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (2)กลุ่มปลัด/พนักงานระดับหัวหน้างานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ (3)กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการ/นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านประชาคมอาเซียนและท้องถิ่น ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.ประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในแต่ละด้านพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์คือ สมรรถนะของพนักงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้นำ เป็นปัจจัยที่สามารถนามาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ 5.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคพบว่า นโยบายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ขาดการสนับสนุนอย่างเข้มข้นในทางการปฏิบัติจึงทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น (1) (1)ขาดการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชน(2)ขาดการกาหนดแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ (3)ไม่มีหน่วยงานเฉพาะสาหรับดูแลภารกิจการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยตรง (4)ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น งบประมาณ (5)ประชาชนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (6) ทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านในฐานะของผู้ที่ด้อยกว่า (6)การดำเนินงานจากส่วนกลางขาดความชัดเจน และ (7)พนักงานขาดความกระตือรือร้นและแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง 6.แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่สำคัญคือ 1)กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) 2) พัฒนาพนักงานให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4)ให้ความรู้ด้านประชาคมอาเซียนในทุกมิติที่สามารถดำเนินการได้แก่ประชาชน 5)พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และ 6)ปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยมีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาหรือหน่วยวิเทศสัมพันธ์รายการ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู : PARENTS’PARTICIPATION IN PARTICIPATORY EDUCATIONAL MANAGEMENT CONDUCTED WITH CHILD DEVELOPMENT CENTER OF NAKHAMHAI SUB-DISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, MUANG DISTRICT, NONG BUALAMPHU PROVINCE(2559-08-22T08:54:19Z) ณัฏฐพัชร์ อัครวสุวัฒน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษา ถึงปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมี จำนวน 150 คน ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่า 3 คน มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 15,000 /เดือน อาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัว มีอาชีพเกษตรกร ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาน้อยกว่า 5,000 บาท/ภาคเรียน การมีส่วนร่วมของของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการติดตามประเมินผลการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการที่ศูนย์พัฒนาเด็ก การมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน มีส่วนร่วมของปกครองอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ปกครองที่มีจำนวนบุตรต่างกัน อาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัวต่างกันมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การจัดการศึกษา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรายการ การรับรู้ด้านการบริหารจัดการของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการ(2556-05-26T06:12:01Z) วัลยา คงสินการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านการบริหารจัดการของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ต่อบทบาทหน้าที่องค์การ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและการให้บริการของสำนักงาน กสทช. และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ด้านการบริหารจัดการในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและการให้บริการของ (สำนักงาน กสทช.) ของบุคลากร สำนักงาน กสทช. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ซึ่งทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จำนวน 949 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้นจำนวน 296 คนรายการ การศึกษาข้อดี ข้อเสียของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน กรณีศึกษา งานตกแต่งร้านค้าในพื้นที่เช่าของห้างสรรพสินค้า ของบริษัท เฟอร์เนีย จำกัด(2557-11-18T08:30:33Z) เดชา วัฒนนามกุลงานตกแต่งภายในมีการแบ่งระบบการจ้างงานออกเป็นหลายรูปแบบ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน โดยเปรียบเทียบด้านต้นทุน และระยะเวลา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการศึกษาข้อดี ข้อเสียของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน ซึ่งขอบเขตของเนื้อหาเป็นงานตกแต่งร้านค้าในพื้นที่เช่าของห้างสรรพสินค้า ของบริษัท เฟอร์เนีย จำกัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบด้านต้นทุน และระยะเวลาของระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในงานตกแต่งภายใน ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาระบบการจ้างงานทั้ง 2 ระบบ ในงานตกแต่งภายใน จากนั้นสำรวจ และเก็บข้อมูลจากตัวอย่างโครงการที่มีระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วนในด้านต้นทุน และระยะเวลา แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยว และแบบสัญญาแยกส่วน ผลการวิจัยสรุปว่า ในหมวด 100 Material ของสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าสูงกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 25.79 และร้อยละ 24.53 จากมูลค่าโครงการตามลำดับ ในหมวด 200 Subcontractor จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าต่ำกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 29.92 และร้อยละ 50.93 จากมูลค่าโครงการตามลำดับ ในหมวด 300 Administrative & Expense จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าสูงกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 3.13 และร้อยละ 1.99 จากมูลค่าโครงการ ในหมวด 400 Staff Expenses จะพบว่าในลักษณะสัญญาเดี่ยวจะมีมูลค่าต่ำกว่าสัญญาแยกส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 1.50 และร้อยละ 4.88 จากมูลค่าโครงการ ส่วนด้านระยะเวลาพบว่าระบบการจ้างงานแบบสัญญาเดี่ยวใช้ระยะเวลาน้อยกว่าระบบการจ้างงานแบบสัญญาแยกส่วนรายการ การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ = A STUDY OF CUSTOMERS SATISFACTION TOWARDS SERVICES MARKETING MIX OF RYU SHABU SHABU SIAM SQUARE(2558-01-12T09:08:28Z) วิไลวรรณ บุญวิเซ็นต์การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดบริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ว่ามีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของ ร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์หรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้าน ริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ จานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ One Way ANOVA จากผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยคิดเป็นร้อยละ 53.5 ซึ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 21 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.8 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50.5 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.8 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ากว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 42.5 2. ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยาม สแควร์จาแนกตามปัจจัยของส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความพึงพอใจในด้านช่องทางการจัดจาหน่ายมากสุดรองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์และการนาเสนอ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการในการทางาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการขาย ลดหลั่นลงมาตามลาดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการร้านริว ชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์ที่มีเพศแตกต่างกัน ให้ความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมต่างกันรายการ การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กองคลัง สานักพระราชวัง= WORKING SATISFACTION OF PERSONNEL,FINANCE DEPARTMENT, BUREAU OFTHE ROYAL HOUSEHOLD(2558-01-12T11:05:49Z) สุทธกร เฟื่องกรณ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง จำนวน 120 ราย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาคือ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การหาจำนวน (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) กาหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับความสำคัญความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองคลัง สำนักพระราชวัง ทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากอยู่ 4 ด้าน โดยด้านความมั่นคงในงานและชื่อเสียง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการได้รับการยอมรับนับถือมีค่าเฉลี่ยเท่ากันและด้านนโยบายในการบริหารมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ส่วนด้านที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง จานวน 4 ด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมในการทางาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การทางานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ตามลำดับรายการ การศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน = THE STUDY OF JOB PERFORMANCE SATISFACTION OF DEPARTMENTOFALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY(2558-01-19T09:05:14Z) สุปราณี อนุศาสตร์การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire)แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1)บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีความพึงพอใจในงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้านนั้น บุคลากรมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัย และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่เหลืออีก 4 ด้าน บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูง ไปต่ำ ได้คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสวัสดิการ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านค่าตอบแทน 2)บุคลากรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล มีความพึงพอใจในงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณารายด้านพบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในงานรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ การศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานสำนักงานบริษัท โรงพยาบาลพญาไท 2จำกัด(2556-06-01T06:24:13Z) รัตนะ นิมมานเทวินทร์รายการ การศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการกรมการแพทย์ทหารบก(2556-06-02T08:32:09Z) ศรีเพ็ญ อนันธนะสารการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการกรมแพทย์ทหารบกที่มีต่อปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีต่อการตัดสินใจเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด 2)เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเฉพาะกับระดับการตัดสินใจเข้าโครงการเกษียณอายุเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของข้าราชการกรมแพทย์ทหารบก 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจในการเข้าโครงการเกษียณอายุเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของข้าราชการกรมแพทย์ทหารบกจำแนกตามตัวแปรรายการ การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการสร้างถนน กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(2557-11-17T12:53:02Z) เจน จำลองราชการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยความล่าช้าในโครงการก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา สายงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มตัวอย่างสังกัดภาคราชการ และสังกัดภาคเอกชนเทศบาลนครปากเกร็ด กลุ่มตัวอย่างละ 30 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เดือนตุลาคม 2556 จำนวน 60 ชุด และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์และเรียงลำดับจากดัชนีความรุนแรง ซึ่งเป็นการรวมค่าระดับความถี่และระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัยเพื่อหาปัจจัยความล่าช้าสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการก่อสร้างถนน ฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมา จำนวน 60 คน มีความเห็นตรงกัน 6 ปัจจัย ได้แก่ แบบก่อสร้างไม่มีความชัดเจน คลุมเครือหรือไม่ละเอียดพอ การที่ไม่มีเครื่องจักรประจำเป็นของตัวเอง ติดระบบท่อประปาใต้ดิน ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการในพื้นที่ช้า ผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้าง ความคลุมเครือของสัญญาจ้าง และจากการทดสอบค่าทางสถิติของปัญหาร่วมของโครงการก่อสร้างถนนของฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมาที่มีความคิดเห็นตรงกันที่เกิดขึ้นภายในโครงการก่อสร้างถนน ได้แก่ ปัจจัยผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้างเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงอยู่ในระดับสูง และปัจจัยความคลุมเครือของสัญญาจ้าง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงในระดับสูง ผู้ศึกษาหวังว่าปัจจัยความล่าช้าที่ระบุในการศึกษาจะได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวังสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการรายการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในงานก่อสร้าง พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2556 กรณีศึกษา บริษัท อุดมกิจวิศวก์ จำกัด(2557-11-20T11:17:32Z) สุธิรา จันทราการศึกษาเรื่อง “ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในงานก่อสร้าง พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2556 กรณีศึกษา บริษัท อุดมกิจวิศวก์ จำกัด ” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อจัดทำข้อสรุปต้นทุนของแต่ละหมวดงานและเปรียบเทียบต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของแต่ละหมวดงานตั้งแต่ พ.ศ.2550 – พ.ศ. 2556 2) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในแต่ละหมวดงาน โดยทำการศึกษาจากข้อมูลโครงการก่อสร้างที่ผ่านมาของบริษัทจำนวน 6 โครงการ จากนั้นทำการสรุปและวิเคราะห์ผลเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของแต่ละหมวดงานและหาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าก่อสร้างทั้ง 6 โครงการ คือ 1) ปัจจัยด้านต้นทุนวัสดุ มีการปรับตัวสูงขึ้นทุกๆ ปีเฉลี่ย 3.12 % 2) ปัจจัยด้านต้นทุนค่าแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนผันแปรตามไปต้นทุนค่าวัสดุเฉลี่ย 29.73 % มีสาเหตุมาจากจากกลไกทางการตลาด ภาวการณ์ผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ภัยทางธรรมชาติ และนโยบายทางการเมือง จากผลการศึกษาที่ได้ มีข้อสรุปของปัจจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมาคือ 1) ปัจจัยด้านวัสดุ และ 2) ปัจจัยด้านแรงงาน และมีข้อสรุปสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ ปัจจัยที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น มหาอุทกภัย ปี 2554 และนโยบายทางการเมืองรายการ การศึกษาปัญหาการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษาเทศบาลนคร ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(2557-11-20T08:25:58Z) สุกิจ อินทร์เจริญการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์ในเรื่องของคุณภาพบุคลากรและการบริหารงานก่อสร้างของสำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรของสำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เดือนตุลาคม 2556 จำนวน 32 ชุด และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient Correlation) โดยกำหนดค่านัยสำคัญ (Significance) ที่ระดับค่า p <.05 หรือระดับค่าความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95 และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression Analysis) การศึกษาครั้งนี้พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ในส่วนงานการช่างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40-49 ปี มีสถานภาพ สมรส/อยู่ด้วยกัน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสายงานอยู่ส่วนโยธา มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีคุณภาพของบุคลากรประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุม ด้านการประเมินผล ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน และด้านมนุษย์สัมพันธ์ มีผลต่อการบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่าปัจจัยทั้งความสัมพันธ์การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานก่อสร้างด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุม ด้านการประเมินผล ด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านทักษะในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีทิศทางเดียวกันโดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก กล่าวคือเมื่อบุคลากรมีคุณภาพในแต่ละด้านสอดคล้องกับการบริหารงานก่อสร้างก็จะทำให้เทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีมีการบริหารงานก่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีด้วยดีขึ้นด้วย สำนักการช่างเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ควรมีแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนแนวความคิดการทำงานเป็นทีม รวมทั้งการส่งเสริมให้บุคลากรได้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและสามารถพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรายการ การศึกษาปัญหาคุณภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อความล่าช้ากรณีศึกษาโครงการแชปเตอร์วันคอนโดมิเนียม(2557-11-18T07:43:02Z) ณัฐพงค์ มีแสงการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาคุณภาพงานสถาปัตยกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อความล่าช้า ต่อการส่งมอบพื้นที่ให้กับงานตกแต่งภายในเข้าดาเนินการ รวมถึงการพัฒนาคู่มือสาหรับตรวจสอบคุณภาพบ้านก่อนโอนกรรมสิทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของบ้านที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการก่อสร้าง ควรจะศึกษารายละเอียดและวิธีการตรวจสอบคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อ ความคุ้มค่าและเหมาะสมกับราคาที่ต้องจ่ายไป การตรวจสอบคุณภาพงานสร้างบ้านถือเป็นเรื่องสาคัญ การศึกษาปัญหาคุณภาพจากงานเอกสารสารข้อบกพร่องของโครงการและการสารวจจากหน้างานปัญหาข้อบกพร่องนั้นของงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือคุณภาพของแรงงานและปัญหาของวัสดุที่เลือกใช้ที่ทาให้เกิดปัญหาคุณภาพ และปัญหาการพิจารณาประเมินคุณภาพงานที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ตรวจงาน ผู้วิจัยจึงได้นาปัญหาคุณภาพของงานสถาปัตยกรรมเพื่อจัดทาคู่มือตรวจสอบคุณภาพ โดยแบ่งเป็นหมวดงาน 1.ตรวจสอบคุณภาพงานพื้น 2.ตรวจสอบคุณภาพงานผนัง 3.ตรวจสอบคุณภาพงานฝ้าเพดาน 4.ตรวจสอบคุณภาพงานประตู – หน้าต่างโดยจากการประเมินและตรวจสอบคู่มือจากผู้บริหารโครงการหรือผู้ควบคุมงานของโครงการแซปเตอร์วัน คอนโด โดยพบว่าคู่มือแต่ละหมวดงานมีค่าระดับความเชื่อมั่นสูงกว่า 0.5 ตามมาตรฐานของทฤษฎี IOC สามารถนาคู่มือไปใช้ในการตรวจสอบคุณภาพได้ จากการศึกษายังพบว่าปัญหาคุณภาพยังส่งผลกระทบต่อปัญหาความล่าช้าการส่งมอบพื้นที่ให้กับงานตกแต่งภายในเข้าดาเนินการ ซึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบมากที่สุด 1.ปัญหาคุณภาพภาพงานติดตั้งกระจกอลูมิเนียมที่เกิดปัญหาน้ารั่ว เนื่องจากถ้าไม่สามารถติดตั้งงานกระจกอลูมิเนียมได้ ทาให้ส่งผลกระทบต่องานอื่นๆที่เป็นวัสดุไม้ จะไม่สามารถเข้าดาเนินการติดตั้งได้เนื่องจากต่างฝ่ายมีความกังวลว่าอาจทาให้เกิดความเสียหายได้ 2.ปัญหาคุณภาพวัสดุกันซึม ปัญหาวัสดุกันซึมจะส่งผลต่อความล่าช้าต่องานปูพื้นไม้ลามิเนตเป็นอันดับแรก และถ้าพื้นไม้ไม่สามารถติดตั้งได้ภายในระยะเวลาของแผนงานอาจส่งผลกระทบต่องานติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ในขั้นตอนต่อไป 3.ปัญหาคุณภาพพื้นไม้ลามิเนต จาเป็นต้องแก้ไขข้อบกพร่องของงานให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะถ้าทาการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ไปแล้วพื้นไม้ที่มีปัญหายังไม่ได้ทาการแก้ไข อาจส่งผลให้ต้องรื้อเฟอร์นิเจอร์เพื่อแก้ไขพื้นไม้ให้เรียบเสมอ 4. ปัญหางานผนังล้มดิ่งไม่ได้ฉาก มากว่า 3 มิลลิเมตรส่งผลให้งานตกแต่งภายในยังไม่สามารถรับมอบห้องได้เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการติดตั้ง