S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 82
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยแรงจูงใจทำให้ทหารกองเกินสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการ(2556-05-26T04:52:53Z) รัฐพล ตรีธนะการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจของทหารกองเกิน ในการสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการ (2) ศึกษาถึงปัญหาในทางปฏิบัติในกระบวนการรับสมัครทหารกองเกินที่สมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการ รวมถึงปัญหาในทางปฏิบัติการบริหารกำลังพลเมื่อเข้ากองประจำการแล้ว (3) พัฒนาวิธีการจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการเพิ่มมากขึ้นภายใต้กรอบทางกฎหมาย และนโยบายของกองทัพอากาศในปัจจุบันรายการ ทัศนะของพนักงานต่อความพร้อมการเปลี่ยนแปลงองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(2556-05-26T05:04:33Z) จุฑาสินี คำบำรุงการศึกษาเรื่องทัศนะของพนักงานต่อพร้อมการเปลี่ยนแปลงองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของพนักงานต่อความพร้อมการเปลี่ยนแปลงองค์การของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และเปรียบเทียบทัศนะของพนักงาน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)รายการ ทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อระบบสารสนเทศของ(2556-05-26T05:16:25Z) นิศารัตน์ คลังทรัพย์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของระบบสารสนเทศของสำนักงานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษากู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมจำนวน 373 ชุด ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วมาทำการวิเคราะห์รายการ ความผูกพัน ต่อองค์กรของข้าราชการทหาร สังกัดกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก กองทัพบก(2556-05-26T05:21:54Z) สิบโทหญิง ปาลิดา จุลกสิกรการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของงานศึกษา เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการทหาร สังกัด กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก กองทัพบก เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับ ความผูกพันต่อองค์กร ของข้าราชการทหาร ตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานที่ปฏิบัติ, ประสบการณ์ในการทำงาน กับความผูกพันต่อองค์กร ของข้าราชการทหาร สังกัด กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก กองทัพบกรายการ คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ(2556-05-26T05:28:16Z) พันตำรวจตรีหญิงสุวรรณี แสงสุขการศึกษาเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการทำงาน การรับรู้ความสามารถในการทำงานของตนเอง การรับรู้ต่อระบบบริหาร ค่านิยมต่อการทำงาน ค่านิยมต่อราชการ และค่านิยมต่อบริการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจทุกฝ่ายในหน่วยงานดังกล่าว จำนวน 250 ชุด ได้รับการตอบกลับและนำมาประมวลผลได้ 202 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80.80รายการ การจัดการความรู้ที่ปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(2556-05-26T05:34:44Z) พระมหากัมพล เตียนคำสารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) การจัดการความรู้ 2) ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการความรู้ที่ปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเกี่ยวกับหมวดฤาษีดัดตน ผู้วิจัยพบว่า เมื่อศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 รูป/คนแล้ว ได้ผลการศึกษาวิจัยดังนี้ การจัดการความรู้นั้นเป็นเรื่องยากที่บุคคลทั่วไปจะเข้าใจได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับทางวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และยังไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ การจัดการความรู้ทั้ง 7 กระบวนการ กล่าวคือ การค้นหาความรู้, การสร้างและแสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ, การประมวลและกลั่นกรองความรู้, การเข้าถึงความรู้, การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้, และการเรียนรู้ ซึ่งมีการนำหลักการจัดการความรู้มาใช้บางกระบวนการเท่านั้น เช่น การสร้างและแสวงหาความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้รายการ การประเมินผลการบริหารวัดพระอารามหลวง(2556-05-26T05:43:26Z) พระมหาจิรสิน จนฺทสาโร ( สุภัทรากร )การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่พระภิกษุ สามเณร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกรุงเทพมหานคร ที่จำพรรษาในวัดพระเชตุพน 1 ปีขึ้นไปจำนวน 100 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ การเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์กับพระภิกษุสามเณร(2556-05-26T05:50:09Z) พระมหานิวัติ มีรอดการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ให้การศึกษาวัดไตรมิตรวิทยาราม ระหว่างวัดไตรมิตรวิทยารามกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พระนิสิตนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ให้การศึกษาวัดไตรมิตรวิทยาราม จำนวน 62 รูปรายการ การบริหารการจัดการศึกษาภาษาบาลี:(2556-05-26T05:56:27Z) พระมหาสมหวัง ฐิตสํวโร (บุญสา)สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการศึกษาภาษาบาลีสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และเพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุและสามเณรต่อการบริหารการจัดการศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พระภิกษุ – สามเณร ที่เป็นกลุ่มตัวแทนภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร จำนวน 120 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test (one-way ANOVA)รายการ การพัฒนาการบริหารงานยศตำรวจ:(2556-05-26T06:02:55Z) ร้อยตำรวจโทหญิง วรัญญา กุมขุนทดการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารงานยศตำรวจ: กรณีศึกษา กองทะเบียนพล สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเพื่อศึกษาเป็นแนวทางที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบด้วย 2 ส่วน และแบบสัมภาษณ์ วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูล ผู้วิจัยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำรวจงานยศตำรวจ กองทะเบียนพล สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบสอบถามตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ค่าค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ในแบบสอบถาม ส่วนที่ 2รายการ การรับรู้ด้านการบริหารจัดการของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการ(2556-05-26T06:12:01Z) วัลยา คงสินการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านการบริหารจัดการของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ต่อบทบาทหน้าที่องค์การ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและการให้บริการของสำนักงาน กสทช. และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ด้านการบริหารจัดการในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและการให้บริการของ (สำนักงาน กสทช.) ของบุคลากร สำนักงาน กสทช. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ซึ่งทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จำนวน 949 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้นจำนวน 296 คนรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของหัวหน้างานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการผลิตกรณีศึกษา : บริษัทเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด(2556-06-01T04:30:59Z) ชมภูนุช นาคเจริญการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ฝ่ายปฏิบัติการผลิต บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมระดับหัวหน้างาน ฝ่ายปฏิบัติการผลิต และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ฝ่ายปฏิบัติการผลิต บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัดรายการ อิทธิพลในการทำนายปัจจัยคุณลักษณะงาน ลักษณะองค์การ ประสบการณ์การทำงาน ต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี(2556-06-01T04:42:56Z) รุ่งฤทัย ทิพย์ศิโรเวฐน์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยากรณ์ของปัจจัยคุณลักษณะงาน ลักษณะองค์การ และประสบการณ์การทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำนวน 5,270 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพัน แบบวัดความผูกพันต่อองค์การและแบบวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยการแจกแจงความถี่ วิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณลักษณะงาน ปัจจัยลักษณะองค์การและปัจจัยประสบการณ์การทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การและสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)(2556-06-01T04:53:54Z) พาสนา เจือนาครายการ การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนของพนักงานธนาคารกสิกรไทย ที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)(2556-06-01T05:11:57Z) มณีนุช นิธิพงษ์วนิชในปัจจุบันวิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านต่างๆ ในการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้กับงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะเห็นได้ว่า การสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เป็นช่องทางในการเรียนรู้ของพนักงานในด้านการพัฒนาตนเองรวมทั้งทักษะ ความสามารถส่วนบุคคล ให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนรู้ของพนักงาน ทั้งทางด้านผู้เรียนและผู้ใช้ ด้านผู้สนับสนุนจากสถาบัน ด้านสื่อการสอน และด้านเทคโนโลยี ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ผู้บริหาร และพนักงานในการส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของพนักงาน โดยสามารถใช้ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลประกอบได้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความสำเร็จทางการเรียนรู้ของตนเองและองค์กรรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท ไฟร์เทรดเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ(2556-06-01T05:18:55Z) พิชชา ศุภเสถียรการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาระดับภาวะผู้นำกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ของ พนักงานในองค์กร : กรณีศึกษา บริษัท ไฟร์เทรดเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ไฟร์เทรดเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ จำนวน 171 คน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ไฟร์เทรดเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เพศ และอายุ ที่ต่างกัน มีผลทำให้พนักงานมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด อายุงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทนี้ และรายได้ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย ของผู้จัดการระดับต้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิที่ดีขององค์การ ของพนักงานระดับปฏิบัติการในระดับปานกลางรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ และความผูกพันองค์กรของบุคลากร(2556-06-01T05:23:12Z) รุ่งทิพย์ ปานสวัสดิ์รายการ คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานรับจ้างเหมาแรงงานภายนอก (Outsourcing employees)(2556-06-01T05:27:07Z) เสาวลักษณ์ ตระกูลกองโตการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานรับจ้างเหมาแรงงานภายนอก กรณีศึกษา บริษัท อาร์ทูโอ โปรเจคท์ จำกัด จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่า T-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า พนักงานจ้างเหมาแรงงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-25 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 10,001-13,000 บาท อาศัยอยู่หอพัก ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานกับโรงงานแห่งนี้ น้อยกว่า 4 เดือน ระยะเวลาที่เคยปฏิบัติงานกับโรงงานอื่นไม่ถึง 1 ปี ลักษณะงานที่เคยปฏิบัติงานกับโรงงานต่างจากโรงงานแห่งนี้ สภาพการจ้างส่วนมากเป็นลูกจ้างรายเดือน ตำแหน่งงานส่วนมากเป็นพนักงานฝ่ายผลิต จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ (ไม่รวม OT) ส่วนมากทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ (ไม่รวม OT) ส่วนมากทำงาน 48 ชม.ต่อสัปดาห์ และส่วนมากทำงานล่วงเวลา โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน การทำงานในวันหยุดโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด 3 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโดยรวมค่าความสำคัญอยู่ในระดับสูงที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.23รายการ อิทธิพลในการทำนายของปัจจัยการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงาน และ(2556-06-01T05:31:09Z) ไพสิทธิ์ กอสง่าลักษณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฎิบัติงาน และอิทธิพลในการทำนายของปัจจัยการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการปฎิบัติงาน : กรณีศึกษาของพนักงานบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัท วิริยะประกันภัย จำนวน 364 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติความถดถอยพหุคูณแบบปกติรายการ อิทธิพลในการทำงานของปัจจัยค่าตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่มีต่อความผูกพันของบุคลากร กรณีศึกษา บุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลราชบุรี(2556-06-01T06:00:07Z) อาภานรี สื่อสุวรรณ