College of Aviation and Transportation
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Aviation and Transportation โดย ชื่อ{{beginningWith}}
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 22
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคมมหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเชื่อมั่นใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามโดยหาค่า IOC เท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคมมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในแต่ละด้านและภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุมประกอบด้วย 1 ด้านกายภาพ คือ 1.1) การพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพและสื่อการสอนที่ทันสมัย 1.2) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านวิชาการ คือ 2.1) การส่งเสริมศักยภาพงานวิชาการและพัฒนาอาจารย์ประจำอย่างต่อเนื่อง 2.2) การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการเงิน คือ การจัดหางบประมาณจากภาครัฐในการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา 4) ด้านการบริหารจัดการ คือ การพัฆนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรายการ การบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปานบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือ (1) วิวัฒนาการของความปลอดภัยการบิน (2) ทฤษฎีความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน (3) แนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน และ (4) การวิเคราะห์อากาศยานอุบัติเหตุ Air France Flight 447 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า นักบินต้องเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านการบินและทบทวนศึกษาแนวทางการจัดการความผิดพลาดในการบิน ได้แก่ (1) ความผิดพลาดจากการทำรายการตรวจสอบ (2) ความผิดพลาดจากการติดต่อสื่อสาร (3) ความผิดพลาดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และ (4) ความผิดพลาดจากการวางแผนการบิน โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีการเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศในแต่ละปีโดยเฉลี่ย 6.50% และนักบินมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการควบคุมบังคับเครื่องบิน จากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุพบว่ามีสาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่า 70.00% เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (นักบิน) นักบินจำเป็นที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนการสอนมาใช้ในการบังคับควบคุมเครื่องบิน ดังนั้น นักบินต้องแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติการบินมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรและเพิ่มผลผลิตรายการ การฝึกอบรมการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินสำหรับความปลอดภัยการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปาน; วุฒิภัทร จันทร์สารความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้โดยสารและลูกเรือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในการบิน สถิติของอากาศยานอุบัติเหตุ พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่าร้อยละ 70.0 เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ บทความวิชาการนี้ จึงขอนำเสนอทฤษฎี SHELL Model ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และเป็นการถือกำเนิดขึ้นของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินโดยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีการทำงานร่วมกัน ได้แก่ นักบิน ลูกเรือ ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการส่วนอื่น ๆ การฝึกอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดความผิดพลาดของมนุษย์ในการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ โดยมีรายละเอียดการฝึกอบรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร ความเป็นผู้นำ การตระหนักรู้สถานการณ์ การตัดสินใจ และความผิดพลาดของมนุษย์รายการ การพิจารณาอากาศยานในการขึ้นลงสนามบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) มนตรี ฑีฆะบุตรการที่จะพิจารณาว่าทางวิ่งของสนามบินสามารถรองรับในการใช้งานของอากาศยานแต่ละแบบได้หรือไม่นั้น ปัจจัยแรกที่จะต้องพิจารณาคือ ความกว้างและความยาวของทางวิ่งพอสําหรับให้อากาศยานเครื่องนั้นๆ ขึ้นลงได้หรือไม่โดยการเปรียบเทียบค่า Reference Code ของอากาศยานและของสนามบิน ถ้าผลจากการเปรียบเทียบ ค่า Aerodrome Reference Code ของสนามบินมากกว่าค่า Reference Code ของอากาศยานเครื่องนั้นก็สามารถขึ้นลงได้ และปัจจัยที่ 2 พิจารณาว่าทางวิ่งของสนามบินนั้นสามารถรับนํ้าหนักอากาศยานที่จะมาขึ้นลงสนามบินได้หรือไม่ โดยการเปรียบเทียบค่า Aircraft Classification Number (ACN) ของอากาศยาน กับ Pavement Classification Number (PCN) ของสนามบิน ถ้าPCN ของสนามบินเท่ากับหรือมากกว่า ACN ของอากาศยาน ก็แสดงว่าอากาศยานนั้น สามารถที่จะขึ้นลงบนทางวิ่งของสนามบินได้อย่างปลอดภัยไม่ทําให้เกิดความเสียหายแก่พื้นผิวทางวิ่งของสนามบินรายการ การศึกษาการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษา พื้นทางวิ่งเปียก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปานอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศมีหน้าที่กำหนด และรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินทั่วโลก จากข้อมูลอากาศยานอุบัติเหตุขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ในปี 2016 พบว่า จำนวนอากาศยานอุบัติเหตุ ซึ่งมากกว่า 50% เกิดจากเครื่องบินออกนอกทางวิ่ง บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบิน ตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศกรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ขั้นตอนการดำเนินการ โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประเมิน และนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการปฏิบัติการบินของเครื่องบินเมื่อพื้นทางวิ่งเปียก ได้แก่ (1) คำนวณหาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบิน (2) การพิจารณาสภาพพื้นทางวิ่งของสนามบินปลายทาง (3) คำนวณหาความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก (4) พิจารณาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบินมีค่ามากกว่าความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก ซึ่งการลงสนามบินครั้งนี้เป็นการลงสนามบินในกรณีไฮโครแพลนนิ่ง และ (5) นักบินใช้เทคนิคการบินสำหรับปฏิบัติการบินลงสนามบินเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นผู้บริหารองค์กรการบินต้องบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในองค์กรและจัดการอบรมให้ความรู้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุรายการ การศึกษาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทุกระดับการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยพบว่า 1. ทุนจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ย จากมากไปน้อย ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี ความหวัง การรับรู้ความสามารถ และการฟื้นคืนภาวะปกติ 2. ภาวะผู้ตามโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ความกล้าหาญ ความผูกพัน การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง และการบริหารจัดการตนเอง 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน การทำงานแบบทีมในการสืบเสาะหาความรู้ การร่วมมือกันแก้ปัญหา การจินตนาการภาพอนาคตที่ควรเป็น การรวบรวมวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล การใช้คำถาม 4. การเปรียบเทียบทุนจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 5. การเปรียบเทียบภาวะผู้ตามโดยภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ภาวะผู้ตามรายด้านที่มีความแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน โดยเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย ได้แก่ (1) การบริหารจัดการตนเอง และ (2) ความกล้าหาญ แต่ภาวะผู้ตามรายด้านที่ไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามเพศ ได้แก่ (1) ความผูกพัน และ (2) การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง 6. การเปรียบเทียบภาวะผู้ตามโดยภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 7. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์รายด้าน จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย ได้แก่ (1) การทำงานแบบทีมในการสืบเสาะหาความรู้ (2) การร่วมมือกันแก้ปัญหา (3) การจินตนาการภาพอนาคตที่ควรเป็น และ (4) การใช้คำถาม แต่ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์รายด้าน จำแนกตามเพศ ที่ไม่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน และ (2) การรวบรวมวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 8. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารการศึกษา โดยการวางแผน กำหนดนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นแนวทางในการออกแบบและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ การศึกษาบุคลิกภาพผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะนักบินของนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบุคลิกภาพผู้นำและสมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพผู้นำกับสมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทุกระดับการศึกษาในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2562 เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.887 ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลิกภาพผู้นำภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยบุคลิกภาพผู้นำจากมากไปน้อย คือ บุคลิกภาพแบบมีสติ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และบุคลิกภาพแบบยอมรับผู้อื่น 2. บุคลิกภาพผู้นำภาพรวมของนักศึกษาเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 3. สมรรถนะนักบินภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะนักบินจากมากไปน้อย คือ การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร ภาวะผู้นำ และการตัดสินใจ 4. สมรรถนะนักบินภาพรวมของนักศึกษาเรียงลำคับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 5. บุคลิกภาพผู้นำ คือ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง บุคลิกภาพแบบยอมรับผู้อื่น บุคลิกภาพแบบมีสติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะนักบิน ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6. ตัวแปรพยากรณ์สมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม คือ บุคลิกภาพแบบมีสติ และบุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานรายการ การศึกษาวัฒนธรรมความเที่ยงธรรมในองค์กรการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10) ธนากร เอี่ยมปานปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ดำเนิน โครงการต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าอุตสาหกรรมการบินเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งองค์กรการบินต่างๆ ต้องดำเนินธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายและมีความปลอดภัยการปฏิบัติงานด้วย ผู้บริหารองค์กรการบินต้องศึกษาแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยที่มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ (1) วัฒนธรรมการสื่อข้อมูลข่าวสาร (2) วัฒนธรรมการรายงาน (3) วัฒนธรรมความเที่ยงธรรม (4) วัฒนธรรมความยืดหยุ่น และ (5) วัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมความเที่ยงธรรม เป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการบริหารจัดการวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร ดังนั้นผู้บริหารองค์กรการบินต้องนำแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยมาประยุกต์และปรับใช้ในการสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน โดยการสร้างความเชื่อและค่านิยมที่จะเป็นองค์ประกอบของวัฒนธรรมความปลอดภัย และนำไปสู่พฤติกรรมความปลอดภัยที่ดีของบุคคลในการปฏิบัติงานทางการบินรายการ การศึกษาหลักการบินพื้นฐานสำหรับความปลอดภัยการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปานมนุษย์มีการทดลองการบินซึ่งในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จและมีการบาดเจ็บเสียชีวิต ในเวลาต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบินขึ้น ในปี ค.ศ. 1 773 เซอร์ จอร์จ เคย์เลข์ แห่งอังกฤษผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของอากาศพลศาสตร์สมัยใหม่ และได้เผยแพร่ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับแรงที่มากระทำต่อปีก โดยที่ปีกไม่ต้องเคลื่อนไหวเหมือนอย่างนก ซึ่งต่อมากิจการด้านการบินได้พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนาดใหญ่ และเกี่ยวข้องกับคนมากมาย จากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ พบว่าสาเหตุของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ และมีบางครั้งอากาศยานอุบัติเหตุเกิดจากนักบินขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนั้นความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และทำความเข้าใจหลักการบินพื้นฐานสำหรับความปลอดภัยในการบินรายการ การศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วีรภัทร เกศะรักษ์การศึกษาแนวทางการเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบิน และคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความ ปลอดภัยการบินกรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม การดําเนินการวิจัยครั้งนี้เป็ นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับสถานประกอบการใน อุตสาหกรรมการบินทั้งภาคพื้นและภาคอากาศจํานวน 5 องค์กรโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ทําให้ทราบว่า ทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการบินให้ความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากรและให้ความสําคัญของการปฏิบัติ ตามแนวคิดของ Peter M. Senge เพื่อให้การบริหารจัดการงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวทางการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ของวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะต้องตระหนักและ ให้ความสําคัญกบการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่ตรงกับทฤษฎีของ Peter M. Senge ในภาพของการสอดแทรก เรื่องความปลอดภัยเข้าไปบูรณาการกับทฤษฎีแล้วหลักสูตรจะสามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกบความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมการบินได้รายการ การศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วีรภัทร เกศะรักษ์การศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบินกรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม การดําเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบินทั้งภาคพื้นและภาคอากาศจํานวน 5 องค์กรโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ทําให้ทราบว่าทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการบินให้ความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากรและให้ความสําคัญของการปฏิบัติตามแนวคิดของ Peter M. Senge เพื่อให้การบริหารจัดการงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ของวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะต้องตระหนักและให้ความสําคัญกับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่ตรงกับทฤษฎีของ Peter M. Senge ในภาพของการสอดแทรกเรื่องความปลอดภัยเข้าไปบูรณาการกับทฤษฎีแล้วหลักสูตรจะสามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบินได้รายการ การศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน(กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วีรภัทร เกศะรักษ์การศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบินกรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม การดําเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบินทั้งภาคพื้นและภาคอากาศจํานวน 5 องค์กรโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ทําให้ทราบว่า ทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการบินให้ความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากรและให้ความสําคัญของการปฏิบัติตามแนวคิดของ Peter M. Senge เพื่อให้การบริหารจัดการงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ของวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะต้องตระหนักและให้ความสําคัญกบการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่ตรงกับทฤษฎีของ Peter M. Senge ในภาพของการสอดแทรกเรื่องความปลอดภัยเข้าไปบูรณาการ กับทฤษฎีแล้วหลักสูตรจะสามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบินได้รายการ การศึกษาแนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบิน ในภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วีรภัทร เกศะรักษ์การศึกษาแนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบินในภาอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบินในภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม การดําเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบินทั้งภาคพื้นและภาคอากาศจํานวน 5 องค์กร และผู้บริหารวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จํานวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษา แนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบินของภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ทําให้ทราบว่าทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการบินให้ความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากรและให้ความสําคัญของการปฏิบัติตามแนวคิดของ Peter M. Senge สําหรับการรับ บุคลากรเข้าทํางานและเพื่อให้การบริหารจัดการงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารของวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุมจะต้องตระหนักและให้ความสําคัญกับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่ตรงกับทฤษฎีของ Peter M. Senge ในภาพของการสอดแทรกเรื่องความปลอดภัยเข้าไปบูรณาการกับทฤษฎีแล้วหลักสูตรจะสามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบินได้รายการ การเลือกรูปแบบการขนส่งพัสดุด้วยวิธีกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พิสุทธิ์ รัตนแสนวงษ์; อัศวิน วงศ์วิวัฒน์งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัจจัยการเลือกรูปแบบการขนส่งพัสดุที่เหมาะสม และเพื่อเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมของธุรกิจรายย่อย กรณีศึกษา การขนส่งข้าวไรซ์เบอรี่รายย่อย ภายในเขตเทศบาล อําเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) มาประเมินหา นํ้าหนักความสําคัญของปัจจัย โดยปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ราคาส่ง ส่งสินค้าเร็ว (Call Center) ช่วยเหลือ และ ความสะดวกในการให้บริการ ในการวิเคราะห์ ผลของการวิจัย พบว่า การขนส่งที่ใช้ในปัจจุบันของ กรณีศึกษาดังกล่าว จาก 7 ทางเลือก ได้แก่ รถไฟ รถโดยสารประจําทาง ไปรษณีย์ บริษัทขนส่ง J&T EXPRESS บริษัทขนส่ง Flash Express บริษัทขนส่ง Kerry Express และบริษัทขนส่ง NiM Express ซึ่งพบว่า บริษัทขนส่ง Flash Express มีความเหมาะสมมากที่สุดด้วยคะแนนความสําคัญ 0.28 ตามด้วย Kerry Express 0.22 J&T EXPRESS 0.15 ไปรษณีย์ 0.13 NiM Express 0.12 รถไฟ 0.06 และสุดท้าย รถโดยสารประจําทาง 0.04 ตามลําดับ ส่วนปัจจัยที่ผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสําคัญมากที่สุดคือ ราคาส่ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้าและเป็นค่าใช้จ่ายที่ผูกมัดระยะยาว ดังนั้นการเลือกรูปแบบการขนส่งควรเป็นบริษัทขนส่ง Flash Expressรายการ ความปลอดภัยทางการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12) ธนากร เอี่ยมปานสองพี่น้อง วิลเบอร์และออร์วิล ไรท์ ได้ประดิษฐ์เครื่องบินร่อนปีกสองชั้น นำเอาเครื่องยนต์ไปติดตั้งบนเครื่องบิน บินด้วขความเร็ว และสามารถลอยอยู่เหนือพื้นได้ โลกจึงยกย่องว่าสองพี่น้องตระกูลไรท์เป็นผู้เปิดศักราชการบินสมัยใหม่ ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้การจราจรทางอากาศหนาแน่นมาก ซึ่งผู้บริหารองค์กรการบินต้องตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางการบินพร้อมทั้งดำเนินการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายด้านความปลอดภัยทางการบินในการรักษาชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง รักษาทรัพยากรและเพิ่มผลผลิต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและสร้างความเข้าใจในความสำคัญของความปลอดภัยทางการบิน โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือ (1) ประวัติศาสตร์การบินและความปลอดภัยทางการบิน (2) แนวความคิดด้านความปลอดภัยทางการบิน (3) การแบ่งประเภทอากาศขานอุบัติเหตุ (4) ความสำคัญของความปลอดภัยทางการบิน (S) มาตรฐานการบินระหว่างประเทศรายการ ความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธนาพร งามวงศ์รัตนชื่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและดำเนินงานวิจัยความเหมาะสมในการเลือกใช้ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต 2) ให้ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติวิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานและลูกจ้าง ท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 767 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการ สังเกตจากแบบฟอร์มสังเกตอันตรายในการปฏิบัติงานเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าจากการสังเกตอันตรายในการปฏิบัติงานเสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างมีบาง ลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไม่เหมาะสม หรือ ไม่ครอบคลุมกับลักษณะงานที่ทำ ซึ่งการเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับลักษณะและอันตรายของงาน โดยการปฏิบัติงาน บางอย่างอาจมีลักษณะงานหลายลักษณะประกอบกัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องพิจารณาก่อนการ ปฏิบัติงานแต่ละครั้งว่างานหรือกิจกรรมนั้นประกอบด้วยลักษณะงานใดบ้าง และเลือกใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามตารางอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะ งานที่ได้ทำการวิเคราะห์มา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายอย่างสูงสุดให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ ในการให้บริการของพนักงานภาคพื้น ในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุภาพร สอนอินทร์; ชูชีพ แก่นแสงงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอยางคือ พนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน บริษัท แพน ไทย แอร์ (กรุงเทพ) จํากัด จํานวน 162 คน พื้นที่ในการวิจัยคือ คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานปฏิบัติการที่มีประสบการณ์ทํางานอยู่ที่ 1-5 ปี ขึ้นไป เคยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย 1-2 ครั้ง ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยานมากที่สุด คือ ปัจจัยจากการกระทําของมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีต่างๆ ด้านการบิน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการให้องค์กรด้านการบินได้ตระหนักและกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพในด้านต่างๆเพื่อให้การทํางานมีความปลอดภัย เช่น การฝึกอบรมให้บุคลากรได้ตระหนักถึงสมรรถนะของตนต่อการทํางาน การได้รู้จักมนุษยปัจจัยต่อการทํางานเป็นต้น เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและการเติบโตขององค์กรตลอดไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้น ในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สุภาพร สอนอินทร์งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน บริษัท แพน ไทย แอร์ (กรุงเทพ) จํากัด จํานวน 162 คน พื้นที่ในการวิจัยคือ คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่สําคัญมีดังนี้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริการภาคพื้นเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย พนักงานอยูในช่วงอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาอยูในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นพนักงานปฏิบัติการมีประสบการณ์ทํางานอยู่ที่ 1-5 ปี ขึ้นไป เคยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย 1-2 ครั้ง และผลการวิจัยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยานมากที่สุด คือ ปัจจัยจากการกระทําของมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีต่างๆ ด้านการบิน และผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการให้องค์กรด้านการบินได้ตระหนักและกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อให้การทํางานมีความปลอดภัย เช่น การฝึกอบรมให้บุคลากรได้ตระหนักถึงสมรรถนะของตนต่อการทํางาน การได้รู้จักมนุษยปัจจัยต่อการทํางาน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและการเติบโตขององค์กรตลอดไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง(Sripatum University, 2562) สุภาพร สอนอินทร์งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน บริษัท แพน ไทย แอร์ (กรุงเทพ) จํากัด จํานวน 162 คน พื้นที่ในการวิจัยคือ คลังสินค้า และลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่สําคัญมีดังนี้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทุนจิตวิทยาเชิงบวกและภาวะผู้ตามกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1 - 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 167 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิของชั้นปีที่ 1 – 4 และการเลือกตัวอย่างด้วยแบบการสุ่มแบบง่ายซึ่งใช้วิธี การจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่น ของค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ แบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ทุนจิตวิทยาเชิงบวกและภาวะผู้ตามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 3. ตัวแปรพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง ความกล้าหาญ ความหวัง และการรับรู้ความสามารถ ประสิทธิภาพของการพยากรณ์ โดยใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดที่อยู่ในสมการสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ถูกต้อง ร้อยละ 77.2 ดังนั้น สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z = 0.396 (การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง) + 0.3 14 (ความกล้าหาญ) + 0. 134 (ความหวัง) + 0.144 (การรับรู้ความสามารถ) วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถนำผลจากการวิจัยในครั้งนี้มาใช้ในการบริหารการศึกษา โดยการวางแผน กำหนดนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นแนวทางในการออกแบบและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม