ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและมาตรการในการสลายการชุมนุม ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
กำลังโหลด...
วันที่
2562
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (Public Assembly Act B.E. 2558 (2015)) กำหนดให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ (National Security) ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ความสงบเรียบร้อย (Public Order) หรือศีลธรรมอันดี (Good Moral) ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน (Public Sanitation) หรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะและไม่กระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น แม้รัฐจะได้มีการตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและหลักข้อปฏิบัติต่างๆในการชุมนุมสาธารณะของผู้เข้าร่วมชุมนุมให้อยู่ภายใต้พื้นฐานอันเป็นระเบียบแบบแผนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเพื่อสำหรับใช้บังคับและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติกฎหมายอันเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษใต้บังคับพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มีปัญหาในกรณีที่การชุมนุมสาธารณะเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีและได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับประชาชนผู้กระทำความผิดในการชุมนุมในที่สาธารณะ อีกทั้งการบัญญัติให้ผู้จัดการชุมนุมจะต้องรับโทษในความผิดที่ตนเองไม่ได้กระทำผิดโดยตรง ยังอาจเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายอาญา (Principle of Criminal Law) รวมถึงมาตรการและวิธีการในการสลายการชุมนุมที่ไม่มีความชัดเจนซึ่งรัฐมิได้ตราเป็นบทบัญญัติที่ชัดเจนทั้งนี้ ความผิดอันเกิดจากการชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบสังคมที่ไม่ได้มีลักษณะอันร้ายแรง จึงสามารถใช้วิธีการกำหนดโทษทางปกครอง (Administrative Sanction) ได้ ซึ่งการกำหนดโทษทางอาญา (Punishment) เช่น การระวางโทษปรับ (Penalty) หากผู้ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ เพราะค่าปรับทางอาญานั้นมีฐานความคิดอันแตกต่างจากโทษปรับทางปกครอง ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนโทษปรับทางปกครอง ก็อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง (Administrative Enforcement Measure) ได้อย่างไรก็ตามการใช้โทษปรับทางปกครองมาบังคับแทนการลงโทษทางอาญากับการชุมนุมสาธารณะนั้น ยังถือเป็นสร้างหลักเกณฑ์ที่เป็นพัฒนาการทางกฎหมายโดยที่ผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายจากการชุมนุมสาธารณะสามารถมีโอกาสที่จะปรับปรุงและแก้ไขตนเองได้ ซึ่งจะเป็นการดีกว่าการใช้วิธีการกำหนดโทษทางอาญา การใช้โทษปรับทางปกครองมาบัญญัติไว้ในบทกำหนดโทษแทนโทษทางอาญาในกฎหมายการชุมนุมสาธารณะโดยตราบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558นั้น อาจก่อให้เกิดความเหมาะสมมากกว่าการกำหนดระวางโทษทางอาญา และยังเป็นวิธีการใช้บังคับกฎหมายที่ทำให้ประชาชนให้การยอมรับและเคารพต่อกฎหมายได้ดีกว่าการใช้โทษทางอาญา นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้การใช้บังคับกฎหมายมีความยืดหยุ่นและนุ่มนวลในการปฏิบัติต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น
คำอธิบาย
ประภาดา ชอบชื่นชม. (2562). ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและมาตรการในการสลายการชุมนุม ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
คำหลัก
ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญา, มาตรการในการสลายการชุมนุม, กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
การอ้างอิง
ประภาดา ชอบชื่นชม. 2562. "ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและมาตรการในการสลายการชุมนุม ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.