กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1555
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: การเกด อนันต์นาวีนุสรณ์
คำสำคัญ: การทำงาน
ความผูกพัน
พนักงานระดับปฏิบัติการ
อุตสาหกรรมสุวินทวงศ์
ฉะเชิงเทรา
วันที่เผยแพร่: 28-สิงหาคม-2552
บทคัดย่อ: การวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา “คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน 8 ด้าน 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร 3 ด้าน 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งสิ้น 381 คน โดยคำนวณตามสูตรของ Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วนและเป็นแบบสอบถามประเภทคำถามปลายปิด (close-ended questions) และคำถามปลายเปิด (open-ended questions) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนที (t test) วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one–way analysis of variance) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD. และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีเพศ รายได้ และลักษณะธุรกิจแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีอายุ และอายุงานแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีเพศ อายุ อายุงาน รายได้ และลักษณะธุรกิจแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. คุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 8 ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf43.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdf56.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
content.pdf75.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
acknow.pdf30.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap1.pdf104.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap2.pdf185.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap3.pdf148.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap4.pdf400.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap5.pdf216.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
bib.pdf102.76 kBAdobe PDFดู/เปิด
appen.pdf753.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
profile.pdf33.75 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น