Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2607
Title: ปัญหาและอุปสรรคกรณีความเป็นผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับคดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
Authors: สถาพร พลายเถื่อน
Keywords: ทุจริต
ผู้เสียหาย
ความผิด
คดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
Issue Date: 3-September-2554
Abstract: ปัญหาการทุจริตในสังคมไทยนั้นมีมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตในภาครัฐ หรือภาคเอกชนล้วนแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตในภาครัฐทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติเป็นอย่างมาก ซึ่งการตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นมีเพียงหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจเท่านั้น แต่ในส่วนของประชาชนเองกลับไม่มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้เสียภาษีให้กับประเทศชาติเพื่อนำไปบริหารจัดการและบริการสาธารณะแก่ส่วนรวม แต่เปิดช่องเพียงให้ประชาชนทำการร้องเรียนเท่านั้นมิได้เปิดโอกาสให้ดำเนินคดี หรือร่วมสอบสวน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อประชาชนถือว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับคดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการแล้วก็ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยรัฐต่าง ๆ ที่มีการกระทำทุจริตขึ้น ดังนั้นการเป็นผู้เสียหายของประชาชนในคดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทุจริตต่อหน้าที่ราชการจะสามารถดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำทุจริตได้เพียงใดนั้นยังเป็นปัญหาในระบบกฎหมายอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันประเทศมีเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่ทำการตรวจสอบ และปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานรัฐ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการตรวจสอบระหว่างหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐเท่านั้น เอกชนหรือประชาชนไม่สามารถดำเนินคดีในฐานะเป็นผู้เสียหายอย่างแท้จริงได้ คงเพียงทำได้แต่ร้องเรียนให้หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เข้าตรวจสอบเท่านั้น การปราบปรามและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรปัญหาการปราบปราม และดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และขอเสนอแนะในส่วนกรณีการให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต สามารถดำเนินการร้องทุกข์ ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำการทุจริตได้ โดยอาจเทียบเคียงกับการดำเนินคดีอาญา กล่าวคือให้ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายในคดีทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ มีฐานะเช่นเดียวกับ ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา อันจะทำให้เกิดสิทธิในการดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งหากประชาชนสามารถเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำทุจริตได้แล้ว ก็อาจทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความเกรงกลัว และยับยั้งชั่งใจไม่กระทำการทุจริต อันส่งผลให้ปัญหาการทุจริตในประเทศลดลงได้ คดีเกี่ยวกับการทุจริตถือเป็นคดีพิเศษ และอาจมีปริมาณคดีเป็นจำนวนมากซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าหากจะมีการดำเนินคดีก็อาจแบ่งออกเป็นการดำเนินคดีกับกลุ่มข้าราชการประจำ กับ กลุ่มข้าราชการการเมือง เนื่องจากมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ นักการเมืองซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกเข้ามาบริหารบ้านเมือง หากกระทำการทุจริตก็ควรได้การพิจารณาคดีที่รวดเร็ว และการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลนั้น เนื่องจากศาลยุติธรรมมีคดีที่จะต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากก็อาจพัฒนาจัดตั้งศาลคดีเกี่ยวกับการทุจริตขึ้น เพื่อพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทุจริตโดยเฉพาะเป็นศาลชำนัญพิเศษ และอาจให้มีการตรากฎหมายวิธีพิจารณาคดีทุจริตขึ้นได้ ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าหากมีการแก้ไขโดยให้ประชาชนเข้าเป็นผู้เสียหาย และดำเนินคดีทุจริตกับเจ้าหน้าที่รัฐได้แล้วก็อาจทำให้ปัญหาการทุจริตลดลงได้อย่างมาก หรืออาจไม่มีการทุจริตเกิดขึ้นเลยก็เป็นได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2607
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf36.37 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf69.34 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf42.39 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf65.89 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf97.57 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf385.4 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf270.29 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf113.12 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf72.17 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf86.86 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf39.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.