กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5383
ชื่อเรื่อง: มาตรการลงโทษทางอาญา: ศึกษากรณีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE MEASURE OF PUNISHMENT IN CASE OF RECIDIVISM OF JUVENILE DELINQUENT IN DRUG TRAFFICKING
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิวุฒิ นะวาระ
คำสำคัญ: การกระทำความผิดซ้ำ
เด็กและเยาวชน
ลักลอบค้ายาเสพติด
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: อภิวุฒิ นะวาระ. 2560. "มาตรการลงโทษทางอาญา: ศึกษากรณีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_อภิวุฒิ_2560
บทคัดย่อ: ปัจจุบันปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสถิติรายงานคดีประจำปีของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า ในปี พ.ศ.2552-2557 เด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดียาเสพติดมากที่สุดถึง 129,844 คดี ในจำนวนนี้เป็นกรณีกลับมากระทำความผิดซ้ำถึง 14,738 คดี ซึ่งถือว่าคดียาเสพติดมีอัตราการกระทำความผิดซ้ำสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการกระทำความผิดในฐานอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ปัญหายาเสพติดที่เกี่ยวกับขบวนการลักลอบค้ายาเสพติดไม่ว่าจะเป็นการผลิต จำหน่าย ขนย้าย นำเข้า หรือส่งออก ในปัจจุบันมักใช้เด็กและเยาวชนในการกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยความสมัครใจหรือเกิดจากการล่อลวงขู่เข็ญ ด้วยเหตุเพราะเด็กและเยาวชนมักรอดพ้นสายตาของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ไม่เป็นที่สงสัยในการตรวจค้น หรือแม้จะถูกจับกุมดำเนินคดีก็ตาม แต่ด้วยความเป็นเด็กและเยาวชนในสายตาของกฎหมายจะไม่มองเด็กและเยาวชนเป็นอาชญากร เจตนารมณ์ในการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจึงไม่ใช่การลงโทษจำคุกเพื่อปราบปราม แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรม ให้ความรู้ ฝึกอบรม เพื่อให้โอกาสในการกลับคืนสู่สังคม การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษจำคุก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับการกระทำความผิดครั้งแรกถือว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากการกระทำความผิดครั้งแรก อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมบีบบังคับ ไม่มีทางเลือก การไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือเหตุอื่นๆ การกระทำความผิดจึงไม่ได้เกิดจากความชั่วร้ายภายในจิตใจแม้เป็นความผิดในคดียาเสพติดก็ตามและการกระทำความผิดครั้งแรกก็มีแนวโน้มที่จะแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่ในกรณีเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิดและผ่านกระบวนการแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาแล้วกลับมากระทำความผิดซ้ำอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานลักลอบค้ายาเสพติดที่มีอัตราโทษสูงและส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติอย่างรุนแรงหากยังคงใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่มีมาตรการลงโทษที่เหมาะสมก็จะเป็นการสร้างโอกาสในการกลับมากระทำความผิดซ้ำ เพราะเมื่อเด็กและเยาวชนชั่งน้ำหนักความผิดที่จะกระทำกับบทลงโทษที่จะได้รับแล้วเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดมีมากกว่าก็จะตัดสินใจกลับมากระทำความผิดซ้ำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เด็กกระทำความผิดซ้ำในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติดอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อ่อนด้วยประสบการณ์ และขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีต่างๆ เนื่องจากความเป็นเด็กจึงควรได้รับการคุ้มครองมากกว่าเยาวชนที่ถือว่าเป็นผู้มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะแยกแยะว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ดังนั้น ผู้กระทำความผิดที่เป็นเยาวชนจึงควรได้รับการคุ้มครองอย่างมีข้อจำกัดโดยเยาวชนที่กลับมากระทำความผิดซ้ำในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติดควรมีการกำหนดมาตรการลงโทษที่เหมาะสมเพื่อข่มขู่ยับยั้งและป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ
รายละเอียด: อภิวุฒิ นะวาระ. มาตรการลงโทษทางอาญา: ศึกษากรณีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติด. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5383
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น