Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5498
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวราภรณ์ ชมมณีen_US
dc.date.accessioned2018-01-10T06:08:01Z-
dc.date.available2018-01-10T06:08:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationวราภรณ์ ชมมณี. 2560. "ปัญหาการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5498-
dc.descriptionวราภรณ์ ชมมณี. ปัญหาการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทย. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาปัญหาเรื่องการให้ความคุ้มครองแก่พยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เนื่องจากสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการอันหลากหลาย เช่น การหลอกลวงบังคับใช้แรงงานในสถานประกอบการกิจการประมง การบังคับให้เด็กและหญิงขายบริการทางเพศ ขอทาน ฯลฯ ซึ่งมีสาเหตุที่เกิดจากหลายกรณีด้วยกัน นอกจากนี้ สภาวการณ์ของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ก่อให้เกิดสภาวะโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้การขยายเครือข่ายธุรกิจผิดกฎหมาย และขบวนการค้ามนุษย์มีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ยากแก่การสกัดกั้น ในขณะเดียวกันปริมาณความต้องการในการใช้บริการทางเพศ หรือการใช้แรงงานเด็กและหญิงราคาถูกมีมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์นั้น พบว่า ไม่อาจนำไปใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ พยานที่รู้เห็นหรือยืนยันกระบวนการในการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่อยากเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมหรือให้ความช่วยเหลือรัฐ เนื่องจากกฎหมายมิได้ให้ความคุ้มครองแก่พยานในกรณีนี้ไว้ ทั้งที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 244 ได้บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลที่เป็นพยานในคดีอาญาไว้ 3 ประการ คือ (1) สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย (2) สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม และ (3) สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ โดยมีสำนักงานคุ้มครองพยาน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวen_US
dc.description.sponsorshipSPU_นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_วราภรณ์ _2560en_US
dc.subjectการคุ้มครองพยานen_US
dc.subjectมาตรการพิเศษen_US
dc.subjectความผิดฐานค้ามนุษย์en_US
dc.titleปัญหาการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePROBLEMS RELATING TO WITNESS PROTECTION IN HUMAN TRAFFICKING CASE IN THAILANDen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.