กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5525
ชื่อเรื่อง: มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROTECTION MEASURES OF THE INJURED PERSONS’ RIGHTS IN CRIMINAL JUSTICE SYSTEM OF THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนะรัตน์ ผกาพันธ์
คำสำคัญ: การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย
เหยื่ออาชญากรรม
การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชนะรัตน์ ผกาพันธ์. 2561. "มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ชนะรัตน์_2560
บทคัดย่อ: ในสังคมปัจจุบันอาชญากรรมเป็นปัญหาสำคัญที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา หรือจำเลย โดยหลงลืมหรือละเลยสิทธิของผู้เสียหาย กล่าวคือ ผู้เสียหายในคดีอาญา ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำหรือถูกละเมิดสิทธิและเป็นส่วนสำคัญของการเริ่มต้นการดำเนินคดีอาญา ไม่ค่อยได้รับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐและองค์กรต่าง ๆ เท่าที่ควร ทั้งที่สิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอ เช่น ปฏิญญาว่าด้วยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้อง ค.ศ. 1985 ได้กำหนดมาตรฐานที่ตอบสนองต่อความต้องการของเหยื่ออาชญากรรมไว้ 4 ด้าน คือ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม การได้รับการชดเชยความเสียหายจากผู้กระทำความผิด การได้รับการชดเชยความเสียหายจากรัฐ และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย เมื่อพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นศูนย์กลางและมุ่งที่จะคุ้มครองผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นหลักโดยให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยมากขึ้นตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งความจริงแล้วการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายนั้น ควรมีความเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย แม้จะมีบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายอยู่บ้างก็ตาม ได้แก่ ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียเนื่องจากการกระทำความผิด และผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในความผิดต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย และตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โดยสามารถยื่นคำขอต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาได้ แต่ก็เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในลักษณะการชดเชยความเสียหายบางส่วนที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินหรือตัวเงินเท่านั้น โดยไม่มีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในลักษณะอื่น เช่น การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้เสียหาย เช่น การแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงกระบวนการสืบสวน สอบสวน การสั่งคดีของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การพิจารณาและพิพากษาคดี การให้ผู้เสียหายตรวจสอบสำนวนคดีได้ การส่งตัวผู้เสียหายไปบำบัดฟื้นฟูจิตใจในสถานพยาบาล การส่งตัวผู้เสียหายไปอยู่ในที่ปลอดภัย และการจำกัดสื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนั้น การกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอโดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้เกิดความยุติธรรมกับผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
รายละเอียด: ชนะรัตน์ ผกาพันธ์. มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5525
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น