Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมณฑิตา ผลประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2018-09-26T08:42:30Z-
dc.date.available2018-09-26T08:42:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationมณฑิตา ผลประเสริฐ. 2561. "ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในการนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5613-
dc.descriptionมณฑิตา ผลประเสริฐ. ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในการนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิดการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในการนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผลการศึกษาถึงปัญหาในการใช้สิทธิของผู้เสียหาย (Injured Person) ในการฟ้องคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พบว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 23 กำหนดไว้แต่เพียงว่าให้ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ได้แก่ อัยการสูงสุด (the Prosecutor General) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (the National Counter Corruption Commission) เท่านั้น จึงเป็นปัญหาว่าในกรณีผู้เสียหายจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองนั้นไม่อาจฟ้องคดีหรือดำเนินการในการเริ่ม ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้เสียหายในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องจากผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด อีกทั้งผู้เสียหายในคดีอาญายังคงเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ดีที่สุดของกระบวนการค้นหาความจริงเกี่ยวกับคดีอาญาอันนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด (Offender) ในที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดังนั้น การตัดอำนาจของผู้เสียหายอย่างสิ้นเชิงอาจส่งผลกระทบในทางปฏิบัติและต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ การให้อำนาจผู้เสียหายในการฟ้องคดีอาญาย่อมจะเป็นเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงสามารถดำเนินการตรวจสอบหน่วยงานของรัฐได้ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Judicial Process) ได้โดยตรง อันเป็นการคุ้มครองและเป็นการประกันต่อสิทธิของผู้เสียหาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักนิติรัฐ (Legal State) ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้เสียหายให้สามารถฟ้องคดีอาญาต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เอง ตลอดจนมีสิทธิ ในการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ฟ้องคดี เพื่อเป็นการยกระดับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในมาตรา 41 ที่กำหนดให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ และสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา มาตรา 78 กำหนดให้รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (Inspection of the Exercise of State Power) และการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (Counter Corruption and Wrongful Conduct) เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ โดยเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 โดยการกำหนดให้ผู้เสียหายมีอํานาจฟ้องคดีอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช ได้en_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_มณฑิตา ผลประเสริฐ _2561en_US
dc.subjectผู้เสียหายen_US
dc.subjectสิทธิของผู้เสียหายในการฟ้องคดี/ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองen_US
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในการนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองen_US
dc.title.alternativePROBLEMS RELATED TO RIGHTS OF THE INJURED PERSON TO FILE A LAWSUIT AT THE SUPREME COURT OF JUSTICES CRIMINAL DIVISION FOR THE PERSONS HOLDING POLITICAL POSITIONSen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.