กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5793
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ศึกษากรณีนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL MEASURES ON ANTI-MONEY LAUNDERING: A CASE STUDY OF LEGAL ENTITIES IN TRADING OF JEWELERY AND GOLD
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุมาพร แก้วศักดาศิริ
คำสำคัญ: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
นิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: อุมาพร แก้วศักดาศิริ. 2561. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ศึกษากรณีนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_อุมาพร แก้วศักดาศิริ_T182451
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการฟอกเงินผ่านนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศออสเตรเลีย ประกอบกับข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF)โดยวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่มีต่อนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558) ได้กำหนดให้นิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จัดให้ลูกค้าแสดงตน (Know Your Customer: KYC) และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดนิยามของนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำไว้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าผู้ใดบ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อีกทั้งกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ข้อ 5 และกฎกระทรวงการตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า สำหรับผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (10) พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ข้อ 17 ได้กำหนดลักษณะของผู้ที่ทำธุรกรรมกับนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำไว้ 2 ประเภท คือ ลูกค้าและผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว ซึ่งสร้างความสับสนในการปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจากในทางธุรกิจการค้าของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ต่างเรียกผู้ที่ทำธุรกรรมกับตนว่าลูกค้า นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การจัดให้ลูกค้าแสดงตน และตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ซึ่งแตกต่างจากข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน นั้น เป็นการสร้างภาระแก่นิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำรายย่อย และประชาชนที่เกี่ยวข้องเกินสมควร
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5793
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น