กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6141
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจิรยุส วัชรกาฬen_US
dc.date.accessioned2019-03-12T04:37:41Z-
dc.date.available2019-03-12T04:37:41Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationจิรยุส วัชรกาฬ. 2561. "ความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6141-
dc.descriptionจิรยุส วัชรกาฬ. ความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ. สารนิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะซึ่งปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ครอบคลุมและชัดเจนเพียงพอ กฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น ยังขาดการพิจารณาความเหมาะสมในด้านคุณภาพในการเข้าสู่การประกอบธุรกิจ หรือการต่อสัญญาการให้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ จากการศึกษาพบว่าในเรื่องความปลอดภัยด้านตัวรถรวมถึงเครื่องส่วนควบและอุปกรณ์ของรถตู้โดยสาร แม้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าโครงสร้างและตัวถังรถตู้โดยสารสาธารณะต้องมีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง แต่ก็ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนในการตรวจสอบว่าแค่ไหนเพียงใดถึงจะถือว่ารถตู้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง ในส่วนมาตรการลงโทษผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะก็ยังขาดมาตรการที่ใช้ลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเกรงกลัวไม่กล้าที่จะกระทำผิด ดังนั้นจากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรปพบว่ามีแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะที่คล้ายคลึงกัน ในส่วนการพิจารณาการออกใบอนุญาตรวมถึงการต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งควรพิจารณาถึงประวัติและคุณสมบัติความเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพ แต่กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบการรถตู้โดยสารสารธารณะของประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาในหลายด้าน ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา กล่าวคือ ในด้านโครงสร้างตัวถังรถควรกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทดสอบความแข็งแรงให้มีความชัดเจน การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขับรถตู้ควรกำหนดรายละเอียดชั่วโมงการทำงานอย่างชัดเจน ในส่วนมาตรการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการรถรถตู้โดยสารสาธารณะควรมีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำและเพิ่มเติมโทษอาญาในกรณีเกี่ยวกับการกระทำการโดยประมาท ควรที่จะเพิ่มมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการเพิกถอนใบอนุญาตหรือปิดกิจการอย่างเคร่งครัดen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_จิรยุส วัชรกาฬ_T182796en_US
dc.subjectผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะen_US
dc.titleความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะen_US
dc.typeOtheren_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น