Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6206
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีศิษฏ์ อธินันท์en_US
dc.date.accessioned2019-05-22T06:44:48Z-
dc.date.available2019-05-22T06:44:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationธีศิษฏ์ อธินันท์. 2562. "มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6206-
dc.descriptionธีศิษฏ์ อธินันท์. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.en_US
dc.description.abstractธุรกิจคลินิกเสริมความงามในปัจจุบันถือเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทยโดยในปัจจุบันมีการประมาณการมูลค่าของธุรกิจนี้สูงถึง 250,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 15-20 ของทุกปี โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจนี้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมาจากการที่ในปัจจุบันการศัลยกรรมเสริมความงามเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยอีกทั้งมีการให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ความงามและ บุคลิกภาพมากขึ้น ทำให้ธุรกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจหน้าใหม่ให้เข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นมีการนำกลยุทธ์ในด้านต่างๆ มาใช้เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการคลินิกของตนโดยมักคำนึงถึงผลกำไรที่ตนได้รับ โดยมิได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการซึ่งธุรกิจคลินิกเสริมความงามถือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเป็นใช้บริการเป็นสำคัญผลเสียจึงตกไปสู่ผู้บริโภคทำให้เกิดความเสียหายและปัญหาร้องเรียนคลินิกเสริมความงามในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดในการดำเนินการของคลินิกเสริมความงามไว้เป็นการเฉพาะการจดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ยังคงเป็นการจดทะเบียนประเภทคลินิกเวชกรรมทั่วไป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงามในปัจจุบันยังมีปัญหาทั้งในด้านของความล่าช้าของกระบวนการการพิจารณาความรับผิดและการเยียวความเสียหายที่เกิดจากการใช้บริการทำให้ผู้ได้รับความเสียหายบางส่วนไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายได้ทันท่วงทีกับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น ปัญหาในเรื่องของการโฆษณาคลินิกเสริมความงามที่มีลักษณะเข้าข่ายหลอกลวงหรือเกินจริงที่มีสถิติการร้องเรียนเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า บทกำหนดโทษของกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาคลินิกเสริมความงามในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเกรงกลัวหรือเข็ดหลาบได้ รวมถึงปัญหาในเรื่องการดำเนินการของคลินิกเสริมความงามในกรณีทีเกิดเหตุแทรกซ้อนหรือเหตุฉุกเกินแก่ผู้ใช้บริการซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการหรือข้อกำหนดในการควบคุมการดำเนินการของแพทย์ และพนักงานในคลินิกไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรต้องแก้ไขกฎหมายหรือข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงามไว้เป็นการเฉพาะโดยการพิจารณานำระบบชดเชยความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดมาใช้บังคับ และเพิ่มบทกำหนดโทษของการโฆษณาที่เป็นการฝ่าฝืนหรือ เกินจริงทั้งโทษจำคุกและเปรียบเทียบปรับให้สูงขึ้น รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้มีการกำหนดมาตรฐานการดำเนินการและคุณสมบัติของแพทย์และ พนักงานในคลินิกเสริมความงามไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการรักษาจรรยาบรรณของการให้บริการให้สูงขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ธีศิษฏ์ อธินันท์_T183613en_US
dc.subjectการควบคุมen_US
dc.subjectคลินิกเสริมความงามen_US
dc.subjectการให้บริการen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงามen_US
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES ON REGULATING BEAUTY CLINICS BUSINESS OPERATIONen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.