Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6210
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงษ์ศักดิ์ วงค์ชัยen_US
dc.date.accessioned2019-05-22T08:46:09Z-
dc.date.accessioned2019-05-22T08:46:13Z-
dc.date.available2019-05-22T08:46:09Z-
dc.date.available2019-05-22T08:46:13Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationพงษ์ศักดิ์ วงค์ชัย. 2561. "มาตรการระงับข้อพิพาทสำหรับผู้ใช้บริการทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6210-
dc.descriptionพงษ์ศักดิ์ วงค์ชัย. มาตรการระงับข้อพิพาทสำหรับผู้ใช้บริการทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือและการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีอยู่หลายรูปแบบในปัจจุบัน เช่น การถูกปลอมแปลงอัตลักษณ์หรือการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นเพื่อขอเปิดบัญชีกับธนาคาร ทำให้ผู้ถูกปลอมแปลงอัตลักษณ์หรือการสวมรอยนั้นได้รับความเสียหาย เป็นต้น ซึ่งในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการทางการเงินที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย ให้มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากกระบวนการให้ความช่วยเหลือและระงับข้อพิพาทจากสถาบันทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยการออกประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นั้นปฏิบัติตามแนวทางเมื่อกรณีมีปัญหาจากการให้บริการทางการเงิน โดยมีมาตรการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการให้บริการทางการเงินนั้นมีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ แต่ปรากฏว่ามาตรการดังกล่าวเป็นเพียงการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการทางการเงินเพียงเท่านั้น ไม่มีมาตรการระงับข้อพิพาทเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อีกทั้งหากศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินนั้นไม่สามารถช่วยเหลือและระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินนี้ก็มีหน้าที่เพียงส่งเรื่องร้องเรียนนั้นไปยังสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปเพื่อหาข้อยุติกรณีปัญหาดังกล่าว ดังนั้นแล้วแนวทางการช่วยเหลือนี้ทำให้ผู้ใช้บริการทางการเงินนั้นจำต้องเสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการเรียกร้องการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างกับอังกฤษและประเทศสิงคโปร์ที่มีการบัญญัติกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการทางการเงินและยังมีการจัดตั้งหน่วยงานระงับข้อพิพาท ระหว่างผู้ใช้บริการทางการงานกับธนาคารพาณิชย์ไว้เป็นการเฉพาะ สามารถแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดระหว่างธนาคารพาณิชย์และผู้ใช้บริการทางการเงิน โดยการนำแนวทางปฏิบัติเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของธนาคารโลก (World Bank) มาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการในการให้ช่วยเหลือและระงับข้อพิพาทระหว่างธนาคารพาณิชย์และผู้ใช้บริการทางการเงินในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_พงษ์ศักดิ์ วงค์ชัย_T183597en_US
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen_US
dc.subjectธนาคารพาณิชย์en_US
dc.subjectผู้ใช้บริการทางการเงินen_US
dc.titleมาตรการระงับข้อพิพาทสำหรับผู้ใช้บริการทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์en_US
dc.title.alternativeMEASURES OF DISPUTE RESOLUTION FOR FINANCIAL USERS WITH COMMERCIAL BANKSen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.