Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภัคภูมิ เจริญรื่นen_US
dc.date.accessioned2019-07-13T08:40:22Z-
dc.date.available2019-07-13T08:40:22Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationภัคภูมิ เจริญรื่น. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6319-
dc.descriptionหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractจากการที่ผู้วิจัยศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น พบว่ากฎหมายในส่วนดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องและปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถปรับใช้กฎหมายให้เข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบันได้ ผลจากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 ไม่มีการกำหนดนิยามของคำว่า “ชำรุดบกพร่อง” เอาไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อการตีความเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องได้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นแบบไหนจึงจะถือว่าเป็นสินค้าที่มีความชำรุด กรณีที่ไปซื้อสินค้าและต้องนำมาประกอบเอง อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เมื่อซื้อสินค้ามานั้นสินค้ามีความสมบูรณ์ไม่ชำรุดบกพร่อง แต่คู่มือในการประกอบสินค้านั้นผิด ทำให้เมื่อประกอบแล้วสินค้ามีความเสียหาย เช่นนี้ถือว่าสินค้ามีความชำรุดบกพร่องหรือไม่ และในเรื่องของช่วงเวลาการมีอยู่ของความชำรุดบกพร่องของสินค้าและภาระการพิสูจน์ ซึ่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ความชำรุดบกพร่องที่ผู้ขายต้องรับผิดนั้นได้แก่ความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ในเวลาใด โดยในบางกรณีทรัพย์นั้นอาจจะแสดงความชำรุดบกพร่องออกมาหลังจากใช้ได้ไปไม่นานนัก จากกรณีนี้หากคดีไปสู่ศาล ผู้ซื้อสินค้าจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่องมาตั้งแต่ ณ เวลาซื้อขายแต่เพิ่งแสดงอาการออกมาภายหลัง เนื่องจากสภาพปัจจุบันสินค้ามีมากมายและมีความซับซ้อนในกระบวนการผลิตมากขึ้น ดังนั้น การที่กำหนดให้เวลาที่ความชำรุดบกพร่องมีอยู่และภาระการพิสูจน์ก็ไม่ควรจะตกแก่ผู้ซื้อมากนัก และอีกหนึ่งปัญหาเรื่องของกำหนดอายุความฟ้องคดีเรียกให้ผู้ขายรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องโดยให้ฟ้องได้ภายใน 1 ปีนับแต่เวลาที่พบเห็นความชำรุดบกพร่องนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ด้านหนึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นทางฝ่ายผู้ขาย เพราะผู้ขายไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเมื่อใดตนจะพ้นจากความรับผิด ส่วนทางผู้ซื้อนั้นแม้จะได้หลักประกันว่าอาจฟ้องเรียกให้ผู้ขายรับผิดได้ภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่พบเห็นความบกพร่อง แต่ในทางปฏิบัติ หากผู้ซื้อพบความชำรุดบกพร่องหลักจากใช้ทรัพย์ไปแล้ว 5 ปี และต้องการให้ผู้ขายรับผิด ผู้ซื้อย่อมมีหน้าที่นำสืบว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ก่อนหรือในเวลาที่ทำสัญญาซื้อขายกัน ซึ่งทำได้ยากในทางปฏิบัติen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ภัคภูมิ เจริญรื่น_2562en_US
dc.subjectความชำรุดบกพร่องen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS REGARDING LIABILITY FOR DEFECTS IN PRODUCTSen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.