กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6357
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับประกันวินาศภัยซ้ำซ้อน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO DOUBLE LOST INSURANCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วณิชชา มณีวงค์
คำสำคัญ: ประกัยภัยซ้ำซ้อน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วณิชชา มณีวงค์. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับประกันวินาศภัยซ้ำซ้อน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_วณิชชา มณีวงค์_T184030
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยภัยซ้ำซ้อน ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการประกันวินาศภัยซ้ำซ้อนว่าเมื่อมีการประกันภัย 2 รายหรือกว่านั้นจะต้องทำไว้เพื่อส่วนได้เดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีกรมธรรม์ 2 ฉบับ คุ้มครองวัตถุแห่งการประกันภัยเดียวกันแต่ผู้เอาประกันภัยเป็นคนละคนและมีส่วนได้เสียที่ต่างกันจะถือว่าเป็นการประกันภัยซ้ำซ้อนหรือไม่ และปัญหาการคืนเบี้ยกรณีการประกันภัยซ้ำซ้อนว่าหากผู้เอาประกันภัยซ้ำซ้อนได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เต็มจำนวนที่เอาประกันภัยไว้จะสามารถเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยคืนตามส่วนได้หรือไม่ เนื่องจากตามกฎหมายของประเทศไทยไม่ได้กำหนดหลักการตรงนี้ไว้อย่างชัดเจน ผลจากการศึกษาพบว่า หลักสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของหลักเกณฑ์ของการประกันภัยซ้ำซ้อนคือกฎหมายของประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870บัญญัติหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ไม่ชัดเจน กล่าวคือ หากกรณีที่มีกรมธรรม์ 2 ฉบับคุ้มครองวัตถุแห่งการประกันภัยเดียวกันแต่ผู้เอาประกันภัยเป็นคนละคนและมีส่วนได้เสียที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ธนาคารที่ผู้กู้นำบ้านและที่ดินมาจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ไว้ ธนาคารประกันภัยในทรัพย์นั้นได้ ผู้กู้ก็ซื้อประกันภัยในทรัพย์นั้นได้ เช่นนี้ตามกฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีความแน่ชัดว่าเป็นการประกันภัยซ้ำซ้อนหรือไม่ และหากมีการทำประกันภัยซ้ำซ้อนขึ้น กฎหมายของประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกเบี้ยประภัยที่จ่ายไปคืน เช่นในกรณีที่เป็นประกันภัยซ้ำซ้อนที่ทำประกันภัยต่างวันกันและเกิดวินาศภัยกับทรัพย์ที่เอาประกันภัยไว้จนเสียหายสิ้นเชิง ถ้าผู้รับประกันภัยรายแรกจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนที่เอาประกันภัยไว้แล้ว หากยังไม่คุ้มวินาศภัย ผู้รับประกันภัยรายที่สองจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เหลือ แต่ถ้าผู้รับประกันภัยรายที่สองจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เต็มจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ ดังนั้น ผู้รับประกันภัยรายที่สองจะต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือไม่ จึงเป็นความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้จึงก่อให้เกิดปัญหาขึ้น แต่หากเป็นกรณีตามกฎหมายของประเทศอังกฤษและเครือรัฐออสเตรเลียตามที่ผู้วิจัยศึกษามา พบว่า ทั้งสองประเทศมีบทบัญญัติในเรื่องของการคืนเบี้ยประกันภัยกรณีเป็นการประกันภัยซ้ำซ้อนอย่างชัดเจนเป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยขอคืนเบี้ยประกันภัยกรณีเป็นการประกันภัยซ้ำซ้อนนั่นเอง ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องของหลักเกณฑ์การประกันภัยซ้ำซ้อนว่ามีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนของการคืนเบี้ยประกันภัยซ้ำซ้อนด้วย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกเบี้ยประกันภัยคืนได้กรณีที่ผู้รับประกันภัยซ้ำซ้อนนั้นชำระค่าสินไหมทดแทนไม่ครบตามจำนวนที่ได้เอาประกันภัยไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแยกประเภทของการประกันภัยและการนำหลักกฎหมายเข้าไปปรับใช้กรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการประกันภัยซ้ำซ้อนขึ้น และเพื่อประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยต่อไป
รายละเอียด: วณิชชา มณีวงค์. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับประกันวินาศภัยซ้ำซ้อน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6357
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น