Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์en_US
dc.date.accessioned2019-10-05T06:25:53Z-
dc.date.available2019-10-05T06:25:53Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์. 2562. "ปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6412-
dc.descriptionณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์. ปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อเป็นการประกันความชอบธรรมและความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินการภายใต้ขอบเขตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่นนี้ การควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ย่อมเป็นมาตรการที่มุ่งหมายถึงการควบคุมและตรวจสอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเป็นกระบวนการตรวจสอบทางการเมืองที่แยกออกจากกระบวนการตรวจสอบ โดยฝ่ายตุลาการหรือองค์กรศาล การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในกระบวนการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ พุทธศักราช 2561 ก่อให้เกิดประเด็นในกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งหลายประการ อันได้แก่ 1) ปัญหาประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดการมีส่วนร่วมในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทาง 2) ปัญหากระบวนการถอดถอนควรให้อำนาจวุฒิสภาเป็นองศ์กรถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3) ปัญหากระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขาดการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย และ4) ปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยการตัดสิทธิผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมืองตลอดชีพ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทาง ในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดให้วุฒิสภาร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้มีอำนาจถาวงดุลอธิปไตย อีกทั้ง เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การตัดสิทธิทางการเมืองไม่กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  en_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์_T184605_2562en_US
dc.subjectรัฐธรรมนูญen_US
dc.subjectการถอดถอนen_US
dc.subjectผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองen_US
dc.titleปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560en_US
dc.title.alternativeTHE PROBLEMS AND IMPACTS OF REMOVAL A PARSON HOLDINGPOLITICAL POSITIONS INVOLVED UNDER CONSTITUTION THE KINGDOM OF THAILAND B.E.2560en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.