กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6443
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการกำหนดเงินค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ศึกษากรณีการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS OF DETERMINATION OF COMPENSATION FOR THE EXPROPRIATION OF THE IMMOVABLE PROPERTY: A STUDY OF DETERMINATION OF COMPENSATION FOR THE PERENNIAL PLANT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรีณา ตติยนันทกุล
คำสำคัญ: การเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
ค่าสินไหมทดแทน
อสังหาริมทรัพย์
ไม้ยืนต้น
วันที่เผยแพร่: 2562
แหล่งอ้างอิง: วัชรีณา ตติยนันทกุล. 2562. "ปัญหาการกำหนดเงินค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ศึกษากรณีการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้น." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_วัชรีณา ตติยนันทกุล_T184784_2562
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาปัญหาในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทน (Compensation) ต้นไม้ยืนต้น (Perennial Plant) ให้แก่ผู้ถูกเวนคืน (the Expropriated) เมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (Immovable Property) รัฐต้องใช้วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณที่ต้องการจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเวนคืนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (the Owner of Immovable Property) ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 (Act on Expropriation and Acquisition of Immovable Property B.E. 2562 (2019) เพื่อใช้เป็นกฎหมายหลักของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่หน่วยงานของรัฐ (State Agencies) ที่ใช้อำนาจในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดให้การกำหนดราคาค่าทดแทนจะต้องกำหนดให้แก่ผู้ถูกเวนคืนอย่างเป็นธรรม
รายละเอียด: วัชรีณา ตติยนันทกุล. ปัญหาการกำหนดเงินค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ศึกษากรณีการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้น. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6443
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
01 ปก.pdf251.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
02 ใบรับรองสารนิพนธ์.pdf79.1 kBAdobe PDFดู/เปิด
03 บทคัดย่อภาษาไทย.pdf282.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
04 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.pdf221.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
05 กิตติกรรมประกาศ.pdf64.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
06 สารบัญ.pdf133.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
07 บทที่ 1.pdf121.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
08 บทที่ 2.pdf482.9 kBAdobe PDFดู/เปิด
09 บทที่ 3.pdf775.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
10 บทที่ 4.pdf456.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
11 บทที่ 5.pdf242.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
12 บรรนานุกรม.pdf196.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
13 ภาคผนวก ก.ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน.pdf5.1 MBAdobe PDFดู/เปิด
14 ภาคผนวก ข.บัญชีรายละเอียดค่าทดแทนต้นไม้และไม้ผลที่ถูกเขตชลประทาน.pdf4.26 MBAdobe PDFดู/เปิด
15 ภาคผนวก ค. บัญชีราคาค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290.pdf8.42 MBAdobe PDFดู/เปิด
16 ภาคผนวก ง. Acquisition of Land Act 1981.pdf25.84 MBAdobe PDFดู/เปิด
17 ประวัติผู้เขียน.pdf79.55 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น