Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6825
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งสุจริต ในคดีล้มละลาย
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON FAILURE OF DEBT REPAYMENT FILING OF HONEST CREDITOR IN BANKRUPTCY CASE
Authors: วิภาวี เตชะเกิดกมล
Keywords: กฎหมายล้มละลาย
การขอรับชำระหนี้
Issue Date: 2559
Publisher: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วิภาวี เตชะเกิดกมล. 2559. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งสุจริตในคดีล้มละลาย." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_วิภาวี เตชะเกิดกมล_2559
Abstract: ปัจจุบันมีลูกหนี้ซึ่งไม่สุจริตเป็นจำนวนมากที่เมื่อทราบว่าตนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ได้พยายามอาศัยช่องว่างของกฎหมายล้มละลายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากหนี้สิน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้เจ้าหนี้ซึ่งสุจริตไม่ได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และเมื่อเกิดการกระทำทีไม่สุจริตของลูกหนี้ แม้กฎหมายล้มละลายของประเทศไทยจะมีมาตรการทางแพ่งและทางอาญาลงโทษลูกหนี้ในกรณีดังกล่าวแต่ก็ยังขาดสภาพบังคับใช้ อีกทั้งกฎหมายล้มละลายของประเทศไทยก็ยังไม่มีมาตรการเยียวยาความเสียหายดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แนวคิดทฤษฎีต่างๆ ทั้งของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหาการไม่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งสุจริตในคดีล้มละลาย โดยได้ทำการศึกษาในส่วนของการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายของลูกหนี้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ การประนอมหนี้ การปลดจากล้มละลาย การกำหนดโทษและการบังคับใช้มาตรการทางแพ่งและทางอาญาต่อลูกหนี้ซึ่งทุจริต ของกฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการล้มละลายข้ามพรมแดนของกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) (Model Law on Cross Border Insolvency) ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เปรียบเทียบกับกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายล้มละลายอันส่งผลให้เจ้าหนี้ซึ่งสุจริตในคดีล้มละลายสามารถได้รับชำระหนี้มากยิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 11 ให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมวางศาลในคดีล้มละลายให้มากยิ่งขึ้น มาตรา 28 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องส่งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปยังเจ้าหนี้ทุกคนเท่าที่ทราบ นอกจากนี้ยังต้องประกาศคำสั่งโฆษณาพิทักษ์ทรัพย์ลงในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และให้ประกาศคำสั่งดังกล่าวลงในสื่อออนไลน์ต่างๆ ให้มีการบัญญัติความหมายของคำว่า “เหตุสุดวิสัย” พร้อมระบุตัวอย่างให้ชัดเจนว่ากรณีใดบ้างที่เป็นเหตุสุดวิสัยทำให้เจ้าหนี้ซึ่งสุจริตมายื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทันและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจสั่งในคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกรณีที่เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทัน ในส่วนโทษทางอาญานั้นเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษปรับและโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติล้มละลายโดยกำหนดให้มีโทษปรับเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มโทษจำคุกเป็นจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมโทษปรับในคดีอาญาแล้วให้แบ่งค่าปรับที่ได้รับจากจำเลยจำนวนครึ่งหนึ่งชำระให้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีอาญาเพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทน ในส่วนมาตรการทางแพ่งนั้นผู้วิจัยเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปลดจากล้มละลายโดยวางหลักว่า ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากหนี้ในรายที่ลูกหนี้มิได้แจ้งรายละเอียด รายชื่อ ที่อยู่ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้เจ้าหนี้ยังมีสิทธิบังคับคดีกับลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้ว
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6825
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.