Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6901
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในการจัดตั้งสำนักงานกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
Other Titles: LEGAL MEASURES REGARDING THE LIABILITY OF ESTABLISHMENT OF LAW OFFICES UNDER THE LAWYERS ACT B.E. 2528
Authors: อนุราช เพิ่มสิน
Keywords: ความรับผิดในการจัดตั้งสำนักงานกฎหมาย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: อนุราช เพิ่มสิน. 2563. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในการจัดตั้งสำนักงานกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_อนุราช เพิ่มสิน_T186449_2563
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในการจัดตั้งสำนักงานกฎหมาย เพราะในปัจจุบันการจัดตั้งสำนักงานกฎหมายยังเป็นไปอย่างอิสระ และไม่มีบทกำหนดความรับผิดของสำนักงานกฎหมายนั้น ดังนั้น เพื่อให้มีแนวทางในการจัดตั้งสำนักงานกฎหมายมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน ตลอดจนมีบทกำหนดโทษสำนักงานกฎหมาย จึงเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานกฎหมายพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 42 ในประเด็นนี้เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดกล่าวถึงโครงสร้างการจัดตั้งสำนักงานกฎหมาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 42 กำหนดแต่เพียงให้นายทะเบียนทนายความจดแจ้งสำนักงานกฎหมายไว้ในทะเบียนเท่านั้น มิได้มีการกำหนดให้ผู้ขอจดจัดตั้งสำนักงานกฎหมายจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ทำให้การตั้งสำนักงานกฎหมายสามารถตั้งได้โดยบุคคลใดก็ตามที่สนใจและต้องการประกอบธุรกิจด้านนี้ โดยที่ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่จะเข้าไปตรวจสอบ กำกับ ควบคุมดูแล ให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่ประชาชน (2) ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการรับผิดเกี่ยวกับการประพฤติผิดมรรยาททนายความของทนายความในสำนักงานกฎหมายเนื่องจากข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 1 ข้อ 4 ไม่ได้มีข้อความใดกล่าวถึงสำนักงานกฎหมาย ข้อบังคับดังกล่าวจึงยังไม่นำมาใช้บังคับกับสำนักงานกฎหมายด้วย ไม่ว่าจะเป็นสำนักทนายความที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบใด ก็ไม่ต้องรับผิดตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม และ (3) ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษแก่สำนักงานกฎหมายที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เนื่องจากยังไม่มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติเกี่ยวกับการภาคทัณฑ์ การห้ามประกอบกิจการภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือการปรับ ของสำนักงานกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในสังกัดหรือสำนักงานกฎหมายนั้น ๆ หรือการมีส่วนรับรู้หรือสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในสังกัดหรือสำนักงานกฎหมายประพฤติผิดมรรยาททนายความ ส่งผลให้สำนักงานกฎหมายนั้นไม่เกิดความเกรงกลัวและไม่เข้มงวดกับการตรวจสอบ เพื่อไม่ให้ทนายความนั้นพฤติกรรมมรรยาททนายความ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นควรเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของสำนักงานกฎหมาย
Description: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6901
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.