กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6956
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการสืบพยานลับหลังจำเลยในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS OF EXAMINATION OF EVIDENCE IN CRIMINAL CASES
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราวุฒิ ประมูลทรัพย์
คำสำคัญ: การสืบพยานคดีอาญา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วราวุฒิ ประมูลทรัพย์. 2563. "ปัญหาการสืบพยานลับหลังจำเลยในคดีอาญา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_วราวุฒิ ประมูลทรัพย์_T186557_2563
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในประเทศสากลหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐเช็ก และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะนำหลักการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญามาใช้ แต่ก็มีบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนก่อน ระหว่างและภายหลังจากพิจารณาคดีลับหลังนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบในประเทศไทย พบว่ามีบัญญัติไว้ทั้งในประมวลกฎหมาย ว่า เห็นสมควรเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ โดยไม่รวมถึงกรณีที่จำเลยหลบหนีการดำเนินคดีอาญา ซึ่งปัญหาการหลบหนีการดำเนินคดีอาญาของจำเลย ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินคดีอย่างมาก เพราะศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปได้ ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม คือ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพในการดำเนินคดี โดยที่กระบวนการทางกฎหมายขาดมาตรการดำเนินคดี กับบุคคลเหล่านี้ คงทำได้เพียงแต่การออกหมายจับ และในขณะเดียวกันอาจเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และหากไม่มีการพิจารณาคดีโดยเร็วอาจทำให้พยานหลักฐานอื่น ๆ สูญหายได้
รายละเอียด: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น