Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6981
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธาศิณี บัวเผียนth_TH
dc.date.accessioned2020-10-16T10:06:52Z-
dc.date.available2020-10-16T10:06:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.citationสุธาศิณี บัวเผียน. 2563. "ปัญหาการไม่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6981-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหากรณีที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (The Merit System Protection Commission) หรือ ก.พ.ค. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน แต่ ก.พ.ค. ไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 (Civil Service Act B.E. 2551 (2008)) กำหนดไว้ ทำให้ข้าราชการผู้อุทธรณ์ไม่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และไม่ได้รับแจ้งสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เป็นเหตุให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999)) หรือกรณีที่ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น (Administrative Courts of First Instance) ภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว หากต่อมาภายหลังได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ย่อมเป็นเหตุให้ศาลปกครองชั้นต้นที่รับคำฟ้องไว้ไม่อาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. เนื่องจากคดีดังกล่าวต้องอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และจะต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (Case List) โดยผู้ฟ้องคดีจะต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดใหม่อีกครั้งซึ่งปัญหากรณีแรกจะทำให้ข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวเสียสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล ส่วนในกรณีที่สองนั้น แม้ผู้ฟ้องคดีจะได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นภายในระยะเวลาการฟ้องคดีแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. แล้ว ศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลปกครองดำเนินการไปแล้วเกิดความสูญเปล่าด้านเวลาและการดำเนินคดี รวมทั้งไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใดต่อการแก้ไขปัญหาและ การเยียวยาแก่ผู้ฟ้องคดีth_TH
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.relation.ispartofseriesSPU_ สุธาศิณี บัวเผียน_T186915_2563th_TH
dc.subjectกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนth_TH
dc.subjectคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)th_TH
dc.subjectโทษทางวินัยth_TH
dc.subjectคำสั่งลงโทษทางวินัยth_TH
dc.subjectการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยth_TH
dc.subjectกำหนดระยะเวลาของการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์th_TH
dc.titleปัญหาการไม่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)th_TH
dc.title.alternativePROBLEM OF NON-CONSIDERATION NON-APPEAL DECISION OF THE MERIT SYSTEM PROTECTION COMMISSION (MSPC) WITHIN PERIOD OF TIME UNDER THE LAW ON CIVILEth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.