Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรสา ปุณโณทกth_TH
dc.date.accessioned2021-12-08T07:02:27Z-
dc.date.available2021-12-08T07:02:27Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationรสา ปุณโณทก. 2564. "ปัญหากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7846-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยการศึกษาหลักเกณฑ์และอำนาจในการใช้ดุลพินิจในการฟ้องคดีอาญา การถอนฟ้องคดีอาญา และการไม่ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวของพนักงานอัยการ เนื่องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินคดีอาญาในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขในปัญหากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เหมาะสมกับประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า พนักงานอัยการซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ที่จะดำเนินคดีแทนรัฐ โดยอำนาจในการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาต่อศาล อีกทั้งยังสามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งถอนฟ้องคดีอาญาที่ได้มีการสั่งฟ้องไปแล้ว และยังมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องได้ โดยผู้ต้องหาไม่สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ ซึ่งหากพนักงานอัยการใช้ดุลพินิจดังกล่าวไปโดยมิชอบ อาจก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม และความสงบเรียบร้อยของสังคม เนื่องจากส่งผลต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 มาตรา 35 มิได้วางหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการ และมาตรา 108/1 การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการมีความเด็ดขาดไม่สามารถอุทธรณ์ได้ จากการศึกษาในประเด็นปัญหาข้างต้น จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 มาตรา 35 และมาตรา 108/1 ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจในการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ การถอนฟ้อง และการสั่งไม่ให้ประกันตัว โดยในมาตราดังกล่าวไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ อีกทั้งตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดนั้นมิได้มีฐานะเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงเห็นควรมีการวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในประเด็นดังกล่าวบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ภายใต้บทบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อให้เกิดมาตรฐานและถูกต้องตามหลักสากลth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectการฟ้องคดีอาญาth_TH
dc.subjectการฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการth_TH
dc.subjectการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการth_TH
dc.subjectดุลพินิจของพนักงานอัยการth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาth_TH
dc.title.alternativeTHE LEGAL PROBLEMS OF PUBLIC PROSECUTOR’S CRIMINAL PROCEEDINGS IN CRIMINAL PROCEDURE CODEth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.