กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8172
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและการควบคุมการประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AIR BED AND BREAKFAST: AirBNB) ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEM OF LEGAL MEASURE FOR ACCEPTANCE AND CONTROL ON LODGING BUSINESS VIA INFORMATION TECHNOLOGY (AIR BED AND BREAKFAST: AirBNB) IN THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศินัฐชา จันทร์เกษม
คำสำคัญ: การเช่าที่พัก
การเช่าที่พักผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AirBNB)/กฎหมายโรงแรม
ธุรกิจโรงแรม
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ศินัฐชา จันทร์เกษม. 2564. "ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและการควบคุมการประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AIR BED AND BREAKFAST: AirBNB) ในประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AIR BED AND BREAKFAST: AirBNB) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในประเทศไทยมีกฎหมายสำหรับการรับรองและการควบคุมการประกอบธุรกิจบริการสถานที่พักที่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวหรือพักอาศัยในระยะสั้น โดยมีค่าตอบแทน คือ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 (Hotel Act B.E. 2547 (2004)) อันเป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับการรับรองและการควบคุมธุรกิจโรงแรม (Acceptance and Control of Hetel Business) ซึ่งกำหนดลักษณะและประเภทของโรงแรม แต่โดยเหตุที่มีการพัฒนาด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นเกิดการพัฒนาการทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการเรียกธุรกิจดังกล่าวตามชื่อที่อยู่บนระบบการค้นหาและเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (Search and Access for Data on Internet) ซึ่งเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อผ่านทางระบบออนไลน์ในการให้บริการที่มีชื่อว่า AirBNB โดยนักท่องเที่ยวสามารถค้นหาที่พักผ่านระบบการค้นหาและสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยอาศัยเว็บไซต์หรือโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่แสดงการจัดหาที่พักของ AirBNB ลักษณะการนำที่พักออกให้เช่าผ่านทาง AirBNB จึงเป็นการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับธุรกิจโรงแรม ซึ่งการจะประกอบธุรกิจโรงแรมได้ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอน วิธีการ และมาตราฐานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 แต่โดยสภาพแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยผ่านทาง AirBNB มิได้มีเจตนาที่จะประกอบธุรกิจโรงแรม การนำที่พักออกให้เช่าผ่าน AirBNB จึงเป็นการนำออกให้เช่ารายวันที่อาจถือเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยโรงแรม (Law on Hetel) ซึ่งการประกอบธุรกิจ AirBNB ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจ AirBNB ดังกล่าว พิเคราะห์แล้วจึงเห็นสมควรที่จะค้นหาวิธีการทางกฎหมาย (Legal Method) ในการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักผ่านทาง AirBNB อยู่ในระบบ และเมื่อผู้ให้บริการเหล่านี้อยู่ในระบบแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีอากร (Taxation) ที่รัฐจะได้รับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว รวมทั้งสภาพธุรกิจและเศรษฐกิจต่าง ๆ ในประเทศอาจได้รับผลดีด้วย ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ AirBNB ของสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และเครือรัฐออสเตรเลียแล้วพบว่า ในประเทศเหล่านี้ ยอมรับให้สามารถประกอบธุรกิจในลักษณะของ AirBNB ได้ เพียงแต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AirBNB) ในประเทศไทยมีมาตฐาน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ และมีการจัดระเบียบรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้พักอาศัยที่ดียิ่งขึ้น จึงเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AirBNB) ในประเทศไทยโดยกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้อง และเป็นไปตามสภาวการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ สารนิพนธ์นี้จึงมีข้อสรุปและความเห็นทางวิชาการ โดยเสนอให้มีการตรากฎหมายฉบับใหม่ขึ้น คือ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ พ.ศ. .... โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 มาเป็นแนวทางในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดสาระสำคัญให้ต้องมีการขออนุญาตและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้ ทั้งเห็นควรให้มีการกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะนี้ไว้ด้วย ซึ่งการตรากฎหมายดังกล่าวขึ้นใช้บังคับอาจเป็นผลดีต่อภาครัฐ (Public Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) โดยจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และยังช่วยให้การประกอบธุรกิจการให้เช่าที่พักอาศัยระยะสั้นผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (AirBNB) ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยโรงแรมอีกด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8172
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1. หน้าปก นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf53.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.1 บทคัดย่อ-En-ศินัฐชา.pdf84.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.2 บทคัดย่อ-ศินัฐชา-Th(1).pdf104.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
3. กิตติกรรมประกาศ นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf54.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
4. สารบัญ นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf134.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
5. บทที่ 1 น.ส. ศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf275.43 kBAdobe PDFดู/เปิด
6. บทที่ 2 นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf721.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
7. บทที่ 3 นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf603.36 kBAdobe PDFดู/เปิด
8. บทที่ 4 น.ส.ศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf319.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
9. บทที่ 5 น.ส.ศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf215.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
10. บรรณานุกรม นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377 (1).pdf261.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
11. รวมภาคผนวก.pdf1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด
12. ประวัติผู้เขียน นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม.pdf65.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
นางสาวศินัฐชา จันทร์เกษม 62501377.pdf4.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น