Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8762
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรภัทร เรืองจันทร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-02T09:06:53Z-
dc.date.available2022-12-02T09:06:53Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationวีรภัทร เรืองจันทร์. 2565. "การกำหนดโทษปรับทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8762-
dc.description.abstractจากสภาพปัญหาของการตราพระราชบัญญัติต่างๆ และการบังคับใช้พระราชบัญญัติที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้ หากผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องได้รับการลงโทษ เช่น การลงโทษปรับทางอาญาหรือโทษจำคุก ซึ่งมีระวางโทษที่กำหนดไว้ในมาตราต่างๆ ก็ด้วยเนื่องมาจากการที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 นั้น มีวัตถุประสงค์ มุ่งหมายในการคุ้มครอง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามนโยบายที่รัฐจำต้องกระทำอันเป็นหน้าที่ จึงต้องมีการกำหนดรูปแบบการลงโทษทางอาญาขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 72 แต่เมื่อสภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน บทบัญญัติของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ดังกล่าวที่มีอยู่แต่เดิมนั้น ส่งผลกระทบต่อการเกิดความไม่สอดคล้องกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอันนำไปสู่ปัญหาการกำหนดความผิดทางอาญาอย่างไม่เหมาะสมหรือกฎหมายอาญาเฟ้อ (Over – criminalization) อีกทั้งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ยังประกอบด้วยความผิดอาญาที่กำหนดไว้ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ความผิดในตัวเอง (Mala In Se) หรือแนวคิดทางศีลธรรมของสังคม (Legal Moralism) เพราะเป็นการกระทำอันกระทบกระเทือนต่อสังคมโดยรวม และอีกประเภทหนึ่งของความผิดทางอาญาที่เรียกว่า ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาประโยชน์ของสังคมอันเป็นประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) แต่การที่จะนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับพระราชบัญญัติดังกล่าวได้นั้น จะต้องนำไปใช้ได้ในส่วนของกฎหมายที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งนี้ ระบบกฎหมายของไทยยังขาดความชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับการจะนำโทษทางปกครองไปใช้กับโทษทางอาญาได้อย่างไร เมื่อปรากฏว่า พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 11/1 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจำจังหวัดโดยอนุโลมเพียงเท่านั้น จึงยังไม่ได้มีมาตรการลงโทษปรับทางปกครองที่จะระบุลงไว้ในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 อย่างชัดเจนth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectป่าสงวนth_TH
dc.subjectโทษปรับth_TH
dc.titleการกำหนดโทษปรับทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507th_TH
dc.title.alternativeADMINISTRATIVE FINES ACCORDING TO THE NATIONAL RESERVED FOREST ACT B.E. 2507th_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.