Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐพงษ์ จริตงามth_TH
dc.date.accessioned2023-04-22T02:56:18Z-
dc.date.available2023-04-22T02:56:18Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.citationณัฐพงษ์ จริตงาม. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จากการถูกแกล้งฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9103-
dc.description.abstractสารนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการแกล้งฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ แต่ยังพบปัญหาว่าผู้แสดงความคิดหรือแสดงข้อเท็จจริง จะต้องตกเป็นผู้ต้องหาถูกแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและผู้บริโภคต้องต่อสู้เพื่อพ้นจากข้อกล่าวหาไปถึงชั้นอัยการ และศาล หรือตกเป็นจำเลยในกรณีที่ถูกฟ้องต่อศาลโดยตรง ซึ่งมีระยะเวลานาน เป็นผลให้การแสดงความคิดเห็นต่อไปก็จะถูกลบและไม่มีใครกล้าพูดถึงอีกเพราะเกรงกลัวที่จะเกิดเป็นคดีความจากการแสดงข้อวิจารณ์ต่าง ๆ พบว่ามีปัญหาทั้งองค์ประกอบความผิด อำนาจของพนักงานอัยการ และกระบวนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกแกล้งฟ้องคดีหมิ่นประมาท พบว่า องค์ประกอบความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และมาตรา 329 เห็นได้ว่าเป็นองค์ประกอบความผิดและข้อยกเว้นเป็นการทั่วไป ทำให้บุคคลสาธารณะใช้ช่องทางกฎหมายกลั่นแกล้งดำเนินคดีทางอาญาเพื่อปิดปาก (2) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานอัยการในการคุ้มครองผู้บริโภคในคดีหมิ่นประมาท พบว่าพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พุทธศักราช 2553 มาตรา 21 กฎหมายให้ผู้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน คือ อัยการสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้พนักงานอัยการประเทศไทยถูกจำกัดทางเลือกในการสั่งสำนวนแทนการฟ้องคดีอาญาต่อศาล (3) ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้เปิดช่องทางให้ผู้ถูกฟ้องหรือจำเลยในคดียื่นคำร้องเป็นกรณีพิเศษ พบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีอาญา มาตรา 161/1 ศาลจะเป็นผู้มีบทบาทในการพิจารณาโดยต้องปรากฎต่อศาลเอง หรือศาลเป็นผู้เรียกเข้ามาในการพิจารณา แต่ไม่ได้เปิดช่องให้ผู้ถูกแกล้งฟ้องซึ่งอยู่ในฐานะจำเลยสามารถยื่นคำร้องแสดงพยานหลักฐานให้ศาลพิจารณาความสุจริตในการใช้สิทธิทางศาลของโจทก์ ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาการแกล้งฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อผู้บริโภค จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยให้การวิจารณ์บุคคลสาธารณะ มีภาระการพิสูจน์เจตนาร้ายของผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกว่าบุคคลทั่วไป แก้ไขพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ มาตรา 21 ให้อำนาจพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนมีอำนาจการสั่งคดีเป็นเอกภาพ และประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 เพิ่มเติมถ้อยคำในมาตรา 161/1 วรรคหนึ่ง เป็น “กรณีราษฎรเป็นโจทก์ หากปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียก หรือจำเลยยื่นคำขอและศาลพิจารณาตามคำขอ แล้วเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลพิพากษายกฟ้องและห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก”th_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.subjectคดีหมิ่นประมาททางอาญาth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จากการถูกแกล้งฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS REGARDING CONSUMERS PROTECTION FROM STRATEGIC LAWSUITS AGAINST PUBLIC PARTICIPATION IN CRIMINAL DEFAMATION CASEth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.