กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9625
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของคนต่างด้าว ศึกษากรณีนอมินี (Nominee) หรือตัวแทนอำพราง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS OF FOREIGNER DOING BUSINESS IN THAILAND THE CASE STUDY OF NOMINEE OR DISSIMULATED AGENT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษญา นิธิโสภา
คำสำคัญ: ปัญหาการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
นอมินี
ตัวแทนอำพราง
วันที่เผยแพร่: 2567
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: กฤษญา นิธิโสภา. 2555. “ปัญหาการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของคนต่างด้าว ศึกษากรณีนอมินี (Nominee) หรือตัวแทนอำพราง.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาปัญหาการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของคนต่างด้าว โดยมุ่งศึกษาถึงกรณีนอมินี (Nominee) หรือตัวแทนอำพราง เนื่องจากประเทศไทยมีกฏหมายที่ใช้ควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คือ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยกฏหมายฉบับนี้ได้กำหนดสิทธิของคนไทยและคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจไว้แตกต่างกัน วิธีในการพิจารณาสัญชาติของนิติบุคคลจึงเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในการบังคับใช้กฏหมายในทางปฎิบัติ ดังนั้น คนต่างด้าวจึงนิยมใช้วิธีการให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (Nominee) หรือตัวแทนอำพราง การที่กฏหมายควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยกำหนดเพียงหลักเกณฑ์เดียว คือ การกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมถึงการที่คนต่างด้าวมีอำนาจบริหารจัดการและควบคุมกิจการด้วย ทำให้คนต่างด้าวใช้ช่องว่างของกฏหมายทำให้สามารถประกอบธุรกิจได้ทุกประเภทโดยไม่ต้องขออนุญาตดังเช่นที่คนไทยสามารถทำได้ทุกประการ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9625
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น