LAW-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-08. ผลงานนักศึกษา โดย ผู้เขียน "กรวุฒิ มิตรใจดี"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กรวุฒิ มิตรใจดีสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาลของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล และ (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ผลการศึกษาพบปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการออกคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานตำรวจศาลในการออกคำสั่งใด ๆ เพื่อระงับเหตุที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าหรือเหตุที่เกิดขึ้นภายในบริเวณศาลไว้อย่างชัดเจน จึงส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านของการรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณศาล (2) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจในการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลไว้อย่างชัดเจน อาจส่งผลให้การจับกุมการกระทำความผิดดังกล่าวอาจเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย (3) ปัญหามาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า การกระทำความผิดในบริเวณศาลส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงความผิดลหุโทษ หรือเป็นความผิดที่มีความร้ายแรงไม่ถึงกับคดีอาญาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงของผู้พิพากษาในการพิจารณาและกำหนดบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิด ดังนั้นเจ้าพนักงานตำรวจศาล จึงไม่สามารถใช้ดุลพินิจก้าวล่วงอำนาจโดยตรงของศาลได้ จึงส่งผลให้การลงโทษผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวจะต้องนำกฎหมายอาญา ระเบียบ และข้อกำหนดอื่นของศาล มาบังคับใช้โดยอนุโลม แก่ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ (1) อำนาจแก่เจ้าพนักงานตำรวจศาล ในการออกคำสั่งแก่บุคคลภายในบริเวณศาลเป็นการเฉพาะ (2) อำนาจการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไว้เป็นการเฉพาะ และ (3) มาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลให้เหมาะสมในแต่ละกรณี