LAW-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-08. ผลงานนักศึกษา โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 128
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายส่งเสริมการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ประพันธ์ สันติวิทยวงศ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าไทยมีการส่งเสริมการลงทุนโดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ที่มีการส่งเสริมน้อยกว่า ให้ความสำคัญในแนวเชิงปฏิบัติการ ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้นโยบายเปิดประเทศสู่โลกกว้าง ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าการลงทุนขององค์การการค้าโลก และข้อตกลงต่าง ๆ ที่เข้าเป็นภาคีร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีกฎหมายว่าด้วยการลงทุนชาวต่างชาติ ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ฉบับใหม่ที่มีการส่งเสริมที่กว้างขวางครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับการลงทุนของต่างชาติ ความเหมือนและแตกต่างของกฎหมายราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็คือ ข้อจำกัดการลงทุนตามบัญชีรายการ ทั้งสองประเทศก็มีส่วนคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทรัพยากรของชาติ วัฒนธรรม การศึกษา และที่แตกต่างคือ ไทยจำกัดอาชีพสงวนสำหรับคนไทย องค์กรส่งเสริมของไทยคือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีอำนาจควบคุมในการอนุญาต ตรวจสอบ ส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน้าที่เพียงส่งเสริม เผยแพร่ ชักจูงให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ไม่มีอำนาจควบคุม ตรวจสอบอนุญาต แต่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ลงทุน การวิจัยเสนอแนะให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ และ ร่วมมือกับประเทศในอาเซียนผนึกกำลัง เพื่อต่อรองและสร้างสมดุลอำนาจการลงทุน ควรมีมาตรการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล สำหรับนักลงทุนไทยเสนอแนะให้ศึกษารายละเอียดและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่สาธารณรัฐประชาชนจีนรายการ การกระทำทางละเมิดของลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ปรรณพัชร์ ฐิติธรรมเวทย์การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่สามารถกระทำได้เพียงคนเดียว จึงจำเป็นต้องมีผู้ร่วมงานเข้ามาในฐานะ เรียกว่า ลูกจ้าง เข้ามาช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน สำเร็จดังความมุ่งหมายของเจ้าของกิจการหรือนายจ้าง เมื่อเจ้าของกิจการหรือนายจ้างได้มอบหมายกิจการใดให้ลูกจ้างทำงาน นายจ้างก็ได้รับประโยชน์ในงานนั้นหากลูกจ้างไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นายจ้างก็ต้องรับผิดด้วย อันถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม จากการศึกษาพบว่าปัญหาความรับผิดทางละเมิดที่เกิดจากลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเยียวยานักท่องเที่ยวที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของลูกจ้าง นายจ้างต้องมีส่วนร่วมรับผิดในค่าเสียหาย การดูแลและเยียวยานักท่องเที่ยว กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กฎหมายดังกล่าวยังมิได้กำหนดการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจะพิจารณาจากหน้าที่หลักของลูกจ้างว่า การละเมิดนั้นเกี่ยวกับหน้าที่หลักหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจึงต้องพิจารณาหน้าที่ของลูกจ้างผู้กระทำละเมิดเป็นกรณีไป อีกทั้งไม่ปรากฏหน้าที่ตามกฎหมาย ตามสัญญา หรือตามพฤติกรรมต่างๆจากการกระทำก่อนๆของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างก็ไม่อาจเรียกร้องโดยมูลละเมิดได้รายการ การกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เจนจิรา สำลีศรีสารนิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเรื่องมาตรการการกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาความสำคัญของมาตรการทางกฎหมายในความผิดฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย ว่าการที่ผู้กระทำความผิดได้บุกรุกเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานที่พักที่ หมายความรวมถึง เคหสถานที่พักอาศัย (Privacy) ที่หมายถึง ความเป็นส่วนตัวในบ้านที่พักอาศัย สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง หรือการที่บุคคลมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะอยู่อย่างสันโดษโดยปราศจากการแทรกแซง การรบกวนจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่เป็นการบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่วไป ในขณะเดียวกันบทบัญญัติตามกฎหมายไทยในปัจจุบันความผิดอันเกี่ยวกับการบุกรุกที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา เพียงแต่บัญญัติความผิดเรื่องการบุกรุกเคหสถานทั่วไปตามมาตรา 364 เท่านั้น มิได้บัญญัติอันว่าด้วยเรื่องการบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยแยกออกจากกันไว้ จึงเป็นกรณีที่บทบัญญัติและการลงโทษของกฎหมายในกรณีดังกล่าวไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอย่างแท้จริง โดยเมื่อศึกษาบทบัญญัติกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับบทกฎหมายต่างประเทศแล้ว เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศมีบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นการกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยที่แบ่งแยกออกจากฐานความผิดบุกรุกทั่วไปมีเฉพาะในบทกฎหมายบางประเทศ อาทิเช่น สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้กฎหมายอาญาไทยมีการปรับปรุงบทบัญญัติความผิดอาญาและบทลงโทษที่เหมาะสม จึงสมควรที่จะมีการกำนหนดให้การบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาไทย และมาตรการการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับการกระทำความผิดลักษณะดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากขึ้น สามารถนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยที่แบ่งแยกออกจากฐานความผิดบุกรุกทั่วไปมีเฉพาะในบทกฎหมายบางประเทศ อาทิเช่น สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้กฎหมายอาญาไทยมีการปรับปรุงบทบัญญัติความผิดอาญาและบทลงโทษที่เหมาะสม จึงสมควรที่จะมีการกำนหนดให้การบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาไทย และมาตรการการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับการกระทำความผิดลักษณะดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากขึ้น สามารถนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยที่แบ่งแยกออกจากฐานความผิดบุกรุกทั่วไปมีเฉพาะในบทกฎหมายบางประเทศ อาทิเช่น สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้กฎหมายอาญาไทยมีการปรับปรุงบทบัญญัติความผิดอาญาและบทลงโทษที่เหมาะสม จึงสมควรที่จะมีการกำนหนดให้การบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาไทย และมาตรการการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับการกระทำความผิดลักษณะดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากขึ้น สามารถนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพรายการ การจัดทำสัญญามาตรฐานเพื่อการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เพ็ญนภา เดชเกิดสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่งโดยศึกษากฎหมายต่างๆของประเทศไทย ในเรื่องการทำสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคพบว่ามักจะทำเป็นสัญญาลิสซิ่ง และสัญญาลิสซิ่งเป็นสัญญาที่ไม่ถูกควบคุมตามประกาศคณะกรรมการสัญญา จากการศึกษากฎหมายในประเทศไทยในการจัดทำสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่งมีกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 และร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจลิสซิ่ง พ.ศ. .... แต่จากการศึกษาในเรื่องการทำสัญญามาตรฐานนั้น ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสัญญามาตรฐานบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ปัจจุบันการประกอบธุรกิจลิสซิ่งและการทำสัญญาลิสซิ่งได้รับความนิยมและมีการทำสัญญาลิสซิ่งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายดังกล่าวไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุมการกำหนดข้อตกลงในสัญญาลิสซิ่งเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การชะลอฟ้องในคดีอาญา ศึกษากรณี ความผิดด้านฉลากสินค้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปวีณา นารีเลิศสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการชะลอฟ้องกับความผิดด้านฉลากสินค้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เนื่องจากการผู้กระทำความผิดด้านฉลากสินค้าตามกฎหมายฉบับนี้ไม่ยินยอมเปรียบเทียบปรับในชั้นพนักงานสอบสวน ทำให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้ง ทำให้ผู้กระทำความผิดมีประวัติอาชญากรรม เป็นมลทินติดตัว รวมถึงอาจต้องรับโทษร้ายแรงจึงขนาดต้องโทษจำคุกอีกด้วย ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า การนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้แทนการฟ้องคดีอาญา โดยให้อำนาจพนักงานอัยการในการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาโดยกำหนดเงื่อนไข อาทิเช่น การคุมประพฤติ การบำเพ็ญประโยชน์ หรือการชดใช้ความเสียหาย เป็นมาตรการหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมอาญา เนื่องจากช่วยลดปริมาณคดีอาญาที่ขึ้นสู่ การพิจารณาของศาล ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการคุมขังผู้กระทำความผิด รวมถึงเป็นการให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้สำนึกและปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ต้องรับโทษร้ายแรงถึงขนาดต้องโทษจำคุก และไม่ต้องมีประวัติอาชญากรรมให้เป็นมลทินต่อการดำเนินชีวิตในสังคมรายการ การชะลอฟ้องในคดีอาญา ศึกษากรณีความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปิยนาถ แก้วสีขาวสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญาเพื่อนำมาปรับใช้กับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากปัญหาเรื่องการขับรถขณะเมาสุราซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และยิ่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาล 7 วันอันตรายที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา ส่งผลให้คดีขับรถขณะเมาสุราขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า มาตรการชะลอฟ้อง เป็นมาตรการที่ให้อำนาจพนักงานอัยการในการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องคดีอาญา โดยพนักงานอัยการสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นที่ สามารถช่วยกันกรองคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้อีกชั้นหนึ่ง การนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้กับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราจะช่วยให้ปริมาณคดีมีจำนวนลดน้อยลง จึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยกำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องโดยกำหนดเงื่อนไข โดยก่อนที่จะนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาเห็นชอบก่อน และกำหนดให้ผู้ต้องหาที่จะชะลอฟ้องต้องมีทนายความอยู่ด้วยในการรับสารภาพและให้ความยินยอม และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อให้อำนาจเจ้าพนักงานในการนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้บังคับกับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุรารายการ การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถของอาคารชุด ในเมืองใหญ่: ศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนารัฐ แก้วพฤกษ์สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดศึกษากรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมจำนวนพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดของไทยและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถในอาคารชุดเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายการบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถในอาคารชุดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับส่งเสริมจำนวนพื้นที่จอดรถในอาคารชุด พบว่า มีการตรากฎกระทรวงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2517 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาใช้บังคับในการส่งเสริมและกำหนดจำนวนพื้นที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดไว้ แต่ยังจำกัดจำนวนที่กำหนดไว้ ส่งผลผู้พักอาศัยใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่ารถบริการสาธารณะ เพราะไม่มีที่จอดรถ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหารถติดและเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (2) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมอาคารในการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถในอาคารชุด กรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พบว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ไม่ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมอาคารเกี่ยวกับการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถในอาคารชุด ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดไม่มีความสนใจในเรื่องที่จอดรถภายในอาคารชุด (3) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการลงโทษของคณะกรรมการควบคุมอาคารในกรณีที่ฝ่าฝืนการสร้างที่จอดรถยนต์ในอาคารชุด กรณีเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พบว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับอำนาจการลงโทษของคณะกรรมการควบคุมอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาคารชุดไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่จอดรถภายในอาคารชุด กรณีเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2517 โดยกำหนดให้มีการบังคับใช้ดังนี้ (1) กำหนดขั้นต่ำของพื้นที่จอดรถภายในอาคารชุด เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 ห้องชุด ต้องมีพื้นที่จอดรถอย่างน้อย 1 คัน (2) ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการตรวจสอบและส่งเสริมจำนวนที่จอดรถภายในอาคารชุด (3)ให้คณะกรรการมีอำนาจในการลงโทษผู้ประกอบการอาคารชุดที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดให้มีพื้นที่จอดรถรายการ การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลมัคคุเทศก์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กรินทร โตรักตระกูลในปัจจุบันการท่องเที่ยวนั้นเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เมื่อสังคมประเทศไทยทุกวันนี้มีความเปิดกว้าง ให้เสรีภาพแก่คนมากขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทุกคนย่อมไปเที่ยวทั้งในประเทศของตนและต่างประเทศ เมื่อการเดินทางระหว่างประเทศสามารถเดินทางได้โดยสะดวกและไม่ยุ่งยากมากขึ้น ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทำให้สามารถมีการติดต่อกันระหว่างประเทศได้มากขึ้น จึงมีอาชีพการนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์เกิดขึ้น เมื่อจำนวนมัคคุเทศก์มีมากขึ้น จึงเกิดการแข่งขันทำให้เกิดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินให้กับประเทศมากขึ้น ดังนั้นจึงควรทำให้ทุกอย่างเป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ คนที่ไปท่องเที่ยวนั้นย่อมต้องการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องทั้งเรื่องประวัติของสถานที่นั้น ๆ วัฒนธรรม ภาษา และอื่น ๆ แต่ก็ยังพบปัญหาอยู่สองกรณี ได้แก่ การมีมัคคุเทศก์ที่ไม่มีใบอนุญาต กับ Sitting Guide หรือการที่มัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตรับจ้างนั่งรถไปกับทัวร์เพื่อให้ครบองค์ประกอบว่ามีมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตนำเที่ยวแล้ว แต่มัคคุเทศก์คนที่เป็น Sitting Guide นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์จริง ๆ แต่จะมีมัคคุเทศก์ชาวต่างชาติคอยทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์อยู่ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคืออาจจะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องครบถ้วน หรือได้รับข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไป ซึ่งส่วนหนึ่งในการเกิดปัญหาดังกล่าวเนื่องจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะทำการขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติที่สูงเกินไป ในหลาย ๆ คนไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาตามที่กำหนดทำให้ไม่สามารถขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ จากการศึกษาในประเทศอื่น ๆ การจะขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติมากเท่าของประเทศไทย เพียงแต่มีการกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานไว้เท่านั้น เช่น ต้องมีการผ่านการอบรมมาก่อนจึงจะมายื่นขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ดังนั้นผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่จะมีการตราพระราชบัญญัติสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยขึ้นมาเพื่อทำให้มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่เป็นวิชาชีพ โดยให้คนกลุ่มเดียวกันมาดูแลกำกับกันในสายอาชีพ ย่อมเป็นผลดีและช่วยลดปัญหามัคคุเทศก์ที่ไม่มีใบอนุญาตและปัญหา Sitting Guide ได้ เนื่องจากคนในกลุ่มเดียวกันย่อมเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ของคนในสายอาชีพเดียวกัน การที่จะจัดตั้งสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยขึ้นมาให้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำ และผู้เขียนเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายและมีการตรากฎหมายเพิ่มเติมรายการ การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ณัฐพร เทียนบุญสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์จึงก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่มีศักยภาพและมีความต้องการในการทำงาน ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้ภาครัฐได้ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยออกนโยบายเพื่อรองรับการจ้างงานผู้สูงอายุ แต่การจ้างงานผู้สูงอายุยังขาดประสิทธิภาพและขาดกลไกทางกฎหมายที่เป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามการจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่าไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดนิยามการจ้างงานผู้สูงอายุไว้เป็นการเฉพาะ มีแต่เพียงกำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม ส่งผลให้บริษัทหรือผู้ประกอบการไม่เล็งเห็นความสำคัญของแรงงานผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมองว่าเป็นแรงงานที่ไม่มีศักยภาพในการทำงานเท่าที่ควร (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุควรได้รับเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน พบว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้มีกำหนดลักษณะ ประเภท หรืออาชีพที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุทำให้การดำเนินงาน ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานหรือการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพของผู้สูงอายุ ขาดความชัดเจนและไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งผลให้การจ้างงานผู้สูงอายุยังไม่เป็นที่ยอมรับจากบริษัทหรือผู้ประกอบการ (3) ปัญหาเกี่ยวกับการดูแลและการตรวจสอบ การจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีอำนาจทำหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับดูแลและตรวจสอบการจ้างงานผู้สูงอายุแต่อย่างใด แต่เป็นการทำหน้าที่ในภาพรวมของการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาพรวม ย่อมส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม และอาจทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้สูงอายุ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสหราชอาณาจักรและประเทศญี่ปุ่นแล้ว ทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญกับการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยมีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้การจ้างงานผู้สูงอายุมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม เช่น สหราชอาณาจักรมีกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติ เพราะอายุ ยกเลิกเกณฑ์การเกษียณอายุ รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายกำหนดคำนิยามของแรงงานผู้สูงอายุ และกำหนดให้มีการตั้งศูนย์พัฒนามนุษย์ผู้สูงวัย (SHRC) หรือศูนย์ทรัพยากรผู้สูงอายุ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการทำงานของผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ดังนี้ (1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติคำนิยามศัพท์ของการจ้างงานผู้สูงอายุให้ชัดเจน (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุควรได้รับเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่ชัดเจนประกอบด้วย การได้รับบริการข้อมูลทางอาชีพ ได้รับความช่วยเหลือในการจัดหางาน การรับสมัครงาน การมีสิทธิได้รับความยืดหยุ่นในการทำงาน (3) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการดูแลและตรวจสอบการจ้างงานผู้สูงอายุของคณะกรรมการผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้มีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลแรงงานผู้สูงอายุ กำหนดกฎระเบียบในการจ้างงานผู้สูงอายุ พร้อมทั้งกำกับดูแล ติดตามตรวจสอบ การจ้างงานของผู้สูงอายุรายการ การพัฒนากฎหมายสำหรับผู้ต้องขังพิการทางด้านร่างกาย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) รามเดชะ ณ ลำปาง; เอกพงษ์ สารน้อยในประเทศไทย เมื่อผู้ทูี่กระทำ ความผิดกฎหมายอาญาและถูกลงโทษจำคุก ก็จะถูกส่งมารับ โทษที่เรือนจำ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นจำนวนกว่าหนึ่งแสนคนในแต่ละปี จึงต้องมีหน่วยงานที่ทำ หน้าที่ดูแลเกี่ยวกับงานด้านการลงโทษจำคุกโดยเฉพาะ คือกรมราชทัณฑ์ มีหน้าที่ควบคุมและแก้ไข พฤตินิสัยหรือฟื้นฟูผู้ต้องขังดังให้กลับตนเป็นพลเมืองดี มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่หวนกลับมา กระทำผิดซ้ำอีกรายการ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ทัศนีย์ ไชยแสนสารนิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Administrative Case relating to Environment) ซึ่งเป็นคดีมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีปกครองอื่น เนื่องจากความเสียหาย (Damage) ที่เกิดขึ้นในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมักสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์อย่างร้ายแรง หากปล่อยให้เนิ่นช้าออกไปอาจยากที่จะแก้ไขให้กลับสู่สภาวะปกติได้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขเยียวยา (Remedy) ที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งการระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สองวิธี คือ (1) การฟ้องเป็นคดีพิพาทต่อศาลปกครอง (Filing a Lawsuit to the Administrative Courts) และ (2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังคงมีปัญหาบางประการ ทั้งความล่าช้าในการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นกรณีที่ดำเนินการภายหลังจากที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในกฎหมายต่าง ๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้อำนาจศาลปกครองนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้นำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้บังคับเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยนำมาปรับใช้ทั้งในกรณีข้อพิพาททางแพ่ง (Civil Dispute) และข้อพิพาททางอาญา (Criminal Dispute) แต่กลับไม่ปรากฏว่ามีการนำมาปรับใช้ในข้อพิพาททางปกครอง หากพิจารณากฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวมีการวางหลักเกณฑ์โดยกำหนดให้นำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้ในกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม (Mediation of Environmental Dispute) ดังกล่าว มีกระบวนการที่กระชับและสั้น สามารถระงับข้อพิพาทลงได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้เขียนเห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยแก้ไขเพิ่มเติม (Amendment) กำหนดให้อำนาจศาลปกครองดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางปกครองโดยระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ และเห็นควรให้ยกร่างระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... โดยกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว อาจส่งผลให้การดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องและเป็นไปตามนิติวิธีทางกฎหมายปกครอง (Juristic Method of Administrative Law) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยอาจส่งผลให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย (Aggrieved or Injured Person) ได้รับการแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูโดยเร็ว ทั้งยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่กรณี และลดจำนวนคดีพิพาทที่ขึ้นสู่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังทำให้กระบวนการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองสามารถดำเนินการได้โดยมีประสิทธิภาพ (Effective) และบรรลุผล (Achievement) มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Right to Access to Justice) โดยเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการยุติข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยวิธีแห่งความสมานฉันท์ (Reconciliation) และสันติวิธี (Peaceful Way) ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายรายการ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการแพทย์ ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างไทยกับญี่ปุ่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เศรษฐภัทร์ กรีกุลสารนิพนธ์นี้จะมุ่งเน้นในการศึกษาแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการแพทย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากการเข้ารับบริการทางการแพทย์ของผู้ที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแพทย์จะให้การดูแลรักษาอย่างดีที่สุด และในการเข้ารับการรักษาความเจ็บป่วยนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก และด้วยความคาดหวังที่สูงนี้ เมื่อเกิดกรณีที่แพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายได้อย่างที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์คาดหวังไว้ ประกอบกับปัญหาในการสื่อสารของแพทย์และผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่อาจไม่เข้าใจกัน เนื่องจากการรักษาอาจมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นเหตุทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์รายการ ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ณัฏฐิยา จยะสกุลการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร หนังสือ บทความ แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกฎหมายหมายต่างประเทศ พบว่ากฎหมายเครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกี่ยวกับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายจะได้รับความความคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิเครื่องหมายภายในดินแดนของตนเท่านั้น ไม่สามารถใช้บังคับนอกดินแดนของตนได้ แม้มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้เป็นเจ้าของเกิดขึ้นก็ตาม หากต้องการได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายในต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายนั้นต้องดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นรายการ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการลงโทษทางวินัยทหารที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) นันทพล กาญจนวัฒน์ศึกษากระบวนการลงโทษทางด้านวินัยทหาร และบทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ตลอดจนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่กฎหมายลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นจะขัดหรือแย้งไม่ได้ ที่เป็นปัญหาก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ให้อำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาที่เป็นฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองออกคำสั่งและดำเนินการลงโทษแก่ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำ ความผิดทางวินัยในโทษ กัก ขังหรือจำขัง ซึ่งทหารในที่นี้ก็เป็นบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมุ่งคุ้มครอง ฉะนั้นการลงโทษทางวินัยที่กล่าวมาจึงเป็นการกระทำตามกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 จึงเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560รายการ ความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนกร สุกหอมสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ศึกษาในปัญหาการกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ปัญหาข้อจำกัดตามกฎหมายไทยในการลงโทษการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ และปัญหามาตรการทางกฎหมายที่ใช้ต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ โดยเริ่มจากศึกษาตั้งแต่แนวคิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและการลงโทษอาญา ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล การคุ้มครองสิทธิในชีวิตร่างกาย และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์กำหนดความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ รวมถึงบทบัญญัติที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นของการกระทำดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยให้มีความเหมาะสม ชัดเจน และเป็นธรรม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการส่งข้อความพิมพ์ข้อความในสื่อออนไลน์ล้วนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รัฐจึงต้องเข้ามาออกบทบัญญัติวางกรอบเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในสื่อออนไลน์เพื่อให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการกระทำนอกเหนือกรอบสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และยังเป็น การคุ้มครองสิทธิผู้ที่จะถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิของตนอันเป็นการคุ้มครองหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและหลักสิทธิในสุขภาพอนามัยชีวิตร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งกรณีทั่วไปและกรณีที่ทำให้เกิดผลเป็นอันตรายต่อกายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นทั้งสิทธิในสุขภาพอนามัย ร่างกาย ชีวิต ทำให้ปัจจุบันการลงโทษบุคคลที่กระทำในลักษณะดังกล่าวต้องพยายามปรับใช้กับบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาที่มีองค์ประกอบความผิดไม่ครอบคลุมกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เหมาะสมในการปรับข้อเท็จจริงกับบทบัญญัติ และส่งผลต่อไปทำให้ไม่มีมาตรการลงโทษอาญาต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติกำหนดคำนิยามในประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติคำนิยามคำว่า “กลั่นแกล้งรังแก” ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (19) และคำว่า “สื่อออนไลน์” ไว้ในมาตรา 1 (20) และบัญญัติความรับผิดทางอาญาฐานกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นฐานความผิดใหม่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 10 ความผิดต่อชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295/1 โดยมีการกำหนดโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพื่อให้บุคคลสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นรายการ ความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) สุพรรษา ภู่แย้มการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายอันเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ที่ปรากฎในประเทศออสเตรเลีย มลรัฐควีนส์แลนด์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับประเทศไทย อันสามารถทำการวิเคราะห์ได้ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาตามกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบการกำหนดความรับผิดของผู้ผลิตและการกำหนดส่วนควบและ เครื่องอุปกรณ์ซึ่งใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ในประเทศออสเตรเลีย 3. แนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ โดยสรุปได้ว่ากฎหมายอันเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ที่บังคับใช้ในประเทศไทยปัจจุบันนั้นมีการกำหนดถึงการลงโทษเพียงแค่ผู้ครอบครองหรือผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ได้รับการดัดแปลงสภาพเท่านั้น ซึ่งยังไม่เป็นที่เพียงพอในการแก้ไขการกระทำความผิด ดังนั้นจึงเห็นควรให้ มีการกำหนดเพิ่มเติมถึงหลักความรับผิดในทางอาญาให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์โดยเพิ่มเติมในส่วนของบทลงโทษตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และทำการพิจารณาถึงความถูกต้องของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ได้รับการผลิตนั้นตามกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถทั้งนี้โดยทำการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อใช้กับกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมเพื่อการพิจารณาชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ที่หากทำการผลิตแล้วจะก่อให้เกิดเป็นการกระทำอันเป็นความผิดรายการ ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) สิทธิภัค บุญกัณฑ์ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาในเรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย โดยศึกษาคำนิยามที่ชัดเจนของคำว่าขยะมูลฝอยในกฎหมายต่างๆของประเทศไทย และควรจะมีข้อกำหนดความรับผิดทางอาญาอย่างไร จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยได้ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย มีกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยเจตนา มีบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดไว้โดยชัดเจน ปรากฏว่าในเรื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำความผิดโดยประมาทเอาไว้ อาจเป็นปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ และบทลงโทษในกฎหมายของประเทศไทยที่กระทำโดยเจตนา ไม่รุนแรง ไม่พอสมควรแก่เหตุ เป็นเพียงแค่ลหุโทษเท่านั้น ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และกลับมากระทำความผิดอีก จากปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เขียนขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยของประเทศไทย โดยนำความรับผิดทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทมาบังคับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย เห็นได้จากประเทศเยอรมนีได้บัญญัติกฎหมายอาญาเกี่ยวการกระทำความผิด เรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยประมาท ซึ่งมีบทกำหนดโทษชัดเจนว่าผู้กระทำผิดต้องรับโทษอย่างไร กฎหมายของประเทศเยอรมนีนั้นถือว่าการกระทำความผิดที่กระทำโดยประมาทจะต้องได้รับโทษด้วย เพราะผู้กระทำความผิดย่อมยอมรับในผลที่ตนได้กระทำลง จึงต้องมีบทลงโทษแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง และเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดโดยเจตนาให้มีความรุนแรงมากอย่างขึ้น ให้มีความเหมาะสมกับการกระทำความผิด เช่นเดียวกับบทลงโทษของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ หากประเทศไทยนำเอาความรับผิดทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดโดยประมาท และเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเจตนามาปรับใช้กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเรื่องของการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรายการ ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับโปรแกรมเรียกค่าไถ่ในกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารถวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเพื่อศึกษาความหมาย รูปแบบ และผลกระทบในการกระทำโปรแกรมเรียกค่าไถ่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ โดยทำการศึกษาจากกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกระทำในลักษณะละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการใช้โปรแกรมเรียกค่าไถ่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ แม้ว่ากฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเรียกค่าไถ่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพ และส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกสภาพจิตใจของผู้เสียหาย อีกทั้งยังสร้างความเสียหายต่อองค์กรของรัฐและความมั่นคงของประเทศซึ่งอาจนำไปสู่ภยันตรายร้ายแรงและอาชญากรรมอื่นๆ ตามมา ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายในการนำมาปรับใช้กับการกระทำโปรแกรมเรียกค่าไถ่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ จึงเป็นการสมควรที่รัฐจะเห็นความสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ เพราะบางกรณีการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายนั้นๆ กำหนด ทำให้ไม่สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ ในการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรบัญญัติให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมเรียกค่าไถ่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์มีความรับผิดทางอาญาโดยตรง โดยการเพิ่มฐานความผิดใหม่ไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อีกทั้งควรกำหนดเพิ่มโทษให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย ไม่ควรกำหนดโทษความผิดฐานโปรแกรมเรียกค่าไถ่เป็นเพียงความผิดลหุโทษ และหามาตรการทางกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับอาชญากรรมในยุคปัจจุบันให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นรายการ ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) จิตมาส อินทรสิงห์เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการและภาพรวมของกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้แก่ เสรีภาพในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว แนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามสถานการณ์และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นความท้าทายต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ สถานการณ์การท่องเที่ยวของโลกและการท่องเที่ยวไทย ดังนี้การศึกษาถึงความสำคัญ องค์ประกอบ และหลักการของการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนมาตรฐานตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว และแนวคิดในการควบคุมการประกอบธุรกิจนำเที่ยว เช่น แนวความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญาธุรกิจนำเที่ยว ตามหลักความสุจริต หลักความไว้เนื้อเชื่อใจ และหลักความยุติธรรม แนวความคิดในการคุ้มครองผู้บริโภคที่รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อที่จะให้ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มีความสำคัญที่รัฐจะต้องเข้ามาควบคุมโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวด้วยกันและระหว่างผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวกับนักท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นผู้บริโภค นโยบายและบทบาทภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจนำเที่ยว การส่งเสริมตลาดท่องเที่ยว การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยว การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ศึกษาทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว เช่น ทฤษฎีกฎหมายในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ทฤษฎีหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา ศึกษาภาพรวมของกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี(หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) อภิชัย ใบประเสริฐการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนนทบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนนทบุรี