LAW-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ปัญหากฎหมายกรณีตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565: ศึกษากรณีมาตรา 5 และมาตรา 22(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ชัญญณัท แก้วท่าไม้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายกรณีเหตุสุดวิสัยของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามมาตรา 22 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจับและควบคุมตัวบุคคล (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจับและควบคุมตัวบุคคลของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกรณีเหตุสุดวิสัยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจับและควบคุมตัวบุคคล (4) แนวทางในการแก้ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกรณีเหตุสุดวิสัยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจับและควบคุมตัวบุคคลรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กรวุฒิ มิตรใจดีสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาลของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล และ (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ผลการศึกษาพบปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการออกคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานตำรวจศาลในการออกคำสั่งใด ๆ เพื่อระงับเหตุที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าหรือเหตุที่เกิดขึ้นภายในบริเวณศาลไว้อย่างชัดเจน จึงส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านของการรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณศาล (2) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจในการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลไว้อย่างชัดเจน อาจส่งผลให้การจับกุมการกระทำความผิดดังกล่าวอาจเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย (3) ปัญหามาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล พบว่า การกระทำความผิดในบริเวณศาลส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงความผิดลหุโทษ หรือเป็นความผิดที่มีความร้ายแรงไม่ถึงกับคดีอาญาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงของผู้พิพากษาในการพิจารณาและกำหนดบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิด ดังนั้นเจ้าพนักงานตำรวจศาล จึงไม่สามารถใช้ดุลพินิจก้าวล่วงอำนาจโดยตรงของศาลได้ จึงส่งผลให้การลงโทษผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวจะต้องนำกฎหมายอาญา ระเบียบ และข้อกำหนดอื่นของศาล มาบังคับใช้โดยอนุโลม แก่ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ (1) อำนาจแก่เจ้าพนักงานตำรวจศาล ในการออกคำสั่งแก่บุคคลภายในบริเวณศาลเป็นการเฉพาะ (2) อำนาจการจับกุมผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไว้เป็นการเฉพาะ และ (3) มาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจศาลให้เหมาะสมในแต่ละกรณีรายการ มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) สุสิริวงษ์ ยอดวงษ์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นและเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยก็ยังคงประสบปัญหาในเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางสังคมที่สำคัญก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือขับขี่ในขณะเมาสุรา เนื่องจากผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางไม่เคารพกฎหมายจราจร หรือ ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีสาเหตุมาจากความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้ หรือ บทลงโทษของผู้กระทำความผิด ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พบว่าภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับบทลงโทษ และลักษณะของการกระทำผิดอันเกี่ยวข้องกับการจราจรทางบก ซึ่งรายละเอียดของความผิดจะถูกกำหนดโดยกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เช่น กฎกระทรวง หรือระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่ เพื่อแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ หรือการกระทำที่มีผู้กระทำความผิดแล้วส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในสังคม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าตัวบทกฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีความสามารถในการข่มขู่ หรือยับยั้งให้คนไม่กล้า หรือเกรงกลัวในการกระทำความผิดได้ ส่งผลให้ยังเกิดการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางอยู่เสมอ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนอุบัติเหตุจากการจราจรในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี (2) ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษผู้กระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะความผิดที่มีโทษปรับทางอาญา พบว่า ภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด ได้แก่ การตัดแต้มใบขับขี่ การชำระค่าปรับ และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต อย่างไรก็ตามบทลงโทษที่มีโทษปรับทางอาญา และการตัดแต้มนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งผลให้กับผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางเกิดความเกรงกลัวในผลของบทลงโทษทางกฎหมาย (3) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจรในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กับผู้กระทำความผิด พบว่าพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็นกฎหมายหลักในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจจราจร อย่างไรก็ตาม การที่พระราชบัญญัติจราจรให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับอย่างกว้าง ส่งผลให้ความเคารพกฎหมายของคนในสังคมลดลง และเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานจราจรใช้โทษและมาตรการบังคับเป็นข้อต่อรอง เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ ราชอาณาจักรสวีเดน แล้ว ทั้งสามประเทศต่างให้ความสำคัญกับลักษณะของการกระทำความผิด และบทลงโทษเพื่อป้องกันการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย พร้อมทั้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจร มีอำนาจในการยึดใบอนุญาตขับขี่ และเขียนใบสั่งเมื่อพบเห็นการกระทำความผิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นในกรณีของการกระทำความผิดเมาแล้วขับนั้น ไม่เพียงแต่ห้ามเฉพาะผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ยังกำหนดความผิดไปถึงผู้ที่ให้ยืมรถ หรือผู้ที่จัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้ขับขี่ด้วย สหราชอาณาจักรได้กำหนดบทลงโทษในการตัดแต้ม และ ค่าปรับสำหรับผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะความผิดกรณีขับรถยนต์เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด สำหรับราชอาณาจักรสวีเดนได้ดำเนินโครงการ Vision Zero โดยได้ดำเนินการออกแบบถนนเพื่อความปลอดภัยของคน ทั้งคนขับและคนที่เดินถนน มากกว่าความสะดวกสบายในการขับขี่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ (1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของการกระทำความผิดให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโทษปรับในฐานความผิดที่กระทบสิทธิของประชาชนโดยรวม ให้สูงมากยิ่งขึ้นจนเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด (3) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานจราจรเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อพบการกระทำความผิดสามารถออกหมายเรียก หมายจับ และติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนความ เพื่อให้การติดตามและจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ มีความรวดเร็วรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ชาคริต เอี่ยมเอกสกุลณีสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชนของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และของประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน พบปัญหาคือ (1) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีหรือครอบครองปืนช็อตไฟฟ้าสำหรับประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากรัฐไม่ออกข้อกำหนดเปิดช่องให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้าถึงอาวุธปืนช็อตไฟฟ้าได้ ทำให้ตัวเลือกในการป้องกันตัวจำกัดอยู่แต่ในอาวุธประเภทร้ายแรง เช่น อาวุธปืนโดยทั่วไป (2) ปัญหากรณีตลับลูกดอกไฟฟ้าและลูกดอกไฟฟ้าที่ใช้กับปืนช็อตไฟฟ้า เมื่อปืนช็อตไฟฟ้าถูกกฎหมายกำหนดให้ถือว่า อาวุธปืนช็อตไฟฟ้าเป็นอาวุธปืนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และเป็นยุทธภัณฑ์ตามประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (พ.ศ. 2564) ข้อ 2 (1) (ก) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กลับยังไม่มีกฎหมายควบคุมตลับลูกดอกไฟฟ้าหรือลูกดอกไฟฟ้าอย่างเช่นเครื่องกระสุนปืนหรือกระสุนปืนโดยทั่วไป (3) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับอาวุธปืน เนื่องจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ยังไม่ครอบคลุมในเรื่องการทำแบบทดสอบก่อนได้รับใบอนุญาตเหมือนใบขับขี่ และได้รับรองการตรวจจากแพทย์โดยเฉพาะการรับรองทางด้านจิตเวช ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าวโดย (1) แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาวุธปืนช็อตไฟฟ้าได้ (2) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 (2) “เครื่องกระสุนปืน” แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เพื่อให้ตลับลูกดอกไฟฟ้าและลูกดอกไฟฟ้าถูกควบคุมเช่นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย และ (3) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 เพื่อกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ขออนุญาตให้มีหรือครอบครองอาวุธปืน คือ กำหนดให้มีการทำแบบทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และการรับรองเป็นทางการจากแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทย ในการป้องกันตัว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) จิรายุ สุคันโธสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัวของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว ผลการศึกษาพบปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองสเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า การที่กฎหมายกำหนดให้สารแคปไซซินซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในสเปรย์พริกไทยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เป็นสารควบคุม ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย หากผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทั้ง ๆ ที่สเปรย์พริกไทยเป็นอุปกรณ์สำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัวได้ดีที่สุด จึงทำให้ประชาชนในสังคมไม่สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการป้องกันชีวิตหรือทรัพย์สินของตนเองได้ตามกฎหมาย (2) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า เมื่อกฎหมายไม่ได้อนุญาตให้บุคคลใดสามารถมีสเปรย์พริกไทยไว้ในความครอบครองได้ บุคคลนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสเปรย์พริกไทยมาใช้ได้เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นการนำมาใช้ในการป้องกันตัวก็ตาม เนื่องจากว่าในสเปรย์พริกไทยมีสารแคปไซซินซึ่งเป็นสารเคมีที่มีเหตุผลในการห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อขัดขวางระบบการทำงานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อการป้องกันตัวหรือทำร้ายผู้อื่น ซึ่งสารดังกล่างเมื่อมีการสัมผัสจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณที่สัมผัส แสบจมูก แสบตา ไอหรือจาม ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองภายในไม่กี่นาที และไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต กฎหมายจึงไม่ควรกำหนดผู้ที่มีสเปรย์พริกไทยไว้ในครอบครองเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย หากการใช้นั้นมีวัตถุประสงค์เพียงแค่การป้องกันตัว (3) ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษในการครอบครองและการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว พบว่า ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามในกรณีที่ห้ามมีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยอัตราโทษที่นำมาบังคับกับผู้กระทำความผิดนั้นเป็นอัตราโทษที่สูงเกินไป ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งคดีสำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัว และไม่ได้มีจุดประสงค์ในการนำไปทำร้ายผู้อื่น ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะมีสเปรย์พริกไทยไว้ในความครอบครองเพราะเกรงกลัวต่อบทลงโทษทางกฎหมาย หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากภยันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กำหนดให้ (1) บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดสามารถซื้อเครื่องพ่นป้องกันตัว (สเปรย์พริกไทย) ไว้ในความครอบครองได้ โดยจะมี การกำหนดจำนวนหน่วยการครอบครอง และจำกัดปริมาณน้ำหนักสุทธิของเครื่องพ่นป้องกันตัว (2) กำหนดให้บุคคลที่มีสเปรย์พริกไทยไว้ในครอบครองสามารถใช้สเปรย์พริกไทยได้เฉพาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น และกำหนดให้สเปรย์พริกไทยต้องมีฉลากระบุคำเตือน คำแนะนำการใช้ การปฐมพยาบาล การจัดเก็บ และหมายเลขโทรศัพท์โทรฟรีไว้ติดต่อในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือ (3) กำหนดให้มีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติกฎหมายในการครอบครองหรือการใช้สเปรย์พริกไทยในการป้องกันตัว โดยเสนอให้มีการแก้ไขลดอัตราโทษให้เหมาะสมกับแต่ละกรณีรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) เกียรติศักดิ์ ใยชิดสารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาลของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยตัวโดยศาลหลบหนีหมายจับพบว่า การที่เจ้าพนักงานตำรวจศาลจะจับกุมผู้ที่หลบหนีหมายจับที่ปล่อยตัวโดยศาลได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงทีเท่านั้น จึงไม่สามารถดำเนินการติดตามจับกุมผู้ที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวได้อย่างทันท่วงที ส่งผลทำให้มาตรฐานในการรักษาความยุติธรรมของศาลเกิดปัญหาในภาพรวม ไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมารับการลงโทษ และบังคับตามผลของคำพิพากษาได้ (2) ปัญหาการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดในบริเวณศาลแล้วหลบหนีออกนอกบริเวณศาลพบว่า อำนาจการจับกุมผู้กระทำความผิดในบริเวณศาลของเจ้าพนักงานตำรวจศาลสามารถจับกุมได้เพียงในบริเวณศาลเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการหลบหนีต่อเนื่องจากในบริเวณศาลไปนอกบริเวณศาล ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามกฎหมาย และไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม ป้องกันปราบปรามและการรักษาความสงบเรียบร้อยการกระทำความผิดในบริเวณศาลได้ (3) ปัญหาการดูแลและควบคุมผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานตำรวจศาลพบว่า ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการควบคุมตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขังเอาไว้ แม้ว่าตามมาตรา 5 จะบัญญัติให้อำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินและป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในบริเวณศาลก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่มีความชัดเจนไม่ครอบคลุมส่งผลต่อการปฏิบัติ ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้ต้องขังหลบหนีในบริเวณศาล ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ (1) เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลแล้วหนีหรือจะหลบหนี (2) กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการไล่ติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 5 (1) (2) ที่กระทำความผิดในบริเวณศาลต่อเนื่องนอกบริเวณศาล (3) กำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีอำนาจควบคุมดูแลผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขัง ในบริเวณศาลรวมไปถึงการควบคุมและขนย้ายตัวบุคคลดังกล่าวไปดำเนินคดีในศาลอื่นรายการ ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง : กรณีศึกษาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากคำสั่งกักตัวคนต่างด้าว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อมรพันธุ์ นิติธีรานนท์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากคำสั่งกักตัวคนต่างด้าวของต่างประเทศเปรียบเทียบกับราชอาณาจักรไทย และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมเกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อันเป็นฐานที่มาของการออกคำสั่งกักตัวคนต่างด้าวบังคับใช้มาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติของการกักตัวในเรื่องระยะเวลา สถานที่ และทางเลือกอื่นแทนการกักตัว ที่ยังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมเพียงพอ และอาจขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ แบ่งเป็น (1) ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการกักตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พบว่า กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจกักตัวโดยไม่มีกำหนดเวลา และมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2542 วินิจฉัยรับรองไว้ แต่หมายเหตุท้ายคำพิพากษาดังกล่าว มีความเห็นว่ากำลังจะแก้ไขกฎหมายนี้แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการแก้ไขเรื่องระยะเวลา อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าจะกักตัวได้ตามอำเภอใจ ตามที่ศาลอาญากรุงเทพใต้วินิจฉัยไว้ในคำสั่งที่ คข4/2566 อันอาจนำมาสู่การขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบ แต่หากที่มาของการคุมขังมาจากคำสั่งทางปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจตรวจสอบและต้องไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งมีระยะเวลาพิจารณาพอสมควรเช่นคดีปกติทั่วไป (2) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดสถานที่ที่เหมาะสมในการกักตัวคนต่างด้าว พบว่ามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2564 วินิจฉัยว่าการกักตัวที่ห้องขังสถานีตำรวจไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสม แต่ตามคำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ 89/2562 กำหนดว่า หากตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ใดไม่มีห้องกัก ให้นำไปฝากกักตัวที่สถานีตำรวจ และยังไม่มีกฎหมายให้ใช้ทางเลือกอื่นแทนการกักตัว คงมีเพียงคนประจำพาหนะเรือที่ใช้สิทธิประกัน โดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ได้ และ (3) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้มาตรการทางเลือกแทนการกักตัวคนต่างด้าว พบว่าพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีมาตรการทางเลือกแทนการกักตัวเพียงวิธีเดียวคือการทำสัญญาประกัน ซึ่งเกิดขึ้นหลังมีคำสั่งให้กักตัวแล้ว ส่วนการให้ไปพักอาศัย ณ ที่อื่น ไม่เคยนำมาตรการนี้มาใช้นอกจากไปฝากกักตัวที่สถานีตำรวจ และบางกรณีคนต่างด้าวได้รับการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญาแล้ว แต่ยังถูกนำไปกักตัวอีกอันเป็นการจำกัดเสรีภาพที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศแคนาดา ราชอาณาจักรเบลเยียม และสหพันธรัฐมาเลเซียแล้ว พบว่าทั้งสามประเทศมีมาตรการทางเลือกแทนการกักตัวที่หลากหลาย เช่น การทบทวนคำสั่งกักตัวทุกระยะจนกว่าจะปล่อยตัว การให้ไปพักอาศัยกับชุมชนโดยกำหนดให้มารายงานตัว การประกันโดยเงินทุนจากรัฐและไม่ต้องวางหลักประกัน การให้พักอาศัยที่ศูนย์พักอาศัยโดยไม่ปิดล็อกประตูแต่กำหนดเวลาเข้าออก การบริหารจัดการรายกรณี การยกเว้นกักตัวเด็กแต่ให้ไปพักที่บ้านพักชั่วคราว ฯลฯ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสาม ให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอกักตัวทุกระยะจนกว่าจะปล่อยตัว แต่รวมระยะเวลากักตัวต้องไม่เกิน 90 วัน และกำหนดบทนิยามเรื่องสถานที่ที่เหมาะสมในการกักตัวไว้ในมาตรา 4 ซึ่งไม่ใช่ห้องขังของสถานีตำรวจหรือสถานที่อันมีลักษณะใกล้เคียงกัน นอกจากนี้เห็นควรเพิ่มหมวด 6/1 มาตรการทางเลือกแทนการกักตัว โดยนำหลักการที่กำหนดไว้ใน แนวปฏิบัติสำหรับกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวผู้ขอลี้ภัยและทางเลือกอื่น ๆ แทนการควบคุมตัว และโมเดลการประเมินและการจัดหาสถานที่พักอาศัยในชุมชน หรือ CAP model มากำหนดไว้ในหมวดนี้ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดมาตรการ และแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทำนองเดียวกับแนวทางของสหพันธรัฐมาเลเซีย ให้คณะกรรมการร่วมมีอำนาจตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลมาตรการทางเลือกแทนการกักตัว พร้อมเสนอแนะต่อรัฐสภา และวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับมาตรการ รวมถึงกำหนดมาตรการเพิ่มเติมรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรม ที่อยู่ในรูปแบบของ NON-FUNGIBLE TOKENS(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ณัฐนิชา ฝอยทองสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการให้คุ้มครองงานศิลปกรรมที่อยู่รูปแบบของ Non- Fungible Tokens (NFTs) การนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFTs เป็นวิธีการในการสร้างสรรค์ การนำเสนอ การจำหน่ายและการเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในรูปแบบใหม่โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะและบล็อกเชน NFTs ได้นำเสนอแนวคิดของการทำให้สินทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกันและไม่สามารถทดแทนกันได้เป็นโทเคนดิจิทัล (เรียกว่า “Tokenization”) ปัจจุบันงานอันมีลิขสิทธิ์จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวถูกนำมาสร้างมาเป็น NFTs (ในฐานะที่เป็น “สินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs”) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังไม่มีการกล่าวถึงงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศไทยยังไม่มีคดีที่มีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ขึ้นสู่ศาล งานวิจัยฉบับนี้มุ่งจะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมาย 4 ประเด็น ได้แก่ 1) NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ 2) งานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยอย่างไร 3) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs และ 4) การซื้อขาย NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมบนแพลตฟอร์ม NFT Marketplaces ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ขอบเขตการศึกษาของงานวิจัยฉบับนี้จำกัดเฉพาะการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมและงานภาพถ่ายที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs โดยศึกษาจากความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอังกฤษและกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาจากตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการและคดีที่เกี่ยวข้องรวมทั้งข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าการสัมมนาทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) NFTs เป็นโทเคนดิจิทัลซึ่งถือเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น NFTs โดยตัวเองจึงไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์แต่อย่างใด NFTs อาจมีความสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs ในแง่ที่ว่า NFTs เป็นวิธีการหรือรูปแบบการแสดงออกซึ่งความคิดหรือเป็นวัตถุสื่อกลางที่ใช้ในการบันทึกงานงานศิลปกรรมอันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ถูกบันทึกหรือบรรจุไว้ใน NFTs เหล่านั้นเท่านั้น 2) งานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs สามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากเข้าเงื่อนไขการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนด 3) การละเมิดลิขสิทธิ์ที่อาจเกิดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs ได้แก่ (1) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่มีการนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFT (2) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการนำงานศิลปกรรมมาสร้างเป็น NFTs และ (3) การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs เนื่องจากการละเมิดเงื่อนไขการใช้งานของ NFTs นอกจากนี้ ประเทศไทยและประเทศอังกฤษยังไม่มีการฟ้องร้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs แม้มีการฟ้องร้องคดีในลักษณะดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่คดีทั้งหมดได้ยุติลงด้วยการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบของ NFTs โดยตรงและ 4) การซื้อขาย NFTs ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นงานศิลปกรรมบน NFT Marketplaces ในกรณีที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อาจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงได้แก่ (1) กรณีการซื้อขาย NFTs ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันโดยชัดเจนให้มีการโอนลิขสิทธิ์ในงานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTs ด้วย และ (2) กรณีการซื้อขาย NFTs พร้อมใบอนุญาตให้ใช้งาน NFTs ซึ่งมีลักษณะเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานจิตรกรรมหรืองานภาพถ่ายที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ NFTsรายการ ปัญหากฏหมายและมาตรการทางกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ศึกษาเฉพาะกรณีนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพนายหน้าและตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) วัชราภรณ์ อิสริยะวัฒน์วิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฏีทางกฏหมายว่าด้วยการฟอกเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการฟอกเงินผ่านนิติบุคคลที่กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนอสังหาริมทรัพย์หรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของคณะทำงานพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) จะถูกกนำมาพิจารณาและวิเคราะห์โดยวิธีการของกฏหมายเปรียบเทียบกับกฏหมายฟอกเงินของบางประเทศ ทั้งในระบบกฏหมาย Civil Law และระบบกฏหมาย common Law เพื่อที่จะหาทางแก้ไขที่เหมาะสมสำหรับการฟอกเงินแบบแอบแฝงเช่นกันรายการ มาตรฐานกฎหมายด้านสาธารณสุขในการประกอบธุรกิจสปาในการป้องกัน และควบคุม COVID-19(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อิทธิกุล เชี่ยวชาญธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวรวมถึงระบบการสาธารณสุขในการประกอบธุรกิจสปาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการบางรายประสบปัญหาขาดทุนต้องปิดกิจการไป ส่วนรายที่ยังดำเนินกิจการต่อไปก็เกิดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ทั้งนี้แม้ว่าประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 เพื่อใช้ควบคุมผู้ประกอบการธุรกิจสปาในการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องและเป็นธรรม แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่ กฎหมายและพระราชบัญญัติที่มีอยู่จึงไม่อาจใช้บังคับได้ทันกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงเห็นควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของการประกอบธุรกิจ ว่าผู้ประกอบการควรมีคุณสมบัติมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไร และควรมีการกำหนดมาตรฐานความสมัครใจที่ให้ผู้ประกอบการสามารถกระทำได้ในสภาวะการระบาดของโรค COVID-19 อีกทั้งจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานบังคับโดยชัดแจ้งต่อผู้ประกอบธุรกิจสปาซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามในสภาวะการระบาดดังกล่าว จะต้องได้รับบทลงโทษหรือการถอนใบอนุญาติในการประกอบธุรกิจสปา อีกทั้งหากผู้ที่มาใช้บริการได้รับความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากการใช้บริการเนื่องจากการรับเชื้อ COVID-19 จะต้องได้รับการเยียวยาความเสียหายเนื่องจากได้รับบริการของสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพนั้นอีกด้วยรายการ การชะลอฟ้องในคดีอาญา ศึกษากรณีความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปิยนาถ แก้วสีขาวสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญาเพื่อนำมาปรับใช้กับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากปัญหาเรื่องการขับรถขณะเมาสุราซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และยิ่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาล 7 วันอันตรายที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา ส่งผลให้คดีขับรถขณะเมาสุราขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า มาตรการชะลอฟ้อง เป็นมาตรการที่ให้อำนาจพนักงานอัยการในการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องคดีอาญา โดยพนักงานอัยการสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นที่ สามารถช่วยกันกรองคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้อีกชั้นหนึ่ง การนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้กับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราจะช่วยให้ปริมาณคดีมีจำนวนลดน้อยลง จึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยกำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องโดยกำหนดเงื่อนไข โดยก่อนที่จะนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาเห็นชอบก่อน และกำหนดให้ผู้ต้องหาที่จะชะลอฟ้องต้องมีทนายความอยู่ด้วยในการรับสารภาพและให้ความยินยอม และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อให้อำนาจเจ้าพนักงานในการนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้บังคับกับการกระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุรารายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กฤตพัส ปัทมาลัยสารนิพนธ์เรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และ (4) แนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จากการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการขอสินเชื่อเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู พบว่าพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51/1 ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ละแห่งจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน ส่งผลให้สมาชิกในแต่ละสหกรณ์ชำระดอกเบี้ยไม่เท่ากัน จึงมีความเหลื่อมล้ำกันในระหว่างสหกรณ์ในเรื่องของการกำหนดเงินกู้ยืม (2) ปัญหาเกี่ยวกับการขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู พบว่าพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 46 ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขยายขอบเขตการให้เงินกู้และเพิ่มเพดานเงินกู้สูงขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้กับสมาชิกสหกรณ์ แต่สมาชิกสหกรณ์กลับไม่มีรายได้เพียงพอจากช่องทางการประกอบอาชีพอื่นเพิ่มขึ้น จึงเป็นการสร้างภาระหนี้สินภายในครอบครัว (3) ปัญหาเกี่ยวกับการพักชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู พบว่า พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 50 และมาตรา 51/1 ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกมาตรการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพักชำระหนี้ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ให้งดการส่งเงินต้น แต่ส่งเฉพาะดอกเบี้ย เมื่อไม่สามารถส่งชำระเงินต้นและต้องพักการชำระหนี้เป็นระยะเวลายาวนาน ส่งผลให้หนี้สินนั้นพอกพูนเกิดภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้นกับสมาชิกสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ขาดวินัยการออมเงิน ดังนั้น จึงเห็นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เกี่ยวกับหนี้ของข้าราชการครูในสหกรณ์ โดยออกเป็นกฎหมายลำดับรอง เพื่อแก้ไขปัญญาหนี้ของข้าราชการครูที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ประกอบด้วย เรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางใช้ในทุกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู กำหนดหลักเกณฑ์การขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อ และกำหนดหลักเกณฑ์การพักชำระหนี้ของสมาชิกในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูในสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และไม่มุ่งหวังผลกำไรอย่างแท้จริงรายการ ความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนกร สุกหอมสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ศึกษาในปัญหาการกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ปัญหาข้อจำกัดตามกฎหมายไทยในการลงโทษการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ และปัญหามาตรการทางกฎหมายที่ใช้ต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ โดยเริ่มจากศึกษาตั้งแต่แนวคิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและการลงโทษอาญา ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล การคุ้มครองสิทธิในชีวิตร่างกาย และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์กำหนดความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ รวมถึงบทบัญญัติที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นของการกระทำดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยให้มีความเหมาะสม ชัดเจน และเป็นธรรม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการส่งข้อความพิมพ์ข้อความในสื่อออนไลน์ล้วนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รัฐจึงต้องเข้ามาออกบทบัญญัติวางกรอบเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในสื่อออนไลน์เพื่อให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการกระทำนอกเหนือกรอบสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และยังเป็น การคุ้มครองสิทธิผู้ที่จะถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิของตนอันเป็นการคุ้มครองหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและหลักสิทธิในสุขภาพอนามัยชีวิตร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งกรณีทั่วไปและกรณีที่ทำให้เกิดผลเป็นอันตรายต่อกายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นทั้งสิทธิในสุขภาพอนามัย ร่างกาย ชีวิต ทำให้ปัจจุบันการลงโทษบุคคลที่กระทำในลักษณะดังกล่าวต้องพยายามปรับใช้กับบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาที่มีองค์ประกอบความผิดไม่ครอบคลุมกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เหมาะสมในการปรับข้อเท็จจริงกับบทบัญญัติ และส่งผลต่อไปทำให้ไม่มีมาตรการลงโทษอาญาต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติกำหนดคำนิยามในประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติคำนิยามคำว่า “กลั่นแกล้งรังแก” ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (19) และคำว่า “สื่อออนไลน์” ไว้ในมาตรา 1 (20) และบัญญัติความรับผิดทางอาญาฐานกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นฐานความผิดใหม่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 10 ความผิดต่อชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295/1 โดยมีการกำหนดโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพื่อให้บุคคลสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นรายการ ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อธิบดี นิลดำสารนิพนธ์เล่มนี้มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ตลอดจนพิจารณากฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ไอร์แลนด์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย จากการศึกษากฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย พบว่า กฎหมายฉบับนี้ได้นำมาตรการโทษทางอาญามาใช้บังคับกับบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษทางอาญา ไม่หมาะสมกับลักษณะทั่วไปของผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมทั้งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในการให้อำนาจแก่นายทะเบียนในการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต และหลังจากได้รับใบอนุญาตแล้วก็ไม่มีการกำหนดหน้าที่ในการแจ้งนายทะเบียนเมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ทำให้เกิดอุปสรรคแก่นายทะเบียนในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน ของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย เกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต และนายทะเบียน เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากยิ่งขึ้นรายการ ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จารุมน บุญรักษาสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการกำหนดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง (Transparency of Procurement) ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (Act of Government Procurement and Supply Management B.E. 2560 (2017)) ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีการกำหนดถ้อยคำว่า หลักธรรมาภิบาล ไว้แต่เพียงแห่งเดียว คือ ในส่วนของหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ควรศึกษาปัญหาดังกล่าวเพื่อหาแนวทางและนิติวิธีทางกฎหมายเพื่อให้หลักธรรมาภิบาลมีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยสารนิพนธ์นี้มีการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตามนัยมาตรา 6 และมาตรา 8 เป็นหลักทั่วไปที่เป็นบทบัญญัติซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องแลสอดคล้องหลักธรรมาภิบาล แต่บทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้ไม่ได้บัญญัติชัดเจนเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และมิได้วางหลักเกณฑ์อันเกี่ยวกับจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักความโปร่งใสอย่างเป็นรูปธรรม กรณีนี้จึงอาจเป็นช่องว่างของกฎหมาย (Gap of Law) และอาจถูกนำมาใช้หรือตีความไปในทางที่บิดเบือน โดยไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Spirit of Law) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (Government Procurement and Supply Management) เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 และมาตรา 8 (2) โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ (Rule) และวิธีการดำเนินการทางกฎหมาย (Legal Measure) ซึ่งควรบัญญัติให้มีหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสไว้อย่างชัดเจน โดยอาจกำหนดหลักการในการดำเนินงาน (Principle of Operation) และหลักการพื้นฐาน (Fundamental Principle) ของความโปร่งในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้ครอบคลุมทั้งหลักธรรมาภิบาลและหลักความโปร่งใส ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ (Corruption and Wrongful Conduct) ในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้พระราชบัญญัตินี้เป็นมาตรฐานกลาง (Standard Rule) ที่กำหนดแนวทางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ (Benefit in Developing the Country) และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ (the Supreme Interest of State) ต่อไปรายการ ปัญหาทางกฎหมายของการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย : เน้นศึกษากรณีการให้ความคุ้มครองผู้ให้เช่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุภัค สวัสดิ์ประทานชัยสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายของการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยโดยมุ่งเน้นศึกษากรณีการให้ความคุ้มครองผู้ให้เช่าเป็นสำคัญ เพราะการใช้และการตีความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยในปัจจุบันนั้น มีการตีความที่เน้นให้ความคุ้มครองผู้เช่าในฐานะผู้บริโภคมากกว่าที่จะตีความตามหลักเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้เช่าที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีกฎหมายเฉพาะอีกหลายฉบับที่ให้ความคุ้มครองผู้เช่าไว้เป็นการเฉพาะอีกด้วย ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และรวมถึงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2542 เป็นต้น จากการศึกษากฎหมายหลักและกฎหมายลำดับรองของไทยที่ต่างมุ่งเน้นให้ความคุ้มครองผู้เช่าเป็นสำคัญ ปัญหาการใช้และการตีความกฎหมายที่ไม่มีขอบเขตความชัดเจนแน่นอนจนเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ให้เช่าที่ชอบธรรมตามกฎหมายได้ ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย อีกทั้งยังขัดกับหลักเสรีภาพในการทำสัญญาอีกด้วย จนผู้ให้เช่าไม่ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของกฎหมายอย่างเพียงพอและเกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เมื่อได้ศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศในเรื่องการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น ได้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยไว้เป็นการเฉพาะโดยมีการกำหนดรูปแบบและรายละเอียดของการทำสัญญาไว้ เช่น การให้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้ให้เช่า การกำหนดเงื่อนไขเรื่องค้ำประกันความเสียหาย และรวมถึงการกำหนดค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เช่าละเมิดสิทธิของผู้ให้เช่าอีกด้วย ซึ่งในกฎหมายไทยไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเหมือนกฎหมายของต่างประเทศ จึงทำให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่มากเกินขอบเขตและทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและไม่ได้รับความคุ้มครองตามหลักความเสมอภาคระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว ประเทศไทยจึงควรกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการให้การคุ้มครองตามสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งฝ่ายผู้เช่าและผู้ให้เช่าเหมือนกันกับกฎหมายของต่างประเทศ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความคุ้มครองที่มีลักษณะถ่วงดุลกันไม่ใช่มุ่งให้การคุ้มครองแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่า หลักเกณฑ์เรื่องการค้ำประกันความเสียหาย และรวมถึงหลักเกณฑ์เรื่องการสิ้นสุดของสัญญาด้วยรายการ ปัญหาการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชิน เดชภิรัตนมงคลสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาปัญหาการควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง (Law on Highway) โดยมุ่งหมายค้นคว้าเพื่อค้นหานิติวิธี (Legal Method) ในการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมในควบคุมการจราจร (Traffic Control) และน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ (Pay Load of Car) เนื่องจากการขนส่งมีจำนวนมากขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการบรรทุกสิ่งของในการขนส่งนั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการประกอบการ ทำให้การบรรทุกสินค้าในแต่ละเที่ยวมักมีจำนวนเต็มคันรถ (Full Truck Load) เพื่อให้ถนนมีอายุการใช้งานตามระยะเวลาที่เหมาะสมและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถและใช้ถนนในการสัญจร จึงมีการใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมิให้รถบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (Highways Act B.E. 2535 (1992)) จึงกำหนดให้อำนาจผู้อำนวยการทางหลวง (Highway Director) ประกาศกำหนดเกณฑ์อัตราการบรรทุกน้ำหนักยานพาหนะบนทางหลวง โดยออกประกาศ เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย เดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 61 ประกาศดังกล่าวจึงมีผลเป็นการกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก (Truck Weight Rating) ตามกฎหมาย และหากผู้ใดฝ่าฝืนบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องรับโทษทางอาญา (Criminal Penalty) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อย (Public Order) ในสังคมและการให้บริการสาธารณะของรัฐ (Public Service of State) ในด้านการจราจร ซึ่งรัฐนำงบประมาณจากภาษีของประชาชนมาใช้ดำเนินการ เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและเกิดความคุ้มค่ากับการใช้จ่ายของภาครัฐ (Public Sector) ที่มีปัญหาในการใช้งบประมาณแต่ละปีหลายพันล้านบาทเพื่อซ่อมบำรุงถนนที่เสียหายจากการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา แต่การลงโทษตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 กลับมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน (State Agencies) ที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและความสับสนต่อการใช้บังคับกฎหมายเพื่อแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทางหลวง อย่างไรก็ตาม การที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดแต่เพียงลงโทษหรือระวางโทษทางอาญานั้นยังไม่อาจแก้ไขหรือป้องกันมิให้รถบรรทุกทำการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างเพียงพอหรือเต็มประสิทธิภาพ เพราะการกำหนดบทลงโทษดังกล่าวเป็นเพียงการลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า โดยกรณีนี้จะเป็นการดำเนินการได้แต่เพียงผู้ขับขี่เท่านั้น แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา คือ ผู้ประกอบการขนส่งหรือนายจ้างซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างที่ถือเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มิได้กำหนดให้ต้องรับโทษแต่ประการใด เมื่อผู้ขับขี่ถูกจับกุมแล้ว กลับปรากฏว่าเจ้าของหรือผู้ประกอบการขนส่งหรือนายจ้างเพียงแต่ถูกบังคับให้ชำระค่าปรับตามที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับเท่านั้น ซึ่งต่อมาอาจใช้วิธีการเปลี่ยนตัวผู้ขับขี่และให้ผู้ขับขี่ขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราอีก การกระทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดการกระทำความผิดเช่นเดิมอีกรายการ มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีการฟอกเงินโดยใช้ธุรกิจการพนัน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พาณิภัค เกษรสันติ์สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีการฟอกเงินโดยใช้ธุรกิจการพนัน เพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาป้องกันการฟอกเงินโดยใช้ธุรกิจบ่อนการพนันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป จากการศึกษาวิจัยพบว่า การกำหนดให้การจัดให้มีการเล่นการพนันเป็นความผิดอาญา และมาตรการทางกฎหมายสำหรับการป้องปรามการฟอกเงินโดยใช้ธุรกิจบ่อนการพนันนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพแนวคิดสังคมไทยในปัจจุบัน มาตรฐานสากล FATF รวมถึงกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจการพนันถูกกฎหมายและมีหน้าที่รายงานธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องคำนึงถึงภารกิจกฏหมายอาญาในเรื่องการคุ้มครองความสงบสุขของสังคมเป็นสำคัญ ประกอบกับการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยอาจกล่าวได้ว่า มาตรการทางกฎหมายไม่อาจปราบปรามบ่อนการพนันได้ เกิดปัญหาอาชญากรรมใช้บ่อนเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน จึงขอเสนอแนะว่าควรแก้ไขให้ธุรกิจบ่อนการพนันชอบด้วยกฎหมาย และกำหนดให้ธุรกิจบ่อนการพนันเป็นผู้ประกอบอาชีพอื่นที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไปรายการ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเกมออนไลน์ที่มีระบบกล่องสุ่มตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551(Sripatum University, 2564) สิรวิชญ์ แย้มอาษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการควบคุมเกมออนไลน์ที่มีระบบกล่องสุ่มซึ่งเป็นระบบที่กำหนดให้มีการใช้เงินจริงหรือเงินภายในเกมหรือกำหนดให้ใช้ทักษะการเล่นเพื่อให้ได้มาซึ่งกล่องสุ่มมาสุ่มสิ่งของภายในเกม โดยผู้เล่นจะไม่สามารถทราบได้ว่าจะได้รับสิ่งของใด ซึ่งลักษณะของระบบกล่องสุ่มดังกล่าวนั้น เป็นประเด็นปัญหาเนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเสี่ยงโชคอันถือเป็นการพนันและส่งผลกระทบต่อผู้เล่น โดยเฉพาะผู้เล่นในช่วงวัยเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เล่นเกมมากที่สุดรายการ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ทัศนีย์ ไชยแสนสารนิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Administrative Case relating to Environment) ซึ่งเป็นคดีมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีปกครองอื่น เนื่องจากความเสียหาย (Damage) ที่เกิดขึ้นในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมักสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์อย่างร้ายแรง หากปล่อยให้เนิ่นช้าออกไปอาจยากที่จะแก้ไขให้กลับสู่สภาวะปกติได้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขเยียวยา (Remedy) ที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งการระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สองวิธี คือ (1) การฟ้องเป็นคดีพิพาทต่อศาลปกครอง (Filing a Lawsuit to the Administrative Courts) และ (2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังคงมีปัญหาบางประการ ทั้งความล่าช้าในการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นกรณีที่ดำเนินการภายหลังจากที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในกฎหมายต่าง ๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้อำนาจศาลปกครองนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้นำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้บังคับเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยนำมาปรับใช้ทั้งในกรณีข้อพิพาททางแพ่ง (Civil Dispute) และข้อพิพาททางอาญา (Criminal Dispute) แต่กลับไม่ปรากฏว่ามีการนำมาปรับใช้ในข้อพิพาททางปกครอง หากพิจารณากฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวมีการวางหลักเกณฑ์โดยกำหนดให้นำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้ในกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม (Mediation of Environmental Dispute) ดังกล่าว มีกระบวนการที่กระชับและสั้น สามารถระงับข้อพิพาทลงได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้เขียนเห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยแก้ไขเพิ่มเติม (Amendment) กำหนดให้อำนาจศาลปกครองดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางปกครองโดยระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ และเห็นควรให้ยกร่างระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... โดยกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว อาจส่งผลให้การดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องและเป็นไปตามนิติวิธีทางกฎหมายปกครอง (Juristic Method of Administrative Law) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยอาจส่งผลให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย (Aggrieved or Injured Person) ได้รับการแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูโดยเร็ว ทั้งยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่กรณี และลดจำนวนคดีพิพาทที่ขึ้นสู่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังทำให้กระบวนการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองสามารถดำเนินการได้โดยมีประสิทธิภาพ (Effective) และบรรลุผล (Achievement) มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Right to Access to Justice) โดยเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการยุติข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยวิธีแห่งความสมานฉันท์ (Reconciliation) และสันติวิธี (Peaceful Way) ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย