LAW-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-08. ผลงานนักศึกษา โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 128
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี(หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) อภิชัย ใบประเสริฐการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนนทบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนนทบุรีรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจสักเจาะร่างกาย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) เบญจวรรณ เอกเผ่าพันธุ์การศึกษาพบว่าควรทำการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจสักเจาะร่างกาย โดยบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับศิลปะบนร่างกายที่หมายความรวมถึงการสักเจาะร่างกายขึ้นเป็นการเฉพาะ กำหนดนิยามของคำว่าการสักเจาะร่างกาย รายละเอียดสิ่งที่สถานประกอบการต้องมี รวมถึงหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ชัดเจน ให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายนี้ และให้จัดตั้งสมาพันธ์วิชาชีพขึ้นมากำกับดูแลด้านจรรยาบรรณ มีหน้าที่จัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมการสักเจาะร่างกายขึ้นมาโดยเฉพาะ และร่วมมือกับรัฐในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการ โดยห้ามมิให้สักหรือเจาะร่างกายแก่ผู้ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ปกครองให้การยินยอม หรือมีความจำเป็นทางการแพทย์ กำหนดชนิดของโรคหรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ห้ามมิให้กระทำการไว้ และให้มีการบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงานไว้เป็นหลักฐานด้วย อีกทั้งกำหนดให้อุปกรณ์หลักในการสักเจาะร่างกาย ได้แก่ เครื่องสัก และปืนเจาะร่างกาย หรือสิ่งที่มีลักษณะการใช้งานอย่างเดียวกัน อยู่ในมาตรฐานของเครื่องมือแพทย์ และกำหนดให้หมึกสัก สีสัก หรือสารสี ที่ใช้สำหรับการสักลายและเครื่องประดับที่ใช้กับบริเวณที่เจาะ เป็นเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่ต้องปราศจากเชื้อตามมาตรฐานของเครื่องสำอาง รวมถึงกำหนดโทษสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์การสัก หรือเจาะร่างกายไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีเจตนาที่จะใช้กับผู้อื่นด้วยรายการ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการลงโทษทางวินัยทหารที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) นันทพล กาญจนวัฒน์ศึกษากระบวนการลงโทษทางด้านวินัยทหาร และบทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ตลอดจนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่กฎหมายลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นจะขัดหรือแย้งไม่ได้ ที่เป็นปัญหาก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ให้อำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาที่เป็นฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองออกคำสั่งและดำเนินการลงโทษแก่ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำ ความผิดทางวินัยในโทษ กัก ขังหรือจำขัง ซึ่งทหารในที่นี้ก็เป็นบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมุ่งคุ้มครอง ฉะนั้นการลงโทษทางวินัยที่กล่าวมาจึงเป็นการกระทำตามกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 จึงเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560รายการ ปัญหาการลงโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) มานัส สุดตะพรมสารนิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาการดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (State Official) ที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปก่อนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 57 โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อการดำเนินคดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัยต่อไปได้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจะพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปแล้วด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถึงแก่ความตาย ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยงานนิพนธ์นี้จะมุ่งศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (Control and Examination of the Exercise of State Power) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง (Principle of Legality of Administrative Act) การดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (Disciplinary Procedure against State Official) โดยพิเคราะห์ถึงปัญหาการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย (Discretion of Disciplinary Sanction) แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปแล้ว และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไปรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขและการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ลักษมินตร์ เอมกริชสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหา ทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขและการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 39 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค (Consumerism) หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการ (Prosecutor) โดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ หรือข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่ง และคดีอาญา แก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล และเมื่อคณะกรรมการได้แจ้งไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจดำเนินคดีตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ ในการดำเนินคดีในศาล ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สิน หรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง (Costs)รายการ ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) สิทธิภัค บุญกัณฑ์ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาในเรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย โดยศึกษาคำนิยามที่ชัดเจนของคำว่าขยะมูลฝอยในกฎหมายต่างๆของประเทศไทย และควรจะมีข้อกำหนดความรับผิดทางอาญาอย่างไร จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยได้ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย มีกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยเจตนา มีบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดไว้โดยชัดเจน ปรากฏว่าในเรื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำความผิดโดยประมาทเอาไว้ อาจเป็นปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ และบทลงโทษในกฎหมายของประเทศไทยที่กระทำโดยเจตนา ไม่รุนแรง ไม่พอสมควรแก่เหตุ เป็นเพียงแค่ลหุโทษเท่านั้น ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และกลับมากระทำความผิดอีก จากปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เขียนขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยของประเทศไทย โดยนำความรับผิดทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทมาบังคับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย เห็นได้จากประเทศเยอรมนีได้บัญญัติกฎหมายอาญาเกี่ยวการกระทำความผิด เรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยประมาท ซึ่งมีบทกำหนดโทษชัดเจนว่าผู้กระทำผิดต้องรับโทษอย่างไร กฎหมายของประเทศเยอรมนีนั้นถือว่าการกระทำความผิดที่กระทำโดยประมาทจะต้องได้รับโทษด้วย เพราะผู้กระทำความผิดย่อมยอมรับในผลที่ตนได้กระทำลง จึงต้องมีบทลงโทษแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง และเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดโดยเจตนาให้มีความรุนแรงมากอย่างขึ้น ให้มีความเหมาะสมกับการกระทำความผิด เช่นเดียวกับบทลงโทษของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ หากประเทศไทยนำเอาความรับผิดทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดโดยประมาท และเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเจตนามาปรับใช้กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเรื่องของการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุดในคดีล้มละลาย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) กชพร แหวนเงินเพื่อศึกษาถึงการนำมาตรา 309 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับกับการขอรับชำระหนี้ของนิติบุคคลอาคารชุดในค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์ ถ้านิติบุคคลอาคารชุดได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนจำนอง กรมบังคับคดีได้กำหนดวิธีการดำเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พร้อมทั้งมีแนวปฏิบัติการบังคับคดีตามมาตรา 309 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่อให้การยึด การขายทอดตลาดและการจัดทำบัญชีรับ – จ่าย ห้องชุดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในการกำหนดสิทธิและการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุดก่อนเจ้าหนี้จำนองซึ่งกฎหมายล้มละลายกำหนดให้เจ้าหนี้รายการ มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งกระทำโดยกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ธัญพงศ์ แววสง่ากฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์นั้น ถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่งต่อบรรดาสัตว์ต่างๆที่อยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายดังกล่าวนี้ เนื่องด้วยกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์นั้นเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้บุคคลมีการกระทำใดๆ อันเป็นผลทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทรมานโดยไม่จำเป็นหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ไม่ว่าจะเป็นประเภทของสัตว์ที่จะได้รับความคุ้มครอง ลักษณะของการทารุณกรรมสัตว์ วิธีการทารุณกรรมสัตว์ รวมไปถึงกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ของแต่ละประเทศในโลก ย่อมมีความเหมือนและแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด โดยสามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงระหว่างกฎหมายของต่างประเทศกับของประเทศไทยในเรื่องปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ได้รายการ ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ณัฏฐิยา จยะสกุลการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร หนังสือ บทความ แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกฎหมายหมายต่างประเทศ พบว่ากฎหมายเครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกี่ยวกับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายจะได้รับความความคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิเครื่องหมายภายในดินแดนของตนเท่านั้น ไม่สามารถใช้บังคับนอกดินแดนของตนได้ แม้มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้เป็นเจ้าของเกิดขึ้นก็ตาม หากต้องการได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายในต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายนั้นต้องดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นรายการ ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551: ศึกษากรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) นาฏยา นมะหุตการศึกษาพบว่า ปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ไม่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้บังคับให้สัญญาต่างตอบแทนประเภทใดบ้างต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเพียงการกำหนดในลักษณะเป็นทางเลือกของคู่สัญญาต่างตอบแทนเท่านั้น ทั้งยังเป็นเพียงความสมัครใจของคู่สัญญามิได้บังคับให้คู่สัญญาต้องดำเนินการตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา รวมไปถึงพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดผู้ที่สามารถประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาไว้เพียง 2 ประเภทเท่านั้นรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำทารุณกรรมสัตว์จำนวนมาก(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) อัญชลี จัตุรงค์แสงปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการทารุณกรรมสัตว์โดยตรงแล้ว คือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกระทำทารุณกรรมสัตว์จำนวนมากได้ เนื่องจากยังมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ 1) ปัญหาการกำหนดเรื่องอัตราโทษของการกระทำทารุณสัตว์จำนวนมาก 2) ปัญหาการกำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายจากการกระทำทารุณสัตว์จำนวนมาก 3) ปัญหาการกำหนดเรื่องวิธีการดูแลรักษาสัตว์ของกลางจากการกระทำทารุณสัตว์จำนวนมากรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) นุสรา น่วมดำริห์การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ เป็นขั้นตอนในการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้สิทธิในการอุทธรณ์แก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัย อันเป็นมาตรการป้องกันและตรวจสอบ ความถูกต้องอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาลงโทษเป็นไปตามข้อเท็จจริงและตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าได้กระทำความผิดจริง ทำให้การทำงานมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจผูกขาดที่จะส่งผลให้การลงโทษเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นไปตามครรลอง ในระบอบประชาธิปไตย (Regime of Democracy) สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐหรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. (The National Counter Corruption Commission in Government Sector) เพื่อศึกษาแนวทางในการตรวจสอบหรือถ่วงดุล (Checks and Balances) คำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ท.ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ข้าราชการพลเรือนต่อไปรายการ ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ธนพล ภาคสุขสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 มาตรา 11 ซึ่งบัญญัติว่า “ท่านว่าใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัว โอนกันไม่ได้ และสมบูรณ์เพียงวันที่ 31 ธันวาคมทุกปี” โดยปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีที่ใบอนุญาตดังกล่าวเป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวไม่สามารถโอนกันได้ จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการโอนใบอนุญาต การขายทอดตลาดและการค้าของเก่า และประเด็นปัญหาในเรื่องระยะเวลาของใบอนุญาต การขายทอดตลาดและค้าของเก่าที่มีระยะเวลาจำกัด ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่าในกรณีของการใช้บังคับพระราชบัญญัติควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 ตามมาตรา 11 นั้น พบว่าบทบัญญัติดังกล่าวนั้นยังไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ (Rechtsstaatsprinzip) หลักความชอบของการกระทำทางปกครอง และหลักการควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครอง (Control and Examination of Administrative Act) การกระทำทางปกครองดังกล่าวที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้ควบคุมการประกอบธุรกิจดังกล่าวยังเกิดปัญหา และยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนมากเท่าที่ควร กรณีดังกล่าวอาจเกิดจาก ความล้าสมัยของกฎหมายไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และอาจขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนปัญหาการควบคุมการออกใบอนุญาตการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ดังนั้น การปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยนำหลักการดังกล่าวมาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรายการ ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการพนัน(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ศิริพร เข็มทองประเทศไทยต้องประสบปัญหาการเล่นการพนันที่ผิดกฎหมายมาโดยตลอด การเล่นการพนันที่ผิดกฎหมายล้วนแต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ชีวิต เสรีภาพของผู้เล่น ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน และประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 เป็นกฎหมายที่ควบคุม ตรวจสอบ การอนุญาต การจัดให้มีการเล่นการพนัน การเล่นต่างๆ ตลอดจนสลากกินรวบอันเป็นการผิดกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการพนันรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการป่าไม้ตามกฎหมายป่าไม้ ศึกษากรณี สภาพพื้นที่ป่าไม้ แผนงานป่าไม้ และการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินที่เป็นไม้หวงห้ามในที่ดินของเอกชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ษชาดา ศรประสมทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resources) ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในอัตราที่รวดเร็วจนอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ การลดลงของพื้นที่ป่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ในต้นไม้ออกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น สาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เกิดจากปัจจัยหลายประการ ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ขาดเอกภาพและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยนโยบายแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินป่าไม้ยังขาดความยั่งยืนและชัดเจนในทางปฏิบัติ ขาดหลักเกณฑ์ในการฟื้นฟู การปลูกป่า และการดูแลรักษาควบคู่ไปกับการป้องกันละปราบปรามการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ โดยพิจารณาได้จากนโยบายของรัฐหลายยุคสมัยซึ่งให้ความสำคัญกับทรัพยากรป่าไม้ โดยพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งมีความพยายามขับเคลื่อนนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าไม้ 102.3 ล้านไร่ให้คงอยู่ และเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ โดยส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจระยะยาวเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษากฎหมายป่าไม้ พบว่าได้มีการกำหนดนิยามคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4 (1) โดยบัญญัติคำว่า “ป่า หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ จึงหมายถึง ที่ดินที่ยังมิได้กรรมสิทธิ์หรือได้สิทธิครอบครอง ซึ่งสภาพที่ดินอาจเป็นที่รกร้างว่างเปล่า (Waste Land) ที่ชายตลิ่ง (Foreshore) หรือที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน (Public Domain Of State) ไม่มีสภาพเป็นป่าตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีความจำเป็นต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่บางแห่ง ซึ่งไม่มีสภาพเป็นป่าตามความเป็นจริง แต่ถือว่าเป็น “ป่า” ตามบทนิยามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ที่ดินดังกล่าว ได้แก่ ที่ดินสนามหลวง แม่น้ำเจ้าพระยา หรือคูคลองต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตเมือง ซึ่งหากมีการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำให้เสียหายหรือเสื่อมสภาพต่อที่ดินดังกล่าวซึ่งถือเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยจะต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และเป็นปัญหาในการใช้บังคับกฎหมายและสร้างภาระเกินความสมควรให้แก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่มีความจำเป็นต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น จะเห็นได้ว่านิยามคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 นั้น ทำให้ไม่สามารถกำหนดลักษณะและสภาพแวดล้อมรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบรวมกิจการในการประกอบธุรกิจ(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ปิ่นอนงค์ พืชมงคลโดยสภาพการควบรวมกิจการและการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันนั้น ต่างมีสาระสำคัญคือตัวสินทรัพย์ หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ ที่จะถูกโอนไปยังอีกนิติบุคคลหนึ่งเหมือนกัน แตกต่างกันแต่เพียงว่าจะหลังการควบรวมกิจการจะมีการตั้งนิติบุคคลใหม่หรือไม่เท่านั้น ดังนั้นการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มิได้มีบทบัญญัติรองรับการควบรวมกิจการให้รวมถึงการควบรวมโดยโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันจึงอาจทำให้เกิดอุปสรรคในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการโอนลูกหนี้กรณีที่เป็นการรวมกิจการโดยวิธีการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันหรือที่เรียกว่า Merger การโอนลูกหนี้จะยังคงเป็นไปโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างการควบรวมกิจการอย่าง Amalgamation หรือไม่ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดรองรับไว้ หรือปัญหาเกี่ยวกับการโอนเจ้าหนี้ในกรณีของการรวมกิจการอย่างการ Merger ที่เป็นการโอนกิจการหนึ่งให้แก่อีกกิจการหนึ่งโดยที่บริษัทผู้โอนกิจการนั้นจะสิ้นสภาพบุคคลไปนั้นรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ศึกษากรณีค่าลดหย่อนและเครดิตภาษีเพื่อการศึกษา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) เสาวรส เกษมสวัสดิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าลดหย่อนและการเครดิตภาษีเพื่อการศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐแคนาดาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อการศึกษารายการ ปัญหาหลักประกันทางธุรกิจ ศึกษากรณีการนำสิทธิเรียกร้อง มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ(Sripatum University, 2559) ทรงยศ พุทธิยิ่งยงกุลบทความฉบับนี้จึงได้มีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงการนำสิทธิเรียกร้องมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถรองรับและเอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันโดยผู้วิจัยได้เสนอแนวความคิดว่า ในเรื่อง ประเภทของสิทธิเรียกร้องที่นำมาเป็นหลักประกัน ควรระบุเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้รวมถึงสิทธิเรียกร้องด้วย เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ เพื่อป้องกันปัญหาในการบังคับหลักประกันที่เป็นสิทธิเรียกร้องประเภทห้ามโอนแก่กันรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ไม่ปลอดภัยในท้องตลาด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ณัฐฐิพร อนันติริสารนิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัยในท้องตลาด ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 แต่มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารนั้นยังคงไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคในด้านอาหารได้ตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เนื่องจากผู้บริโภคยังคงได้รับอันตรายจากการผลิตภัณฑ์อาหารที่ปนเปื้อนทั้งทางด้านจุลินทรีย์ เคมี และชีวภาพ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้บริโภค อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยถูกกีดกันทางการค้า เป็นผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดลดลง ภาพพจน์ของประเทศไทยเกิดความเสียหายและทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือในตลาดโลก สารนิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อค้นหานิติวิธี (Legal Method) ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวรายการ ปัญหาทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการสมคบคิดในการโจรกรรมยานพาหนะ(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ทิพยรัตน์ สุภาวรรณเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการนำหลักสมคบคิดมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาการโจรกรรมยานพาหนะในประเทศไทย และปัญหาความไม่เหมาะสมของบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ประเภทยานพาหนะ โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผลการศึกษาพบว่า การดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการโจรกรรมยานพาหนะในปัจจุบันนั้น เป็นการกระทำความผิดที่ศาลปรับเข้าเป็นความผิดแต่ละบทแต่ละมาตราของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเห็นว่าการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเช่นนี้เป็นการลงโทษเฉพาะตัวบุคคล ไม่มีการพิสูจน์ความผิดที่โยงใยกันของกลุ่มขบวนการโจรกรรมยานพาหนะ และยังเกิดช่องว่างของกฎหมายในเรื่องของการดำเนินคดีกับผู้ทำการโจรกรรมยานพาหนะที่มีบทลงโทษไม่เหมาะสมกับความผิดและความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษของกฎหมาย