บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย ผู้เขียน "ฉัตร สุจินดา"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 23
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Powerpoint วิชา CEG101 วิศวกรโครงสร้าง(SPU, 2552-02-23) ฉัตร สุจินดารายการ STATISTICAL CHARACTERISTICS OF MATERIAL AND FABRICATION FOR CONCRETE STRUCTURES IN THAILAND(International Conference on Engineering and Technology, 2554-05-03) ฉัตร สุจินดา; Chatr SuchindaIn the reliability analysis of structures, one must consider two major effects: (1) the resistance of the structures and (2) the load effects. For the part of the resistance, the characteristics of material and fabrication for members are very important. This paper shows the statisical characteristics for material including concrete ultimate strength, yeild stress and diameter of rebars which represent the material production in Thailand. The workmanship, the way of practice and equipment used mandates the characteristics of the member size and their rebar location. Due to vast level of practice in Thailand, these data are collected seperately for two cases: case 1 is from mid to high-rise buildings where the quality control is inspected by third-party consulting agents and case 2 is from detached and town houses in subdivisions where the quality control is not inspected by any third-part agent. These statistical parameters are also compared with those from Indonesia, Japan and USA.รายการ The Strength Reduction Factors for Reinforced Concrete Design Standards Based on Thailand Statistical Data(Sripatum Reviews, 2552-12-08) ฉัตร สุจินดาThe strength reduction factors recommended in the reinforced concrete design standard EIT 1008-38 were adopted from the American ACI318-89 code. These factors were based on the analyses of statistical material and construction quality data collected in USA which may differ from Thailand. It will be more appropriate if these strength reduction factors are selected based on the data collected in Thailand. Nowadays, two sets of strength reductions factored were recommended in the draft building codes: case 1 when good quality of the materials and construction were specified. In this case, the strength reduction factors were totally the same as in the ACI318-99 code. Case 2 when good quality of the material and construction used were not specified. In the latter, 5/6 times of the strength reduction factors recommended in case 1 were used. However, there is no any scientific proof or evidence of the accuracy of this number 5/6. This paper presents brief process and results of structural reliability analyses to select the appropriate strength reduction factors based on the statistical material and construction data collected in Thailand for the case 2 from the other research. From this study, the chosen strength reduction factors are 0.80 for beam flexure, 0.87 for beams shear and 0.62 for tied column axial. These factors were found to be different from those recommended for draft building codes for case 2. However, dues to the limited numbers of data available, it is suggested that more study must be conducted to ensure the correctness of these factors before any adoption to Thailand building codes.รายการ การกระจายทางสถิติของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนโครงสร้าง คสล.(NCCE14, 2552-05-14) ฉัตร สุจินดามาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กวิธีกำลัง วสท. 1008-38 ได้คัดลอกค่าส่วนเผื่อที่ใช้ในการออกแบบต่าง ๆ อันได้แก่ ตัวคูณน้ำหนักบรรทุก (Load Factor) และ ตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor) มาจากมาตรฐาน ACI318 ซึ่งส่วนเผื่อเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้สำหรับการก่อสร้างในประเทศไทยก็ได้ หากมีการหาส่วนเผื่อต่าง ๆ เหล่านี้โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติที่เก็บในประเทศไทย ก็ย่อมจะเหมาะสมมากกว่า ข้อมูลทางสถิติดังกล่าวได้แก่ (1) การกระจายของน้ำหนักบรรทุก ซึ่งจะมีผลต่อแรงภายในของชิ้นส่วนโครงสร้าง (Load Effect) และ (2) การกระจายของขนาดของหน้าตัดคอนกรีต ขนาดของเหล็กเสริม กำลังของวัสดุที่ใช้ทั้งคอนกรีตและเหล็กเสริม รวมไปถึงตำแหน่งของการวางเหล็กเสริม ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการรับแรง (Resistance) บทความนี้เสนอถึงการเลือกชนิดของการกระจายมาตรฐานที่เหมาะสมที่สุด (Fit Distribution) สำหรับข้อมูลความกว้างของคาน ขนาดของเสา ความกว้างและความยาวของฐานราก แรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้น กำลังประลัยของคอนกรีต ความลึกประสิทธิผลของหน้าตัดคาน และฐานราก ซึ่งได้เก็บมาจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในเขต กทม. และปริมณฑล ผลของการวิเคราะห์นี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับการเลือกส่วนเผื่อที่เหมาะสมสำหรับมาตรฐานออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต EIT. 1008-38 Reinforced Concrete Design Standards adopted the design margins including load factors and strength reduction factors from the ACI318 standards. These design margins are based on American statistical data. The adoption of these margins may or may not suitable for the designing of structures in Thailand. It would be more appropriate to select the design margins based on the statistical data collected in Thailand itself. These data include (1) distributions of the loads which affect the internal forces of the structural members and (2) the distributions of the member sectional sizes, rebar sizes, concrete and steel strengths and also the location of the rebars which affect the load capacity (Resistance) of the members. This paper presents the selection of the most suitable standard distributions (Fit Distribution) including beam width, column size, footing width and length, actual size and yield load of rebars, ultimate strength of concrete, effective depth of beams and footings. These data were collected from the residential construction sites in Bangkok metropolitan area. The result from this analysis will be preliminary used for the selection of the appropriate design margins for Thailand reinforced concrete standards in the future.รายการ การทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, 2549-10-24) ฉัตร สุจินดาปัจจุบันในท้องตลาดขายปลีกวัสดุก่อสร้างไทย มีเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหลายขนาดให้เลือก ซึ่งในแต่ละขนาด ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้เหล็กเต็มเส้น ที่มีตรา มอก. หรือจะเลือกเหล็กที่ไม่มี ตรา มอก. ซึ่งเหล็กเส้นที่ไม่มีตรา เหล่านี้มีมวลต่อความยาวต่ำกว่าที่ระบุไว้ในมาตรฐาน แน่นอนว่าหากผู้รับเหมาซื้อเหล็กเส้นดังกล่าวไปใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ก็ย่อมจะมีกำลังรับน้ำหนักที่ต่ำกว่าโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กที่ได้มาตรฐาน บทความนี้ได้นำเสนอถึงการทดสอบเพื่อหากำลังการรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน จากการทดสอบคานสองตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นข้ออ้อย DB12 พบว่าคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น B12 ที่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 198% ของค่าที่คำนวณได้จากสูตรที่ใช้ในการออกแบบ ในขณะที่คานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ไม่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 118% ของค่าที่คำนวณได้ จากการทดสอบแผ่นพื้นสี่ตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นกลม พบว่ากำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB6 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 101% และ 78% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ในขณะที่กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB9 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 121% และ 73% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับรายการ การวิเคราะห์หลังคาโค้งไร้โครงถักช่วงยาว 30 เมตร(NCCE10, 2548-05-02) ฉัตร สุจินดาหลังคาโค้งไร้โครงถักของบริษัท สุคนธา จำกัดทำด้วยเหล็กพับขึ้นรูปแบบเย็น ช่วงยาว 30 เมตร ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ โครงสร้างแบบนี้มีความได้เปรียบคือไม่ต้องมีโครงถักเป็นตัวรองรับอยู่ด้านล่าง จึงไม่จำเป็นต้องมีรูสำหรับยึดพื้นผิวหลังคาเข้ากับโครงสร้างที่เอาไว้รองรับ ทำให้ไม่เกิดจุดที่มีโอกาสรั่วซึมขึ้น ความท้าทายของโครงสร้างประเภทนี้ก็คือ ตัวหลังคาจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักต่าง ๆ ได้เองทั้งหมด ซึ่งสามารถทำได้โดยการผลิตตัวหลังคาจากแผ่นเหล็กพับขึ้นรูปแบบเย็น ที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัวยู และปั้มขึ้นรูปเป็นลอน ๆ แล้วนำมาประกอบกันโดยการพับซ้อน ทำให้ไม่เกิดรอยรั่ว เพื่อให้เกิดมั่นใจว่าโครงสร้างดังกล่าวจะสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย จึงได้ทำการทดสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างตัวอย่างขนาดเท่าของจริง ภายใต้เงื่อนไขการรับน้ำหนักบรรทุก 2 กรณีคือ (1) น้ำหนักบรรทุกเต็มช่วง และ (2) น้ำหนักบรรทุกครึ่งช่วง ซึ่งประเภทของโครงสร้างที่ใช้ ในการวิเคราะห์เป็นแบบสองมิติและพิจารณาถึงผลของ P-Delta โดยใช้โปรแกรม SAP2000 Non-linear ข้อมูลทางเรขาคณิตของโครงสร้างที่ใช้ในแบบจำลองได้มาจากค่าที่วัดได้จริงของโครงสร้างที่ใช้ทดสอบ ผลของการทำนายค่าการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ดังกล่าวเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำเพิ่มขึ้นเป็นช่วง ๆ ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการทดสอบ รูปทรงของการโก่งตัวของโครงสร้างได้ถูกนำมาเสนอในรูปแบบของกราฟ และได้วิจารณ์เปรียบเทียบระหว่างผลของคำตอบที่ได้จากทั้งการวิเคราะห์กับการทดสอบ อีกทั้งยังได้นำเสนอแรงภายในและแรงปฏิกิริยาที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างสำหรับรองรับต่อไป A 30-meter span trussless cold formed steel curved roof had been analyzed. This structure has the advantage of having no supporting trusses therefore no hole is required to fasten the roof surface to the supporting structures. As a result, no potential leaking points are created. The challenge of this type of structures is that the roof itself must withstand all of the loads. This could be achieved by using cold-form corrugated U-shape section made from steel sheets joining together using overlap folding technique. To ensure that the structure can safely withhold the loads, full-scale load tests had been performed under the controlled conditions. Two load cases had been studied: (1) the full-span load and (2) the half-span load. The P-Delta (geometrical non-linear) analyses of two-dimensional frame members using SAP2000 non-linear were performed. The structure geometrical data measured from the actual testing structure were used in this model. The predicted deflections from multi-stage loading were compared with the measured ones. The deformed shapes of the roof structures were present graphically. The comparison of both analytical and experimental results was discussed. Also the internal forces and support reactions from the analyses were reported for further design of the supporting structural members.รายการ การศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ที่เหมาะสม(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, 2549-10-24) ฉัตร สุจินดามาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน วสท. 1007-34 ได้กำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ สำหรับเหล็กเสริมข้ออ้อยซึ่งมีกำลังครากน้อยกว่า 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ร้อยละ 50 ของกำลังคราก แต่ต้องไม่เกิน 1,500 กก/ซม2 ถ้าเหล็กเสริมข้ออ้อยซึ่งมีกำลังครากมากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 แต่ในปัจจุบันมีเหล็กเสริมที่มีกำลังครากมากกว่า 4,000 กก/ซม2 แต่มีราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากได้มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่ โดยยอมให้ใช้หน่วยแรงที่ยอมให้เพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้สามารถประหยัดค่าวัสดุได้อย่างมากมาย บทความนี้นำเสนอการศึกษาทางพารามิเตอร์ ถึงผลกระทบของค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ในเหล็กเสริม ที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งาน ที่มีผลต่อหน้าตัดที่ออกแบบ ซึ่งหน้าตัดที่ออกแบบได้นำมาวิเคราะห์หาความสามารถในการรับโมเมนต์ดัดด้วยวิธีกำลัง จากการศึกษานี้พบว่า หากเพิ่มหน่วยแรงที่ยอมให้เป็น 2,200 กก/ซม2 และ 2,800 กก/ซม2 สำหรับเหล็กเสริมที่มีกำลังคราก 4,000 กก/ซม2 และ 5,000 กก/ซม2 ตามลำดับ จะทำให้หน้าตัดที่ออกแบบมาได้ มีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกใกล้เคียงกับน้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบ จะเห็นได้ว่าค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ทั้งสองเกินกว่า 1,700 กก/ซม2 ดังนั้นจึงแนะนำให้ยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า หน่วยแรงที่ยอมให้ในเหล็กเสริมที่มีกำลังครากมากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 ออกไปจากมาตรฐาน วสท. 1007 ในฉบับใหม่รายการ การศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อหาค่าหน่วยแรงที่จุดครากสูงสุดที่เหมาะสม(การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 3, 2550-10-24) ฉัตร สุจินดาในปัจจุบันการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตด้วยวิธี Temper Core สามารถเพิ่มหน่วยแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้นที่ผลิตให้มีค่าสูงโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากนัก ซึ่งผู้ผลิตหลายรายเลือกที่จะผลิตเหล็กเส้นดังกล่าวให้มีหน่วยแรงดึงที่จุดครากให้สูงกว่าค่าที่ระบุไว้ในมาตรฐานมาก อย่างไรก็ตามการใช้เหล็กเสริมที่มีความสามารถในการรับแรงดึงเกินกว่าค่าที่ใช้คำนวณออกแบบมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่อชิ้นส่วนโครงสร้างโดยเฉพาะเหล็กเสริมที่ใช้รับโมเมนต์ดัด สาเหตุเนื่องมาจากการที่เหล็กเส้นดังกล่าว อาจทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเปลี่ยนพฤติกรรมการพังจากแบบแบบเหนียว (ตามที่ได้ออกแบบไว้) มาเป็นแบบเปราะแทน บทความนี้ได้นำเสนอถึงการศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อหาค่าหน่วยแรงที่จุดครากสูงสุด ที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของการพังของชิ้นส่วนโครงสร้าง จากการศึกษาในครั้งนี้ ได้แนะนำหน่วยแรงดึงที่จุดครากสูงสุด จะต้องไปเกิน 13% ของค่ากำลังที่ระบุในชั้นคุณภาพนั้น ๆรายการ การศึกษาเพื่อ หาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพืน ไร้คานคอนกรีตอัดแรง (ช่วงเสา 6 – 9 เมตร) โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม RAM Concept A Study of Optimal Thickness for Post-Tensioned Concrete Flat Slab (Span Length 6 – 9 m.) Using 3D Plate Finite Element using RAM Concept Program(2555-03-01T13:43:31Z) พัทธนันท์ มณีชนพันธ์; ฉัตร สุจินดาบทความนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัย ข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเสริม ไม้แบบ และค่าแรงในประเทศไทย เพือนำมาทดลอง ออกแบบแผ่นพื้นที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่างๆ กัน โดยใช้โปรแกรม RAM Concept ซึงวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟ ไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาสำหรับการจัดเรียงตำแหน่งของเสาในพื้นคือ กรณีควบคุมแบบสี่เหลี่ยม ซึงมี อัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 1.0 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 กก/ม2 Span Length 6 และ 9 เมตร กำลังอัด ประลัยคอนกรีต 35 MPa (357 กก/ซม2) โดยมีข้อกำหนดให้เพิ่ม Drop Panel และเหล็กเสริมรับแรงเฉือน ตรงหัวเสาที่ คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนา ที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมตํ่าสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็น แนวทางในการออกแบบเบื้องต้นรายการ การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study of Optimal Thickness for Post-Tensioned Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program(2555-03-01T04:44:04Z) ธนัญกรณ์ ต่อศิริสกุลวงศ์; ฉัตร สุจินดาบทความนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่าง ๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมซึ่งมีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 1.0 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 kg/m2 ระยะช่วงเสา 6 และ 9 m กำลังอัดประลัยคอนกรีต 35 MPa (357 kg/cm2) โดยมีข้อกำหนดให้เพิ่ม Drop Panel ตรงหัวเสาที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบเบื้องต้นรายการ การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study to Determine Optimal Thickness for Reinforced Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program(2555-03-01T04:54:48Z) ยอด ผลสงเคราะห์; ฉัตร สุจินดาบทความนี้นำเสนอการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้น ที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่างๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าแปรเปลี่ยนอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.50 0.75 และ 1.00 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระยะช่วงเสา 6 และ 8 เมตร และกำลังอัดประลัยคอนกรีต 320 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร จากนั้นได้นำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบรายการ การเปรียบเทียบค่าโมเมนต์ทุติยภูมิในพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงที่วิเคราะห์ด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติและวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติ(NCCE, 2552-05-15) ฉัตร สุจินดาในโครงสร้างประเภทคอนกรีตอัดแรงนั้น ลวดอัดแรงจะถูกจัดวางให้มีความโค้งเพื่อต้านทานโมเมนต์ดัดซึ่งเกิดจากน้ำหนักบรรทุก สำหรับแผ่นพื้นไร้คานซึ่งเป็นโครงสร้างประเภทอินดีเทอร์มิเนต (Indeterminate Structures) ความโค้งของลวดอัดแรงจะทำให้เกิดแรงกระทำในทิศทางลงที่บริเวณเสา ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดโมเมนต์ทุติยภูมิ (Secondary or Hyperstatic Moment) ขึ้นในแผ่นพื้น ผลของโมเมนต์ดังกล่าวมีนัยสำคัญและจำเป็นต้องพิจารณาในขั้นตอนของการวิเคราะห์และออกแบบ ในปัจจุบันมีผู้นิยมใช้วิธีวิเคราะห์กันอยู่สองวิธีคือ (1) วิธีโครงข้อแข็งเสมือน (Equivalent Frame Method) ซึ่งเป็นการมองโครงสร้างในแบบสองมิติ และ (2) วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่น (Plate Element) ซึ่งเป็นการมองโครงสร้างในแบบสามมิติ บทความนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบค่าโมเมนต์ทุติยภูมิที่ได้จากการวิเคราะห์ระหว่างสองวิธีโดยใช้โปรแกรม RAM Concept โดยได้ตั้งกรณีศึกษาเปรียบเทียบ สำหรับลักษณะการวางของตำแหน่งเสาที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 กรณี For post-tensioned concrete, the pre-stressing tendons are positioned so that their curved profiles can resist the loads. For the flat slabs which are indeterminate structures, these profiles will create vertical downward forces near the columns which create the secondary or hyperstatic moments in the slabs. These secondary moments have significant effect and must be considered during the analysis and design processes. Nowadays, many flat slab designers usually use either (1) the Equivalent Frame Method or EFM which consider the structure in 2-dimension (2D) and (2) Plate Finite Element Method which is 3-dimensional (3D). This paper presents the comparison between the secondary moments in post-tensioned flat slabs analyzed from 2D EFM and 3D Plate Finite Element Method using RAM Concept program. Five studying cases with different column layouts have been compared.รายการ การเปรียบเทียบผลการออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติ(2551-05-03T07:02:01Z) ฉัตร สุจินดาโครงสร้างพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกันในปัจจุบัน ซึ่งในมาตรฐาน ACI318 ได้แนะนำวิธีโครงข้อแข็งเสมือน (Equivalent Frame Method) ซึ่งเป็นการมองแผ่นพื้นให้เป็นคาน และรองรับด้วยเสาที่มีการเพิ่มความแข็งเนื่องจากการบิดตัวของแผ่นพื้นที่เกิดในแนวที่ตั้งฉากกับแนวของแผ่นพื้นที่กำลังพิจารณา วิธีดังกล่าวนี้เป็นการมองโครงสร้างในแบบสองมิติ ดังนั้นถ้าตำแหน่งของเสาในอาคารไม่ได้ถูกจัดอยู่ในแนวเส้นตรงที่ตั้งฉากกันอย่างเป็นระเบียบแล้ว การวิเคราะห์แบบนี้อาจจะให้ผลคำตอบที่ผิดเพี้ยนไปจากพฤติกรรมจริงของโครงสร้างได้ในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่ใช้ออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยวิเคราะห์แผ่นพื้นด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่น (Plate Element) ซึ่งเป็นการมองโครงสร้างในแบบสามมิติโดยตรง บทความนี้เป็นการเปรียบเทียบค่าหน่วยแรงเฉลี่ยที่จะนำไปใช้ในการออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง ระหว่างที่วิเคราะห์ได้มาจากวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติโดยใช้โปรแกรม Adapt-PT และวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม RAM Concept โดยได้ตั้งกรณีศึกษาเปรียบเทียบ สำหรับลักษณะการวางของตำแหน่งเสาที่แตกต่างกันหลายกรณี จากการศึกษานี้พบว่า กรณีที่มีการจัดวางตำแหน่งของเสาที่ไม่อยู่ในแนวเส้นตรงที่ตั้งฉากกันอย่างเป็นระเบียบทั้งหมด 6 กรณี วิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติจะให้มีค่าค่าหน่วยแรงเฉลี่ยที่มากกว่าในเชิงที่ปลอดภัย (Conservative) เมื่อเทียบกับผลได้จากวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สามมิติ Nowadays, post-tensioned concrete flat slabs are widely used. In the ACI318 building codes, one of the recommend methods to analyze the flat slab structures is Equivalent Frame Method or EFM. This method analyzes the flat slab as beam members that are supported by columns with additional torsional stiffness from the strips of the flat slab running in the perpendicular direction. This EFM is considered to be 2D method. If the columns in the floor plans are not align in the strength orthogonal pattern, the result of the EFM would be somewhat different from the actual behaviour of the structures. Recently, there are analysis and design programs for post-tension flat slabs. These programs use plate finite elements to analyze the flat slab structures in 3D fashion. This paper presents the comparison of average stresses calculated from two different methods: the 2D EFM using Adapt PT program and the 3D finite element method using RAM Concept program. Six different non-orthogonal column layouts have been investigated. From this study, it was found that the 2D equivalent frame method gives conservative average stresses compared to the 3D finite elememt method.รายการ การเปรียบเทียบผลของการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างรับโมเมนต์ดัดระหว่างที่ออกแบบตามมาตรฐาน ACI318-99 และ ACI318-02(Thai Concrete Association, 2553-10-21) ฉัตร สุจินดามาตรฐาน ACI318-02 ได้ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างรับโมเมนต์ดัดไปจากมาตรฐาน ACI318-99 โดยมาตรฐาน ACI318-99 เดิมได้จำกัดอัตราส่วนเหล็กเสริมในชิ้นส่วนโครงสร้างที่รับโมเมนต์ดัดจะต้องไม่เกินร้อยละ 75 ของอัตราส่วนเหล็กเสริมสมดุล ซึ่งอัตราส่วนเหล็กเสริมสมดุลจะเกิดขึ้น เมื่อหน้าตัดมีความเครียดเนื่องจากแรงอัดของคอนกรีตที่ผิวด้านนอกสุดเป็น 0.003 แล้วจะเกิดความเครียดเนื่องจากแรงดึงที่ตำแหน่งศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริมเท่ากับความเครียดที่จุดครากพอดี แต่ในมาตรฐาน ACI318-02 ได้กำหนดให้ผู้ออกแบบตรวจสอบความเครียดของเหล็กเสริมที่ตำแหน่งด้านริมนอกสุดของเหล็กเสริม (แทนที่จะเป็นจุดศูนย์ถ่วง) หากเท่ากับ 0.005 หรือมากกว่า ให้ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ถูกควบคุมโดยแรงดึง ซึ่งต้องใช้ตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีชิ้นส่วนรับโมเมนต์ดัด แต่หากเท่ากับ 0.002 หรือน้อยกว่า ให้ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ถูกควบคุมโดยแรงอัด ซึ่งใช้ตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีชิ้นส่วนรับแรงอัด และหากค่าอยู่ระหว่าง 0.002 และ 0.005 ตัวคูณลดกำลังให้คำนวณจากสมการเส้นตรงที่เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองกรณี บทความนี้ได้นำเสนอการเปรียบเทียบผลของการออกแบบจากมาตรฐานทั้งสอง ซึ่งผลของการเปรียบเทียบนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐาน วสท. 1008 ใหม่ต่อไปในอนาคต The ACI318-02 standard has been improved from the previous ACI318-99 standard which includes the aspect of the designing flexural members. From the previous ACI318-99, the reinforcement ratio is limited to 75 percent of the balanced reinforcement ratio which is defined as the condition when the section have its concrete strain at the extreme outer fiber of 0.003 and the strain of the rebar at its centroid equals to the yield strain. But the ACI318-02 recommends that the designer must check the tensile strain of rebar at the extreme outer fiber (instead of at its centroid). If it is 0.005 or more, the member is controlled by tension and the strength reduction factor for flexural members must be applied. If it is 0.002 or less, the member is controlled by compression and reduction factor for compression member must be applied. For the range in between 0.002 and 0.005, the strength reduction factor can be calculated based on linear equation interpolating between the two cases. This paper presents the comparison of the results from the designs based on these two different standards. This comparison results obtained from this research could be used for the improvement of the new version of EIT 1008 standard in the future.รายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังสำหรับการออกแบบเสาสั้นรับแรงอัดตามแนวแกน โดยพิจารณาถึงข้อมูลทางสถิติของมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุในเขต กทม.(การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 2, 2549-10-25) ฉัตร สุจินดากฎกระทรวงด้านวิศวกรรมโครงสร้างและปฐพีฉบับใหม่ ได้กำหนดค่าตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor) สำหรับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กไว้สองกรณี กรณีที่ 1 คือกรณีที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังคัดลอกมาจากมาตรฐาน ACI318-99 ซึ่งค่าดังกล่าวได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีที่ไม่มีการระบุฯ ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของตัวคูณลดกำลังที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 บทความนี้จะนำเสนอถึงการเลือกตัวคูณลดกำลัง ซึ่งจะนำมาใช้สำหรับกรณีที่ 2 ด้วยวิธีวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) ของเสาสั้นที่รับแรงอัดตามแนวแกน โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุ ที่เก็บมาได้จากโครงสร้างบ้านพักอาศัยที่ก่อสร้างโดยไม่มีการควบคุมคุณภาพในเขต กทม. อันได้แก่การกระจายทางสถิติของคุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้น กำลังของคอนกรีต และความคลาดเคลื่อนของขนาดและมิติต่าง ๆ อีกทั้งยังได้พิจารณาถึงพารามิเตอร์ทางสถิติต่าง ๆ ของสูตรคำนวณ และการเลือกจำนวน/ขนาดเหล็กเสริมตามยาวที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบ สุดท้ายบทความนี้ยังได้แนะนำค่าตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตสำหรับประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตรายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังสำหรับการออกแบบเหล็กปลอกรับแรงเฉือนในคาน โดยพิจารณาถึงการกระจายของกำลังครากของเหล็กเส้นจากบ้านพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 11, 2549-04-20) ฉัตร สุจินดาค่าตัวคูณลดกำลังที่ใช้ในมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วสท 1008-38 เป็นค่าที่คัดลอกมาจากมาตรฐาน ACI-318 ซึ่งสะท้อนถึงข้อมูลทางสถิติของวัสดุและคุณภาพการก่อสร้างของประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากใช้ค่าตัวคูณลดกำลังดังกล่าว แต่การกระจายของมาตรฐานวัสดุและคุณภาพก่อสร้างไม่เหมือนกับของประเทศที่คัดลอกมา อาจทำให้โครงสร้างที่ออกแบบมีความปลอดภัยไม่เพียงพอ บทความนี้ได้นำเสนอถึงหลักการและขั้นตอนในการเลือกค่าตัวคูณลดกำลัง เพื่อใช้ในการออกแบบเหล็กปลอกรับแรงเฉือนขนาด RB6 และ RB9 ในคาน โดยการนำข้อมูลทางสถิติของกำลังครากของเหล็กเส้นตัวอย่างที่เก็บจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน 100 หลัง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของโครงสร้าง ด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล บทความนี้ยังได้เสนอแนะค่าของตัวคูณลดกำลัง ซึ่งรักษาระดับความเชื่อมั่น ให้ใกล้เคียงกับของมาตรฐาน ACI-318 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารของประเทศไทยต่อไปในอนาคตรายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังเพื่อใช้ในการออกแบบโมเมนต์ดัดในคานและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพิจารณาถึงการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเส้น สำหรับบ้านพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 1, 2548-10-25) ฉัตร สุจินดาปัจจุบันนี้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในตลาดวัสดุก่อสร้างไทยมีให้เลือกหลายระดับราคา ซึ่งไม่ใช่เหล็กเส้นทุกชนิดในตลาดที่ผ่าน มอก 20-2543 (สำหรับเหล็กเสริมกลม) และ มอก 24-2536 (สำหรับเหล็กเสริมข้ออ้อย) การศึกษานี้เป็นการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นที่ใช้จริงจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน 100 หลัง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเลือกเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นขนาด RB6 RB9 DB12 และ DB16 ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในโครงสร้างบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป เพื่อนำมาหาการกระจายของมวลต่อความยาว ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระดับความปลอดภัยของโครงสร้าง จากตัวอย่างที่เก็บมาได้ พบว่ามีอัตราส่วนของจำนวนเหล็กเส้นที่ไม่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยของ มอก ต่อจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในแต่ละขนาดร้อยละ 23.2 26.0 35.7 และ 35.1 สำหรับเหล็กเส้น RB6 RB9 DB12 และ DB16 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่งสำหรับการเลือกค่าตัวคูณลดกำลัง (strength reduction factor) ที่เหมาะสม ในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต จากการทดลองวิเคราะห์ความเชื่อมั่นที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งได้พิจารณาถึงแต่เฉพาะผลของการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเสริมตัวอย่างที่แตกต่างไปจากข้อมูลของการก่อสร้างในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดที่จะรักษาระดับของความเชื่อมั่นไว้ให้เท่าเดิม phi=0.75 และ 0.70 สำหรับคานหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก DB12 และ DB16 ตามลำดับ และ phi=0.75, 0.65 และ 0.80 สำหรับพื้นหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก RB6 RB9 และ DB12 ตามลำดับรายการ ตัวคูณลดกำลัง สำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติในประเทศไทย(SPU Research Institute, 2552-05-25) ฉัตร สุจินดาค่าของตัวคูณลดกำลัง ที่แนะนำในมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง วสท 1008-38 เป็นค่าที่อ้างอิงมาจากมาตรฐาน ACI 318-89 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งค่าตัวคูณลดกำลังเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ของการกระจายของคุณภาพวัสดุและมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นหากมีการศึกษาข้อมูลดังกล่าวสำหรับการก่อสร้างในประเทศไทย และได้นำมาใช้เป็นตัวกำหนดถึงค่าของตัวคูณลดกำลังสำหรับประเทศไทยเองโดยเฉพาะ ก็ย่อมจะมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ค่าที่คัดลอกมาจากต่างประเทศ ในปัจจุบันได้มีการเสนอให้แบ่งการใช้ตัวคูณลดกำลังออกเป็นสองกรณีดังนี้ กรณีที่ 1 คือกรณีการก่อสร้างที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังเหมือนในมาตรฐาน วสท 1008-38 ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุฯ ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้ ไม่ปรากฏถึงที่มาอันเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักฐานซึ่งแสดงถึงความเที่ยงตรงของค่าอัตราส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเลือกตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมสำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติของคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้สำหรับกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ซึ่งโครงสร้างในกรณีที่ 2 นี้ มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลทางสถิติดังกล่าวได้แก่ แรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้น และกำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ใช้ ขนาดของชิ้นส่วนโครงสร้างจริงและตำแหน่งของเหล็กเสริม ข้อมูลเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนของประชากรโครงสร้างที่ศึกษา จากนั้นได้สร้างแบบจำลองซึ่งมีพื้นฐานมาจากสูตรที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วนำไปทางการจำลองแบบมอนติคาโล โดยการสุ่มค่าของข้อมูลที่สมมุติให้มีลักษณะการกระจาย คล้ายกับข้อมูลทางสถิติของตัวอย่างที่เก็บมาได้ เพื่อหาการกระจายของความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ศึกษา เมื่อนำมาคำนวณประกอบกับการกระจายของผลของน้ำหนักบรรทุก จะสามารถหาค่าดัชนีความเชื่อมั่น ซึ่งตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมคือค่าที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเป้าหมายซึ่งได้มาจากการสอบเทียบใหม่ของมาตรฐาน ACI318 จากการศึกษาครั้งนี้ได้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดในคาน 0.80 และเฉือนในคาน 0.87 และแรงตามแนวแกนในเสาสั้นปลอกเดี่ยว 0.62 ซึ่งแตกต่างไปจากค่าที่กำหนดไว้ในกรณีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากค่าดังกล่าวได้มาจากข้อมูลที่จำกัด ดังนั้นจึงเสนอแนะให้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคตรายการ ผลกระทบของการเปลี่ยนจากการใช้เหล็กเส้นเกรด SD30 เป็น SD40 และ SD50 ที่มีต่อค่าวัสดุเหล็กเสริมในงานโครงสร้างที่ออกแบบด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งาน(การประชุมคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 4, 2551-10-20) ฉัตร สุจินดาเหล็กเป็นวัสดุมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในปัจจุบัน จึงผลักดันให้วิศวกรต้องออกแบบโครงสร้างให้มีราคาต่ำที่สุด ทางเลือกหนึ่งที่จะทำได้โดยไม่ต้องลดระดับความปลอดภัยของโครงสร้างลงก็คือ การเลือกใช้วัสดุอย่างฉลาดที่สุด เหล็กเส้นในปัจจุบันมีให้เลือกถึง 4 เกรด และเนื่องจากราคาเหล็กที่มีกำลังครากสูงมีราคาต่อหน่วยที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าการใช้เหล็กที่มีกำลังครากสูงที่สุด น่าจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการออกแบบได้มีข้อกำหนดอื่น ๆ มาจำกัดเอาไว้เช่น ข้อกำหนดใน วสท. 1007-34 ซึ่งได้จำกัดหน่วยแรงสูงสุดที่ยอมให้นั้น ต้องไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 ไม่ว่ากำลังครากของเหล็กเสริมที่ใช้จะสูงเพียงใด บทความนี้เป็นการเปรียบเทียบผลกระทบของการใช้เหล็กเส้นเกรดต่าง ๆ ที่มีต่อราคาเหล็กเสริมโดยรวมสำหรับการออกแบบชื้นส่วนโครงสร้างรับโมเมนต์ดัด และเสา โดยการทดลองออกแบบชิ้นส่วนดังกล่าวด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งานตามมาตรฐาน วสท. 1007-34 ที่มีการยกเลิกข้อจำกัดของหน่วยแรงสูงสุดที่ยอมให้ ต้องไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 ออกไป บทความนี้ยังได้เสนอแนะข้อจำกัดของหน่วยแรงสูงสุดที่ยอมให้ในเหล็กเสริมสำหรับเสา เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เหล็กเส้นกำลังครากสูงอีกด้วย Nowadays, the price of steel has been increasing rapidly while the economy is bearish. For these reasons, engineers were pushed to design the structures for the lowest cost. One of the solutions that would not reduce the level of safety of the structures is choosing the material wisely. Nowadays, there are four grades of rebars. The price of high yield strength rebar is not significantly higher than the normal yield strength one hence the high yield strength rebar seem to be more economical choice for design of RC structures. But according to the design codes, some design provisions such as EIT 1007-34 limit the maximum allowable stresses in flexural members not exceeding 1,700 kg/cm2 regardless of how high the yield strength of the rebars used. This paper presents a comparison of the material costs among different steel grades by trial design. The different types of structural flexural members and columns using the working stress design method according to the EIT 1007-34 code are investigated with the deletion of limit the maximum allowable stresses in flexural members not exceeding 1,700 kg/cm2 is also considered in this study. This paper also suggests the limitation of allowable stress suitable for high yield strength rebars in columns.รายการ ผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรมและกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงดัด(SPU, 2550-05-09) ฉัตร สุจินดาในปัจจุบันตลาดวัสดุก่อสร้างไทย มีเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐานตาม มอก. 20-2543 หรือ 24-2548 ขายในเชิงพาณิชย์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเหล็กเส้นเหล่านี้ ยังคงนิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างขนาดเล็กเช่นบ้านพักอาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก ที่เจ้าของโครงการไม่มีความรู้หรือไม่เห็นความสำคัญ แต่การใช้เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีผลเสียในเชิงวิศวกรรมได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรม และกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ในเชิงปริมาณ โดยการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้น จากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัย จำนวน 100 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อหาคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและมีผลกระทบต่อกำลังการรับแรงขององค์อาคาร จากนั้นได้ใช้เหล็กเส้นที่สุ่มซื้อจากร้านวัสดุก่อสร้าง ทั้งที่ได้มาตรฐาน และไม่ได้มาตรฐาน มาเสริมในชิ้นส่วนตัวอย่างคาน และพื้นทางเดียวที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบหากำลังการรับแรงดัด จากการศึกษาเก็บตัวอย่างเหล็กเส้น พบว่าตัวอย่างเหล็กเส้นส่วนใหญ่ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 20-2543 หรือ 24-2548 ทั้งด้านน้ำหนัก ขนาด และกำลังจากการทดสอบการรับ แรงดัดของคาน 2 ตัวอย่างและพื้น 4 ตัวอย่าง พบว่าคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 198% ของค่าที่คำนวณได้จากสูตรที่ใช้ในการออกแบบ ส่วนคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ไม่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 118% ของค่าที่คำนวณได้ จากการทดสอบแผ่นพื้นที่เสริมด้วยเหล็กเส้นกลม กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB6 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 100% และ 77% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ในขณะที่กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB9 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 121% และ 73% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต