08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 08. ผลงานนักศึกษา โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 126
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การออกแบบโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไตครบวงจร : โรงพยาบาลโรคไตครบวงจร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นิภาภรณ์ บุญประเสริฐโรคไตถือได้ว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่คนไทยหลายคนมองข้าม ในหลายโรงพยาบาลมีบริการหน่วยไตเทียม แต่ประเทศไทยกลับมีโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไตเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการออกแบบโรงพยาบาลโรคไตครบวงจร ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ผลการศึกษาดังกล่าว เพื่อเป็นการผลักดันให้โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไตนั้นสามารถตั้งอยู่ในภูมิภาคอื่น โดยสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่งถึง อีกทั้งยังสามารถนำจุดเด่นของพื้นที่มาใช้กับการออกแบบได้อีกด้วย จากแนวคิดข้างต้นสู่การออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคอื่นของประเทศไทยได้มีโอกาสเข้ารับการรักษาได้อย่างสะดวกและทันเวลารายการ สถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงการแพร่ระบาดของโรค : ข้อเสนอการออกแบบอาคารสำนักงานความสูงระดับกลาง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) คมจักร สิมะขจรบุญปัจจุบันโรคระบาดส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พฤติกรรม การระบาดก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเจ็บป่วยในทุกที่ที่แพร่กระจาย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อาคารปัจจุบันไม่ได้ออกแบบให้เผชิญกับวิกฤตโรคระบาด จึงทำให้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ลดลงปัจจุบันมีการรณรงค์การเว้นระยะห่างของสังคม ระบบการระบายอากาศ ความสะอาด พื้นที่กิจกรรมการผลักดันขอบเขตของสถาปัตยกรรมให้มีการวิวัฒนาการ ทุกๆการระบาดใหญ่ เริ่มต้นด้วยกาฬโรค ซึ่งนำไปสู่การพัมนาเมืองที่ก้าวหน้า การออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่สนับสนุน ลดการแพร่กระจายของโรคระบาด ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ ให้ความสำคัญกับวิกฤตโรคระบาด ผ่านการไหลเวียนของอากาศ องค์ประกอบทางชีวภาพ แสงธรรมชาติ วัสดุ ขนาดของฟังก์ชั่นการใช้งาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำบทเรียนจากอดีตมาปรับใช้ในการออกแบบพื้นที่รายการ สถาปัตยกรรมเพื่อการบำบัดผู้ป่วยจิตเวช : เดอะวิลล่า รีสอร์ท เพื่อการฟื้นฟูจิตใจ(Sripatum University, 2565) ธนวัฒน์ บุญประกอบการศึกษาวิทยานิพนธ์โครงการ สถาปัตยกรรมเพื่อการบำบัดผู้ป่วยจิตเวช นั้นได้เริ่มต้นจากการสนใจในกระบวนการการบำบัดของผู้ป่วยจิตเวช ที่มีความหลากหลายของผู้ป่วยแต่ละโรค อีกทั้งข้อจำกัดทางการ รักษาที่แตกต่างกันของโรคทางจิตเวช จึงสนใจในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สามารถบำบัดผู้ป่วยผ่านพื้นที่ ใช้สอย ต่าง ๆ ของโครงการรายการ ความทรงจำในอดีตที่หายไป : ศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุ(Sripatum University, 2565) เสทา ตาดด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต และ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ส่งผลต่อการใช้พื้นที่ในอาคาร รวมถึงทำให้ความทรงจำอันเกี่ยวกับการใช้พื้นที่อาคารเพื่อการสันทนาการของคนในอดีตเลือนหายไป การนำความทรงจำเหล่านั้นกลับคืนมาผ่านการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่สื่อถึงอดีตช่วยกระตุ้นให้คนที่ผ่านช่วงเวลาเหล่านั้น ซึ่งหมายถึงผู้สูงอายุมีพลังที่จะขับเคลื่อนชีวิตต่อเหมือนในวัยหนุ่มสาวรายการ สถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาวงการอีสปอร์ต : ศูนย์กลางชุมชนเกมส์อีสปอร์ต(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ศรัณย์พร กิจประเสริฐเนื่องจากในปัจจุบันวงการเกมส์ได้เติบโตไปอย่างมากไม่ใช่แค่สิ่งที่เอาไว้ฆ่าเวลาเฉยๆ แต่ในประเทศไทยนั้นมีผู้คนหลายกลุ่มยังไม่เข้าใจจึงทำให้เกิดภาพลักษณ์ไม่ดีต่อวงการเกมส์ แต่ถ้าเรามีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางเกมส์และอีสปอร์ตก็อาจจะทำให้ผู้คนหลายกลุ่มสามารถเข้าใจการทำงานของ อีสปอร์ต มากขึ้นเพื่อส่งเสริมนักเล่นเกมส์ไทยสามารถพัฒนาไปแข่งระดับโลกได้และยังเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกมส์อีกด้วย จากข้อมูลในปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมส์นั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีมูลค่ามหาศาล จนทางภาครัฐและเอกชนเริ่มมาสนับสนุนเกมส์ให้ป็นกีฬามากขึ้นมีแม้กระทั่งภาคการศึกษาเริ่มมีการเปิดสอนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเกมส์เช่นกันรายการ พื้นที่มีชีวิตสร้างสรรค์ : โครงการทดลองออกแบบสถาปัตยกรรมจากโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม(Sripatum University, 2565) ไอลดา พงษ์แพทย์เนื่องจากในยุคปัจจุบัน Social media เป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ที่ได้รับความสนใจจากกิจกรรมออนไลน์ในหลายรูปแบบ ที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานบน Platform online ดังนั้น ผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้าวิจัยและวิเคราะห์ประเด็นในการทดลองเชิงสถาปัตยกรรมที่ถอดมาจากพฤติกรรมการใช้งานของระบบ Platform Online ให้ออกมาเป็นพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมรายการ พื้นที่ศึกษาดูนกและอนุบาลนกเบื้องต้น : โครงการแหล่งเรียนรู้ปักษานิเวศและศูนย์อนุบาลนกเบื้องต้น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนวันต์ ปิตุปกรณ์กูลเป็นโครงการที่เกิดจากการเห้นความสำคัญของนกที่ได้รับบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุ หรือ จากน้ำมือมนุษย์ที่ลักลอบนำเข้าและออกประเทศไทยหลายพันตัว เพื่อนำไปขายและลักลอบเลี้ยงแบบผิดกฏหมาย เมื่อถูกจับได้และโดนดำเนินคดี นกเหล่านั้นที่เป็นของกลาง จะถูกกักบริเวณ จนสิ้นคดีความจึงถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ซึ่งก็มีนกไม่สามารถกลับไปอยู่ในธรรมชาติได้อย่างเคยและนกที่ได้รับบาดเจ็บจากการได้รับอบัติเหตุ จนไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตในธรรมชาติได้อีก นกเหล่านี้ที่ทั้งภูกกระทำและไม่ สมควรได้รับการดูแลรักษาให้กลับไปใช้ชีวิตในธรรมชาติหรือ ไม่สามารถกลับไปอยู่ตามะรรมชาติได้แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดโครงการดูแลรักษานกที่ที่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งจากน้ำมือมนุษย์และไม่ใช่ให้ได้ที่อยู่อาศัยและดำเนินชีวิตอยู่ได้รายการ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาทักษะสำหรับเด็ก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) คุณานนต์ พานทองศูนย์ส่งเสริมพัฒนาทักษะสำหรับเด็กจุดเริ่มต้นของโครงการ เกิดจากปัญหาที่พบว่า เด็กอายุระหว่าง 4 - 12 ปี ในประเทศไทยมากกว่า1 ใน 5 คน ไม่ได้อยู่กับพ่แม่ เนื่องจากครอบครัวยากจน ต้องทำมาหากินทั้งคู่จึงต้องฝากลูกไว้กับสมาชิกคนอื่นๆของครอบครัวในต่างจังหวัด สิ่งที่เกิดขึ้นคือสภาวะไม่พร้อมเรียน ไม่รู้ความชอบความถนัดของตัวเอง รวมถึงการหลุดออกนอกระบบตั้งแต่เยาว์ในระยะยาว หากแก้ไม่ได้ก็จะเข้าสู่วัฏจักรความยากจนข้ามชั่วคนเพราะเข้าไม่ถึงการศึกษาหรือได้รับคุณภาพการศึกษาที่ต่างกัน ด้วยสภาพดังกล่าว ศูนย์พัฒนาทักษะสำหรับเด็กจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะสมรายการ สถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอาคารเก่าในย่านจังหวัดอุดรธานี : อาคารส่งเสริมเพื่อการศึกษาและการค้าขาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เอกธนา เทศนาย่าน 5 แยกน้ำพุ เป็นสุดบรรจบของถนนสายสำคัญของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับการวางผังเมืองไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่อดีต และเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เมืองอุดรธานี นับตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นมา ทำให้บริเวณห้าแยกน้ำพุเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่มีร้านค้าต่างๆ มากมายรวมอยู่ในย่านนี้ นอกจากนี้ยังเป็นย่านธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้าที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ย่าน 5 แยกน้ำพุสมัยก่อนเคยเป็นพื้นที่ที่ผู้คนเข้ามาใช้งานและมีชีวิตชีวา มีการค้าขายเปรียบเสมือน Community ที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี แต่ปัจจุบันเกิดห้างสรพพสินค้าขึ้นมากมาย จนทำให้ย่าน 5 แยกน้ำพุถูกลดความสำคัญลง จนกลายเป็นว่าอาคารถูกปล่อยทิ้งร้าง เนื่องจากบางอาคารของพื้นที่ในย่านนี้ไม่ถูกใช้งานและพื้นที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ การคืนชีพย่าน 5 แยกน้ำพุให้เป็น Community ที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี โดยการเพิ่ม activity ให้กับย่านนี้เพื่อให้ผู้คนเกิดความ Activeรายการ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จิณห์จุฑา ชูสินในปัจจุบันเด็กที่เกิดมาย่อมไม่มีคนดูแล และพ่อ แม่ ไม่มีเวลาคอยเลี้ยงดูลูก หรือทำกิจกรรมกับลูก ไม่มีการสอน การเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามที่ควร จึงทำโครงการนี้เพื่อเด็ก "ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน" ให้เด็กมีการพัฒนาเติบโตขึ้นไปในชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์ การออกแบบมีวิธีการดำเนินงานหลักคือ ศึกษา รวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหา กำหนดกิจกรรมต่างๆ ในดครงการเพื่อนำมาวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและหาพื้นที่ตั้งที่เหมาพสม เพื่อนำมาสู่ขั้นตอนการออกแบบในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ พัฒนททางด้านร่างกาย พัมนาด้านสติปัญญา และส่วนอื่นๆที่จำเป็นต่อผู้ใช้สอยภายในโครงการเพื่อให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดรายการ สถาปัตยกรรมสำหรับผู้สูงอายุในสังคมยุคดิจิทัล : ศูนย์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และสนับสนุน ผู้สูงอายุสู่สังคมยุคดิจิทัล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ฐิติวัชร์ หงษ์ไทยจากข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในระดับสุดยอดคือมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าจำนวนวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวน การเกิดและการตายที่ลดลง ผู้สูงอายุจึงกลายเป็นกลุ่มประชากรหลักในสังคม แต่ด้วยสุขภาพและสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ และสนับสนุนคุณภาพชีวิต จากกลุ่มวัยอื่นๆ มากเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การเข้ามามีบทบาทของอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือก กำลังเข้ามาเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญที่ช่วยให้กลุ่มวัยอื่นๆ สามารถที่จะดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ง่ายและสะดวกขึ้น แต่จากการสำรวจข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบว่าผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำรงชีวิตประจำวันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ สื่ออนไลน์ และตัวอย่าง กรณีศึกษาต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทดลองและกำหนดแนวคิดในการออกแบบเพื่อนำไปสู่การออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมต่อไปรายการ การรับรู้ความรุนแรงผ่านงานสถาปัตยกรรม : พิพิธภัณฑ์ความรุนแรง(Sripatum University, 2565) สุภัตตรา รอดมีเนื่องด้วยความรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ทุกช่วงอายุ และทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกจุด และเป็นปัญหาสะสมเพิ่มขึ้นในสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาและค้นคว้าในประเด็นของปัญหาความรุนแรงในสถาบันครอบครัวในปัจจุบันกับสถาปัตยกรรมรายการ ชาวอาข่า : ศูนย์การเรียนรู้ และส่งเสริมอาชีพชาวอาข่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ณัฐภูมิ บุญเนตรชาวอาข่าเป็นกลุ่มชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง มักตั้งถิ่นฐานอยู่ตามาภคเหนือของประเทศไทย มีวัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ที่น่าสนใจ ซึ่งชาวอาข่ายังมีปัญหาดกี่ยวกับชุมชนหลายด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และความเข้าใจแบผิดๆของบุคคลภายนอกที่มีต่อชาวอาข่า จึงเป็นที่มาของดครงการเพื่อช่วยส่งเสริมความรู้ ความสามารถ ให้กับชาวอาข่า และเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตความเป้นของชาวอาข่าให้กับคนไทยและนักท่องเที่ยวได้เข้าใจชาวอาข่ามากขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ใช้วิธีการศึกษาโดยใช้หลักการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเริ่มจากกำหนดขอบเขตการศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา แล้วจึงดำเนินการรวบรวมข้อมูล ศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์โปรแกรม โครงการ วิเคราะห์และเลือกที่ตั้งโครงการ สังเคราะห์แนวความคิดในการออกแบบ และดำเนินการออกแบบรายการ สถาปัตยกรรมกับการออกกำลังกาย : การออกแบบพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมเพื่อการออกกำลังกาย(Sripatum University, 2565) จิรวุฒิ พ่อหารการออกกำลังกายในปัจจุบันนั้น ผู้คนมักจะคิดถึงแต่ Fitness Center หรือ การวิ่งมาราธอน ซึ่งแต่ละที่มักจะเป็นแค่ห้องสี่เหลี่ยมและมีอุปกรณ์ในการออกกำลังกายมาตั้งหรือวิ่งตามทางถนนแต่จะเป็นยังไงถ้าหากเป็นตัวสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวสร้างการออกกำลังกายขึ้นมาด้วยตัวเองไม่ได้เป็นแค่ห้องแต่เป็นทั้งตัวอาคารที่สามารถ ออกกำลังกายได้รายการ สถาปัตยกรรมผ้าหมี่ขิดประยุกต์ : ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียง(Sripatum University, 2565) อัฐพงษ์ วงขีลีชุมชนบ้านเชียงมีประวัติการค้นพบการใช้ผ้าหมี่ขิดมายาวนานและมีประวัติการค้นพบเกี่ยวกับมรดกโลกทำให้มีรู้จักกันให้แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ประจำ จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียงมีนักท่องเที่ยวแค่คนในท้องถิ่นใกล้เคียง เพราะตัวชุมชนห่างไกลจากตัวเมืองมาก ทำให้การท่องเที่ยวสำหรับคนต่างจังหวัด หรือต่างชาติ นั้นมีเวลาท่องเที่ยวค่อนข้างจำกัดเวลา ไป-กลับ และภายในชุมชนขาดแหล่งที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างจังหวัดและต่างชาติรายการ สถาปัตยกรรมกับงานฝ้ายทอไหมอีสานใต้ : ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอไหม จังหวัดบุรีรัมย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จิราพร สุนทรพงค์โครงการศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอไหม เป็นพื้นที่ใช้งานเพื่อต้องการช่วยเหลือและแก้ปัญหาเรื่องรายได้ของคนในชุมชน รวมถึงส่งเสริมและอนุรักษ์งานหัตถกรรมผ้าไหมของท้องถิ่นให้คนรุ่นใหม่ เห็นถึงคุณค่าและฟื้นฟูให้พัฒนาต่อไป เริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตผ้าไหมตั้งแต่การเลี้ยงไฟม ปลูกต้นหม่อน การวิเคราะห์การใช้พื้นที่ในขั้นตอนการผลิตในรูปแบบต่างๆในการออกแบบเพื่อการใช้งานของพื้นที่อย่างคุ้มค่าและเกิดสภาวะน่าสบาย นำมาสู่การออกแบบโครงการ ผลจากการศึกษาทำให้เข้าใจถึงความต้องการเชิงที่ว่างในการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์และผู้ผลิต รวมถึงบรรยากาศ ในขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันเป็นสำคัญ และสามารถนำไปพัฒนาประยุกต์กับการออกแบบโครงการอื่นได้อย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมากที่สุดรายการ การก่อรูปสถาปัตยกรรมจากนามธรรม : โครงการช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายอย่างเซน(Sripatum University, 2565) ชวิศา พุ่มจันทร์การศึกษาในเรื่องของหลักนิกายเซนมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากหลักปรัชญา ZEN และต้องการออกแบบพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในด้านการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้ที่มีสภาวะความเครียดและบุคคลทั่วไป เนื่องจากปัญหาความเครียดของคนในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นรายการ สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ไทยประยุกต์ : โรงแรมไม้ไผ่(Sripatum University, 2565) กนกวรรณ แสงสุวรรณดีไผ่ วัสดุก่อสร้างที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ในปัจจุบันมีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์น้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างเยอะแยะมากมาย ซึ่งวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นล้วนแล้วแต่ทำร้ายธรรมชาติ ส่งผลให้นักออกแบบ เริ่มมองหาวัสดุใหม่ ๆ ที่คงทนแข็งแรง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไผ่ จึงเป็น วัสดุทางเลือกในอนาคตที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง ด้วยความคงทนแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงส่งผลให้ไผ่สามารถนำมาประยุกต์ตามโครงสร้างต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึง สามารถปลูกทดแทนได้ภายระยะเวลา 3 ปี การดูแลก็ไม่ยากนักรายการ การออกแบบเพื่อคนตาบอด : โรงเรียนคนตาบอด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ศิวา ชุมฝางในปัจจุบันยังมีเด็กตาบอดอีกมากที่ไม่มีโอกาสได้เข้าศึกษาตามการศึกษาขั้นพื้นฐานการเรียนรู้ ทำให้ขาดโอกาสในด้านต่างๆ เลยคิดว่าถ้ามีพื้นที่คนตาบอดสามารถได้รับการพัฒนาสักยภาพในด้านต่างๆนั้นจะทำให้คนตาบอดสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงได้มีการศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของคนตาบอด เพื่อนำไปสู่การออกแบบที่เหมาพกับคนตาบอดในวัยเรียน ด้วยการสร้างพื้นที่ที่คนตาบอดสามารถสร้างสังคมของคนตาบอดด้วยกันเอง และมีพื้นที่พัฒนาในด้านต่างๆ การศึกษานี้ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับคนตาบอดในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเรียน ด้านอาชีพพที่คนตาบอดสามารถทำได้ จึงได้มีการทดลองพัฒนารูปแบบการเรียนของคนตาบอดในรูปแบบต่างๆ ว่ารูปแบบไหนที่เหมาะสมกับคนตาบอดที่สุด โดยมีการนำเรื่องประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่ของคนตาบอดมาเป็นเครื่องมือการออกแบบ และเรื่องของการเลือกใช้วัสดุอาคารที่จะสามารถตอบสนองต่อประสาทสัมผัสคนตาบอดและมีความปลอดภัยมากที่สุดรายการ สถาปัตยกรรมกับการฟื้นฟูงานประณีตศิลป์ : ศูนย์การเรียนรู้งานประณีตศิลป์กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พัฒนฉัตร แก้วเวียงในสถานการณ์ปัจจุบันจะพบได้ว่าปัญหาการสูญหายของ งานประณีตศิลป์นั้นพบได้มากขึ้น จึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งแบบเอกสารและหลักฐานทางวัตถุโดยเน้นเป็นงานประณีตศิลป์ทางภาคกลาง เพื่อศึกษาพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงรวมไปถึงการอนุรักษ์ให้คงอยู่ถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาข้อมูลดังกล่าวเพื่อการคงอยู่ของงานประณีตศิลป์ จึงมีการส่งต่อความรู้จากจากคนรุ่นเก่าถึงคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ให้มีความเข้าถึงง่ายมีรูปแบบการศึกษาที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ จึงศึกษาพื้นที่ทำงานลวดลายไทยที่มีอยู่ในงานประณีตศิลป์รวมเข้ากับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมแนวไทยร่วมสมัย จากแนวคิดข้างต้นเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ลักษณะทางสถาปัตยกรรมจึงสะท้อนคุณค่า และเอกลักษณ์ของงานประณีตศิลป์ยังกระตุ้นคนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวให้หันมาสนใจเห็นถึงคุณค่างานประณีตศิลป์เพิ่มมากขึ้นผ่านงานสถาปัตยกรรม