08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู 08. ผลงานนักศึกษา โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 126
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กล้องและการถ่ายภาพ : หอจัดแสดงการบันทึกความทรงจำกับภาพถ่าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) นนท์ นามมงคลในปัจจุบันการถ่ายภาพนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการบันทึกช่วงเวลาสำคัญที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ถ่านเพื่อย้ำเตือนความจำ หรือถ่ายเพื่อการทำงานเองก็ตาม กล้องถ่ายภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันเองนั้นก็มีความหลากหลาย ความเข้าใจในเรื่องของกล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน ด้วยข้อจำกัดของกล้องและการใช้งานที่เป้นเอกลักษณ์ก่อให้เกิดพฤติกรรมการถ่ายภาพที่แตกต่างและน่าสนใจ จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้องแต่ละชนิดและขั้นตอนการบัทึกภาพ รวมถึงวิธีการได้มาซึ่งภาพถ่ายทำให้ได้มาซึ่งประเภทของกล้องและรูปแบบวิธีการถ่ายภาพที่มีการใช้งานปัจจุบัน เพื่อนำมาออกแบบพื้นที่ใช้งานและตัวอาคารเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพและถ่ายภาพได้รายการ การก่อรูปของสถาปัตยกรรมตามพฤติกรรมมนุษย์ : โครงการคอนโดมิเนียม สำหรับกลุ่มผู้ใช้ชีวิตคนเดียว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชลธิชา สิงห์ตุ้ยการศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากหลักการอยู่คนเดียวและความสงบต้องการออกแบบพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ในด้านการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้มีความจำเป็นในการอยู่อาศัยคนเดียว เนื่องจากปัญหาจากพฤติกรรมของมนุษย์และเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยวิธีการศึกษาจากแนวคิด หลักการ หรือองค์ประกอบสำคัญของนิกายเชนเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการคิดและพัฒนาทดลองการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากนามธรรมและรูปธรรม และศึกษาข้อมูลรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความส่วนตัวและได้คิดวิธีการออกแบบที่นำเรื่อง ธรรมชาติ ความเรียบง่าย ความสงบ ความว่าง ตัวแปรหรือปัจจัยที่ที่ก่อให้เกิดความเป็นส่วนตัวเพื่อผลต่อการรับรู้ภายนอกและภายใน คือ การลดทอนระดับทาคาร ที่กำบัง ระดับของตัวอาคาร ช่องเปิด ระยะเว้นช่องส่วนบุคคล เพื่อหาความเป็นส่วนตัวมาใช้ในโครงการรายการ การก่อรูปสถาปัตยกรรมจากนามธรรม : โครงการช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายอย่างเซน(Sripatum University, 2565) ชวิศา พุ่มจันทร์การศึกษาในเรื่องของหลักนิกายเซนมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากหลักปรัชญา ZEN และต้องการออกแบบพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในด้านการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้ที่มีสภาวะความเครียดและบุคคลทั่วไป เนื่องจากปัญหาความเครียดของคนในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นรายการ การตีความพื้นที่ปฏิบัติธรรมสู่ สถาปัตยกรรมเจริญสติ : พื้นที่ภาวนา สติปัฏฐาน คนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พิทักษ์ แก้วเพ็ชรการปฏิบัติธรรม ในการความเชื่อทางพระพุทธศาสนาถือเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสุขที่เป้นนิรันดร์ ในปัจจุบัน การปฏิบัติธรรม กลับกลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวจากคนรุ่นใหม่ สาเหตุหนึ่งนั้นมาจากการเข้าใจในความหมายของคำว่า ปฏิบัติธรรม บิดเบือนไปจากหลัก คำสอนของพระพุทธเจ้า และการเข้าถึงยากด้วยระเบียบและวิธีการ ในการปฏิบัติตนในสถานที่นั้นๆ จากการศึกษาประเด็นงานที่สนใจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติธรรม และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นำไปสู่ข้อสรุปของโครงการที่คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจความหมายของการปฏิบัติธรรม ได้โดยผ่าน space ที่ผ่านการตีความและให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ที่สามารถรับรู้ด้วย ตา หู จมูก ผิวสัมผัสเพื่อง่ายต่อการสื่อสารต่อคนรุ่นใหม่รายการ การตีความสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบร่วมสมัย : ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทลื้อจังหวัดน่าน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปราญชลี เมืองมูลสถาปัตยกรรมเดิมที่มีความงามเฉพาะและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัยเพื่อให้มีสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกันได้ จึงได้รวมสองประเด็นที่นำมาซึ่งห้วข้อการตีความสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบร่วมสมัย ศึกษาสถาปัตยกรรมของชาวไทลื้อ ทั้งรูปทรง การจัดผัง การใช้งานและวัสดุของอาคาร จึงเกิดแนวความคิดกับคำว่า "ยืดหยุ่น" ของงานสถาปัตยกรรมไทลื้อที่มีการปรับเปลี่ยนได้ ทั้งการสร้าง การใช้งานอาคาร และวัสดุที่ใช้ในการสร้าง โดยนำมาถ่ายทอดในการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่รายการ การถักทอและสถาปัตยกรรม : ศูนย์วัฒนธรรมภูไทย ผ้าไหมแพรวา(Sripatum University, 2565) แพรพลอย โคตมูลปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์กระบวนการทอผ้าเป็นศิลปะหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ในสมัยโบราณทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อใช้ในการนุ่งหุ่ม โดยใช้จากทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ มนุษย์รู้จักการทำเชือกและตาข่ายที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือกแล้วนำมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงาม และมีความ ทนทาน ใช้ในพิธีต่าง ๆรายการ การทดลองความขัดแย้งในงานสถาปัตยกรรม : พื้นที่ขัดแย้งทางองค์ประกอบและวัฒนธรรม(Sripatum University, 2565) มะหะหมัดเอาฟา โอมณีความขัดแย้งและซับซ้อนในงานสถาปัตยกรรมเริ่มเลือนลางไปจากรูปแบบงานสถาปัตยกรรมกระแสหลักสมัยใหม่ที่มักจะไม่ให้ความสำคัญกับความซับซ้อนของการปะทะกันระหว่างสถาปัตยกรรมที่มีประวัติศาตร์กับรูปแบบสถาบัตยกรรมสมัยใหม่แต่กลับไปยกย่องสิ่งที่เรียบง่ายและเป็นพื้นฐานการลดทอนแบบมักง่ายและละเลยความหลากหลายที่รุ่มรวยซับซ้อนไปอย่างน่าเสียดายดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและวิเคราะห์ประเด็นในการทดลองเชิงสถาปัตยกรรมที่ถอดรูปแบบความขัดแย้งในงานสถาปัตยกรรมจากอดีต เชื่อมโยงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมรายการ การทดลองพื้นที่เกษตรภายใต้ข้อจำกัดของเมือง : โครงการชุมชนเกษตรแนวตั้ง(Sripatum University, 2565) รังสิมันตุ์ สารตันการผลิตอาหารในเมืองยังเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่เมืองในปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทำได้ ทำให้เมืองต้องนำเข้าอาหารจากชนบท และนั่นอาจทำให้ความสดของผักเริ่มลดลงมากขึ้นจากการเดินทาง อีกทั้งลักษณะที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเกษตรกรรมในเมือง ดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจตัวอย่างรูปแบบของลักษณะการทำงานที่อยู่อาศัยในชุมชนเกษตรของชนบทเพื่อมาเป็นแนวทางในการออกแบบเมื่อเข้าสู่สังคมเมือง ว่าลักษณะของชุมชนเกษตรจะสามารถเปลี่ยนไปในลักษณะใดได้บ้างจากข้อจำกัดต่างๆ ของเมือง ผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้าและทดลองเชิงสถาปัตยกรรมในการออกแบบเพื่อหาแนวทางในการออกแบบลักษณะที่อยู่อาศัยที่เรียกว่าชุมชนเกษตรที่อยู่ในเมืองในรูปแบบของสถาปัตยกรรมรายการ การรับรู้ความรุนแรงผ่านงานสถาปัตยกรรม : พิพิธภัณฑ์ความรุนแรง(Sripatum University, 2565) สุภัตตรา รอดมีเนื่องด้วยความรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ทุกช่วงอายุ และทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกจุด และเป็นปัญหาสะสมเพิ่มขึ้นในสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาและค้นคว้าในประเด็นของปัญหาความรุนแรงในสถาบันครอบครัวในปัจจุบันกับสถาปัตยกรรมรายการ การศึกษาการออกแบบจากการเลี้ยงหอยสุราษฎร์ธานี : สถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงหอย อ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนิก เศรษฐ์ศิริรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวของมนุษน์ จากการสร้างเพื่อการดำรงชีวิต และ การสร้างเพื่อตอยสนองในการใช้ชีวิต ตามวิถีชีวิตของพื้นที่นั้นๆ ที่ดินถือเป็นส่วนสำคัญต่อการเกิดสถาปัตยกรรม จึงเห็นว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีพื้นที่หลุมลึกที่เกิดจากการขุดดินมาใช้ หรือ การขุดเพื่อทำเหมืองเอาแร่ธาตุ เมื่อหมดประโยชน์จึงถูกปล่อยทื้งร้างจำนวนมาก สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมรอบๆมีการใช้พื้นที่หลุมลึกแบบผืดๆอีกทั้งยังไม่มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำมาสู่การออกแบบตัวสถาปัตยกรรมให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและพื้นที่โดยนำเอาหลักการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในบ่อลึกใช้เป็นแนวความคิดในการออกแบบ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆรายการ การศึกษาการออกแบบจากวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี : เบิ่งแยงมูลมังเมืองอุบล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุรพันธ์ พิมรัมย์เนื่องจากอุบลราชธานีในปัจจุบัน มีพื้นที่ทางโบราณสถาน และ ศาสนสถานที่สำคัญต่างๆอาทิ แหล่งชุมชนเก่า โบราณสถาน ประติมากรรมทางศาสนา หรือ แหล่งประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิตการดำรงชีวิตในอดีต โดยอุบลราชธานีมีจะขึ้นชื่อในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรมชาติ เช่น ผาแต้ม สามพันโบก หาดสลึง แม่น้ำสองสี เป็นต้น โดยทั้งที่มีแหล่งประวัติศาสตร์มากมายกับไม่มีคนเชิดชูจนกลายเป็นแค่เกร็ดความรู้ของคนในตัวเมืองท้้งเรื่องวัฒนธรรมต่างๆ กับมีแค่บางอย่างที่ถูกยกมา ดังนั้นการรวบรวมวัฒนธรรมในอดีต มาจัดแสดงขึ้นใหม่อาจสร้างมูลค่าให้กับ สถานที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เลือกที่จะสร้างงานตัวอย่างให้ดูน่าสนใจและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดและชุมชนได้รายการ การศึกษาการออกแบบเหมืองแร่ในอำเภอตะกั่วป่า : แลเหมืองเมืองตะโกลา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ณัฐรียา ปรางจันทร์การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการศึกาาเรื่องการทำเหมืองแร่ดีบุก ที่พบในจังหวัดพังงา เพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่เน้นด้านการศึกษารูปแบบของเหมืองแร่ดีบุกในอดีต ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อยอดความรู้และเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับยุคเศรษฐกิจเหมืองแร่ดีบุก, วัฒนธรรมล วิถีชีวิตและรูปแบบของสถาปัตยกรรมบ้านเรือน พื้นที่และองค์ประกอบต่างๆภายในเหมืองและศึกษาประวัติศาสตร์ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ด้วยสาเหตุนี้จึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านการทำเหมืองแร่ดีบุกขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง และยังเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กลุ่มของคนในชุมชนย่านอำเภอตะกั่วป่า ส่วนหนึ่งเพื่อระลึกถึงความเป้นมาช่วงหนึ่งของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจก่อนเปลี่ยนผันเข้าสู่ยุคการท่องเที่ยวในปัจจุบันรายการ การศึกษานวัตกรรมไม้ : บ้านไม้เพื่อผู้ลี้ภัย(Sripatum University, 2565) อภิสิทธิ์ มาสะโถโครงการนวัตกรรมไม้ เป็นแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ไม้ ที่เป็นวัสดุที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยในอดีตจวบจนปัจจุบันได้มีงานสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างสรรค์มาจากไม้หลากหลายรูปแบบทั้งการสร้างเป็นที่พักอาศัย สถานที่ท่องเที่ยว หรือเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นบางอย่าง โดยทั้งหมดนี้ผู้ออกแบบก็ได้มีความสนใจในงานสถาปัตยกรรมเรือนไทยเป็นอย่างมากจึงได้นำเอาความเป็นไทยในด้านนี้มาพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์รายการ การศึกษารูปทรงทางสถาปัตยกรรมจากวัสดุโครงสร้างไม้ไผ่ : กรณีศึกษา การออกแบบปรับปรุงค่ายลูกเสือสาลิกา(Sripatum University, 2565) ปนัดดา แก้วบัวระภาวิทยานิพนธ์เรื่องการก่อรูปทรงทางสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการเกิดรูปทรงในรูปแบบรูปทรงเรขาคณิตและศึกษาความเป็นไปได้ของการรับน้ำหนักต่อกิจกรรมที่ต้องใช้งานกับไม้ไผ่โดยตรงเพื่อหาข้อด้อยของไม้ไผ่และหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาในจุดที่ไม้ไผ่ไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้รายการ การศึกษาออกแบบการพัฒนาสำหรับชุมชนกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี : ชุมชนกะเหรี่ยงพัฒนา 2019(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กมลชนก พันธุ์เจริญป่า ปัจจุบันนี้ได้ถูกทำลายไปมากสาเหตุหลักๆ มาจากนักท่องเที่ยวที่ผ่านมามุ่งตอบสนองแต่ความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ไม่นึกถึงความสำคัญของป่า แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่กับป่าได้โดยไม่ทำลายป่า ยังช่วยให้ป่าสมบูรณ์ คนกลุ่มนั้นคือ "ชาวกะเหรี่ยง" ที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ใช้ป่าแต่ไม่ทำลายป่า ดังนั้นเพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยว และกะเหรี่ยง เดินไปในทางเดียวกันคือการปกป้องระบบนิเวศของธรรมชาติให้คงอยู่ จึงเกิดชุมชนพัฒนากะเหรี่ยง 2019 ขึ้นเป็นการอนุรักษ์เผยแพร่วิถีชีวิตกะเหรี่ยง ให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ เพื่อธรรมชาติที่สมบูรณ์ และได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ทั้ง ป่า นักท่องเที่ยว และกะเหรี่ยงรายการ การศึกษาอาคารศิลปะในเชิงวัฒนธรรม : ไทลื้อ รีสอร์ต(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อรยา แก้วสุขวิทยานิพนธ์ ไทลื้อรีสอร์ท อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นดครงการที่จัดทำขึ้น เพื่อการตอบสนองนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพิ่มจำนวนที่พักแรม ให้เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว ที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการตอบสนอง แนวคิด การเพิ่มมูลค่า ให้กับการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โครงการไทลื้อรีสอร์ท เป็นโครงการที่มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อน และการทำสปา ตั้งอยู่ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน อยู่ใกล้กับหมู่บ้านไทลื้อ บ้านดอนมูล ซึ่งเป็นหมู่บ้านไทลื้อที่คงความเป็นไทลื้อไว้ และมีการเป็นอยู่แบบไทลื้อให้ได้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทางโครงการได้นำกิจกรรม หรือการเป็นอยู่แบบไทลื้อมาผสมผสานกับโครงการ ให้ผู้ที่เข้ามาใช้โครงการ ได้ใช้บริการอีกด้วยรายการ การศึกษาแนวทางการเปลี่ยนรูปสถาปัตยกรรมขิโน-โปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต : โรงแรมชิโน-โปรตุกีส ภูเก็ต(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พรสินี ช้อนกลางการศึกษาวิทยานิพนธ์แนวทางการเปลี่ยนรูปสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต โดยเริ่มจากการสนใจเรื่องประเด็นทางรูปแบบสถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องราวและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ วิถีชีวิตของผู้คน เชื้อชาติ ที่ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมที่มีความผสมผสาน รวมถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ แบบ ชิโน-โปรตุกีส และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป้น 3 ยุค คือ ช่วงยุคแรก ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน ยุคที่สอง ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะนิโอคลาสสิก และยุคที่สามได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอาร์ตเดโคซึ่งแต่ละยุคมีลักษณะเฉพาะตัวรายการ การอยู่อาศัยร่วมกันของสุนัข และเจ้าของ : คอนโดมิเนียมเพื่อการอยู่ร่วมกันของสุนัขและเจ้าของอย่างเป็นสุข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปาลิตา ทองมากปัจจุบันคนในเมืองเริ่มรับเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้นเนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไปในสังคม สัตว์เลี้ยงเรื่มมีบทบาทในครอบครัวมนุษย์มากขึ้น ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่นิยมก็คือสุนัขและแมว โดยช่วงวัยของมนุษย์ที่นิยมเลี้ยงสัตว์ก็คือวัยมหาลัยและวัยทำงานมีสาเหตุจากความเครียดหรือความเหงาอันเนื่องจากการแยกตัวออกมาจากครอบครัวใหญ่เพื่อมาเรียนหรือมาทำงานในเมือง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นรวมถึงอาคารที่พักอาศัยรวมที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ แต่ที่พักอาศัยรวมเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เลี้ยงแค่แมว เนื่องจากมีเงื่อนไขการเลี้ยงดู การควบคุมและการดูแลง่ายกว่าสุนัข ทั้งนี้จึงสนใจที่จะศึกษาวิทยานิพนธ์การอยู่ร่วมกันของสุนัขและเจ้าของ จากการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของสุนัขและเจ้าของทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบกับการออกแบบกิจกรรมและสถาปัตยกรรมการอยู่อาศัยร่วมกันของสุนัขและเจ้าของรายการ การอยู่แบบครอบครัวขยาย : การอยู่อาศัยของครอบครัวขยายกับวิถีชีวิตสังคมเมือง(Sripatum University, 2565) รัฐวิฬห์ รักวงษ์หลายปีที่ผ่านมาครอบครัวไทยหลายครอบครัวประสบกับปัญหาต่างๆ ต้องรับมือกับการแข่งของแหล่งงานที่ให้ค่าตอบแทนสูงที่กระจุกตัวอยู่ในเมือง ตลาดแรงงาน ทำให้หลายคนยอมแลกกับการเดินทางที่การจราจรติดขัด ใช้เวลาในการเดินทางนาน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อเดือนที่สูง ปัญหาของแหล่งงานกับที่อยู่อาศัยในสังคมไทยเริ่มเด่นชัดมากขึ้น และค่าใช้จ่ายเพื่อเชื่อมต่อจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งทำได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลลำดับต้นๆ ที่หลายครอบครัวต้องตัดสินใจแยกออกจากครอบครัวใหญ่ของตัวเองมาอยู่ในจุดที่ใกล้กับแหล่งงานและสถานศึกษารายการ การออกแบบจากวัฒนธรรมอิสลาม : ศูนย์การค้าชุมชนอิสลาม(Sripatum University, 2565) จิรายุ แสงอาทิตย์การศึกษารูปแบบวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมอิสลาม ซึ่งสถาปัตยกรรมอิสลามเป็นศาสตร์ที่สะท้อนการดำรงชีวิตของคนมุสลิม สถาปัตยกรรมอิสลามส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมศาสนา "มัสยิด" ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกิจกรรมของชาวมุสลิม โดยสถาปัตยกรรมอิสลามมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่ถูกใช้ต่อ ๆ กันมา จนเกิดเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอิสลาม เช่น โดม หออาซานลวดลายเรขาคณิต โค้งอาร์ก สวนอิสลาม เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดในสถาปัตยกรรมอิสลาม