LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 242
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีของศัลยแพทย์เสริมความงาม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) มชิมา ราชกิจการศึกษาเรื่อง "การทำประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแเพทย์เสริมความงาม : ศึกษาเฉพาะกรณีของศัลยแพทย์เสริมความงาม" โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามกับต่างประทศ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยถึงความสำคัญของปัญหาอันเกี่ยวกับการกระทำเวชปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามแล้วเกิดความผิดพลาดทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บริการนำไปฟ้องเป็นคดี เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมากรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สานิต กระต่ายทองกฎหมายฟื้นฟูกิจการเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ว่าจะกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ประสบปัญหายุ่งยากทางการเงินแล้วย่อมชอบที่จะเลือกใช้กฎหมายฟื้นฟูกิจการเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของตนได้ การศึกษา ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วน เป็นการศึกษาให้ทราบถึงกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วนของต่างประเทศ เปรียบเทียบกับกฎหมายฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ของไทย จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฟื้นฟูกิจการของต่างประเทศให้โอกาสลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหากประกอบการค้าขายหรือประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่คำนึงถึงขนาดของกิจการหรือโครงสร้างทางกฎหมายของลูกหนี้ ส่วนกฎหมายฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายไทยนั้นให้สิทธิลูกหนี้บางประเภทเท่านั้นที่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้รายการ การใช้สิทธิในงานลิขสิทธิ์เป็นหลักประกันการชำระหนี้และการบังคับคดี(Sripatum University, 2553-04-30) อนุวัตร์ โกวิทวัฒนชัยลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ไม่มีรูปร่างแต่มีราคา สิทธิในงานลิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองทันทีที่ปรากฏแก่สาธารณชนโดยการเผยแพร่และโดยที่ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่มีมูลค่าและราคา ประเทศต่างๆ ในหลายๆ ประเทศจึงนำเอางานลิขสิทธิ์มาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยนำสิทธิในลิขสิทธิ์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในอันที่จะให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนรายการ ปัญหากฎหมายในการจัดตั้งธนาคารที่ดินตามกฎหมายไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) นันท์นภัส บุญยวีร์วัชที่ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส าคัญต่อการด ารงชีวิตของประชาชน แต่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีปริมาณอยู่อย่างจ ากัดในขณะที่จ านวนประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการ ให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพมีเพิ่มมากขึ้น โดยที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่าเกษตรกรประสบความเดือดร้อนในเรื่องที่ดินท ากิน เกษตรกรจ านวนมากไม่มีที่ดินท ากิน เป็นของตนเองหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือต้องสูญเสียที่ดินท ากินและตกอยู่ ในฐานะผู้เช่าหรือลูกจ้างทางการเกษตร ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาส าคัญของชาติที่ส่งผลกระทบ ถึงเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ จึงเป็นการสมควรที่รัฐจะต้องท าการแก้ไขเรื่องนี้โดยเร็วรายการ ปัญหาหลักปฏิบัติแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเล(2555-11-21T07:14:59Z) สรรธาน ภู่คำธุรกิจประมงทะเลเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้าน นอกจากนี้แล้วธุรกิจประมงทะเลยังมีผลทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง และ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงานปัจจุบันผู้ประกอบการหรือนายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงาน เนื่องจากค่าแรงถูก เพื่อเสริมแรงงานส่วนที่ขาดแคลน ด้วยเหตุผลนี้แรงงานคนเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนี้...รายการ ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศของไทย : ศึกษากรณีการส่งมอบ(2555-11-21T07:24:36Z) สวรินทร์ เสาวคนธ์ปัจจุบันการซื้อขายสินค้ามิได้จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้มีการติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และเมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไม่ว่าของประเทศใด มักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนำกฏหมายมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฏหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) และตัวแทนของประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (CISG) ขึ้น เพื่อให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมีความเป็นเอกภาพ อนึ่ง บทบัญญัติของ CISG ดังกล่าวยังได้รับรองสถานะของธรรมเนียมปฏิบัติของคู่สัญญา เช่น INCOTERMS ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าอันเป็นกรณีที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้หยิบยกขึ้นมาศึกษาด้วย...รายการ ความรับผิดในผลิตภัณฑ์ยา(2555-11-21T07:26:22Z) นิสาชล ตรีไพบูลย์ยาเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำรงชีพของมนุษย์ เมื่อเกิดความเจ็บป่วยมนุษย์ต้องใช้ยาในการรักษาให้หายจากโรค แต่หากยาที่ใช้ในการบรรเท่าความเจ็บป่วย กลับก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย และชีวิตของมนุษย์ เมื่อผู้บริโภคได้รับความเสียหายก็ย่อมที่จะได้รับการชดใช้เยียวยาในทางกฎหมายให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากที่สุด...รายการ มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก(2555-11-21T07:31:14Z) สุธีเทพ ศักดิ์พันธ์พนมวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มัวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งใน พ.ศ. 2550 ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสามประกอบด้วยธุรกิจสงวน จำนวน 21 รายการ เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่คนต่างด้าวก็ยังคงสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยได้เต็มที่ด้วยการใช้วิธีการถือหุ้นโดยคนไทย จึงทำให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยสามารถประกอบธุรกิจค้าปลีกได้โดยไม่เข้าข้อยกเว้น ทั้งนี้ทำให้ธุรกิจค้าปลีกต่างด้าวขนาดใหญ่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาประเทศไทยเองก็ยังไม่มีกฏหมายที่มาดูแลควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะที่ผ่านมาได้นำเอากฏหมายด้านผังเมืองและควบคุมอาคารมาใช้ในการจำกัดการขยายสาขา และพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ก็ไม่สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีช่องโหว่ของกฏหมายอีกทั้งกฏหมายที่นำมาใช้นั้นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ทำให้ค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย หรือโชวห่วยได้รับผลกระทบอย่างมากจึงต้องปิดกิจการไป...รายการ มาตรการทางกฎหมายในการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555-11-21T08:58:25Z) จิรพันธ์ นันศรีปัจจุบันสหภาพยุโรปได้นำเข้าสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปริมาณสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อสืนค้าจากเมืองไทย จึงได้รับผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็อทรอนิกส์ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีสารพิษเป็นส่วนประกอบในการผลิต และเมื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเสื่อมสภาพจึงเกิดปัญหาการสะสมของมลพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อ มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปจึงได้ออกมาตรการในการควบคุมการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยออกระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รายการ การแก้ไขกฏหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ให้รองรับการทำวิศวกรรมย้อนกลับสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภายใต้กรอบ WIPO Copyright Treaty(2555-11-21T09:12:12Z) ศิวพร เสาวคนธ์ในปัจจุบับการทำวิศวกรรมย้อนกลับสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าและทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาต่อยอดจากโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้เนื่องจากการทำวิศวกรรมย้อนกลับเป็นกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงรหัสต่างๆที่ผู้สร้างโปรแกรมเขียนขึ้น จึงทำให้ผู้ใช้งานในโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถดัดแปรงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้หลายอย่าง และยังสามารถทำความเข้าใจกับวิธีการสร้างสรรค์หรือแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นอีกด้วย ...รายการ วิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551(2555-11-21T09:12:55Z) จักรพงษ์ บุญอ่ำพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 บัญญัติขึ้นเพื่อให้เป็นกฎหมายโดยตรงว่าด้วยความรับผิดในสินค้าไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ที่ยังไม่เคยปรากฎหลักเกณฑ์ในการตีความ เพื่อพิจารณาทางการศาลมาก่อน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อนำเสนอแนวทางในการพิจารณาหลักเกณฑ์ ลดปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร จากตำรา คำอธิบายกฎหมาย บทความและคำพิพากษาของศาล ...รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกันชีวิตบุคคลอื่น ศึกษากรณีการให้ความยินยอมในการทำประกันชีวิตบุคคลอื่น(2555-11-21T09:30:04Z) ทยาพร เศวตพิกุลจากการศึกษากฎหมายของไทย พบว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยลักษณะ 20มาตรา 863 บัญญัติว่า "อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประภันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด" หลักการตามมาตรานี้ถือว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย มิฉะนั้นสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างใด ซึ่งมาตรนี้สามารถนำมาบังคับใช้กับการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต เนื่องจากมาตรานี้ได้ถูกบัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ...รายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริหารเทศบาล มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา(Sripatum University, 2557-05-03) สพรรณชนก จรุณจิรพัฒน์มาตรา 18 ทวิ และมาตรา 48 จตุทศ (3) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 บัญญัติห้ามสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา แต่โดยเหตุที่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีคำนิยามหรือคำอธิบายความหมายของคำว่า "ส่วนได้เสียทางตรงหรือทางอ้อม" ไว้ จึงมีปัญหาในการใช้และการตีความของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่กำกับดูแลเทศบาล และต้องเป็นผู้สอบสวนและวินิจฉัยปัญหากรณีสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความหมายและขอบเขตการตีความบทบัญญัติดังกล่าว โดยศึกษาและวิเคราะห์จากแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้ทราบว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองสูงสุดได้ให้ความหมายและขอบเขตของบทบัญญัติดังกล่าวอย่างไร ใช้หลักการใดในการวินิจฉัยปัญหาการเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้บริหารเทศบาลในแต่ละประเด็น และเจตนารมณ์ที่แท้จริงของบทบัญญัติดังกล่าวควรเป็นเช่นไรรายการ สิทธิของบุตรบุญธรรม(Sripatum University, 2558-03-23) สิรคุณ พรรณนิตานนท์วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา "สิทธิของบุตรบุญธรรม" โดยมุ่งศึกษาถึงสิทธิที่ควรได้รับในทางกฎหมายเพื่อให้มีความทัดเทียมกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย โดยศึกษาเปรียบเทียบสิทธิของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสมาพันธรัฐสวิสรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน(Sripatum University, 2558-05-26) ปริฉัตร กองหาโคตรวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ได้ขยายตัวอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบธุรกิจข้ามชาติ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มาดูแลควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะรายการ การเยียวยาผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม: ศึกษากรณีมลพิษจากน้ำมัน(Sripatum University, 2558-06-30) จิฑาวัฒน์ ประสงค์กุลในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับมลพิษจากน้ำมัน แต่ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน นับวันจะเกิดขึ้นโดยลักษณะที่รุนแรง ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาจนเป็นปัญหาระดับประเทศ จึงถือว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญของชาติรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองคนเร่ร่อน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557(Sripatum University, 2559) สุดารัตน์ แก้วกำเหนิดวิทยานิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการที่คนต้องออกมาเร่ร่อน เน้นวิเคราะห์ถึงมาตรการของรัฐในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่คนเร่ร่อน โดยใช้นิติวิธี (Juristic Method) ในการตรากฎหมายเพื่อให้การช่วยเหลือและสงเคราะห์ต่อกลุ่มคนดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายมหาชนในลักษณะต่าง ๆ โดยเหตุที่พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา หรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศรายการ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ศรัณยู โสสิงห์วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน หลักการและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ อีกทั้ง เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจในต่างประเทศ และประเทศไทย ตลอดจนเพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการบำบัดผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูและการดูแล ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาปัญหาอันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ การบำบัดผู้ติดยาเสพติดรูปแบบสมัครใจได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ตามมาตรา 70(Sripatum University, 2559) บุษบา บรรหารวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และหลักการที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพและหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักประโยชน์สาธารณะ และหลักความพอสมควรแก่เหตุและหลักการใช้ดุลพินิจ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรที่ดิน ทั้งประเทศไทยและในต่างประเทศ และศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อีกทั้งยังศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543รายการ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ภูมิชิสส์ ข้างโตวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานะของกฏหมายลำดับรอง ปํญหาบทบัญญัติกฏหมายและการบังคับใช้กฏหมายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม การศึกษาพบว่า กฏกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 มีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 ทำให้เกิดปัญหาการบังคับใช้กฏหมายหลายด้าน ได้แก่การกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมายของสถานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งการละเลยต่อหน้าที่ขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฏหมายกำหนด ซึ้งเป็นการกระทำความผิดทั้งทางปกครอง ทางอาญาและทางแพ่ง