LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 242
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ELECTRIC VEHICLE UPTAKE IN THE KINGDOM OF THAILAND: ANALYSIS USING ANALYTIC HIERARCHY PROCESS(Sripatum University, 2561) PAULINO MENDOZAPressures on climate change and dwindling oil reserves have forced nations to start the switch from conventional engine vehicles to electric-driven ones. Government and OEMs drive and encourage the market to make the switch. Some countries have successfully introduced the usage of electric vehicles by studying which factors and criteria are important. In doing so, they have introduced policies and initiatives making electric vehicles more desirable to own. Thailand is also determined to usher in the use of electric vehicles in the Kingdom. The government formed a new agency EVAT to oversee and make policies to implement this in the country. Whether Thai consumers buy and accept EV cars is a big question mark and remains a complex decision-making choice. By using Analytic Hierarchy Process, this paper gives a systematic analysis for defining the main factors involved in the uptake of electric vehicles in the Kingdom of Thailand.รายการ กฎหมายจราจรทางบกเพื่อการคมนาคมขนส่งในประชาคมอาเซียน:ศึกษาเฉพาะกฎหมายของประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) พงค์นเรศ ศิริเสถียรการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหากฏหมายจราจรทางบกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติจารจรทางบก พ.ศ.2522 และความตกลงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน คือ ความตกลงว่าด้วยการยอมรับในอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศที่ออกโดยกลุ่มประเทศอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการยอมรับหนังสือรังรองการตรวจสภาพรถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์สำหรับรถบรรทุกสินค้าและรถบริการสาธารณะที่ออกโดยกลุ่มประเทศอาเซียน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรายการ กฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่สัญญา กรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วีรพัฒน์ พลศรีสัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งในบรรพ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยตามมาตรา 572 วรรคแรก สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่าที่ควร เช่าซื้อเป็นสัญญาที่นิยมทำกันแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับโดยตรงกับสัญญาเช่าซื้อเพียงไม่กี่มาตรา ทำให้ต้องนำหลักกฎหมายอื่นมาปรับใช้กับนิติสัมพันธ์ของสัญญาเช่าซื้อด้วย ผู้เขียนจึงได้ทำการวิจัยจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 รวมทั้งหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รายการ กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีผลกระทบต่อธุรกิจประกันวินาศภัย(Sripatum University, 2566) จริยา ทองมีวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเฉพาะ กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีผลต่อธุรกิจประกันวินาศภัย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่สำคัญคือการสร้างมาตรการเพื่อช่วยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือ การสร้างมาตรการในการติดตามเส้นทางการฟอกเงินโดยผ่านกระบวนการรายงาน การบันทึกข้อเท็จจริง และการแสดงตน โดยได้กำหนดหน้าที่ให้กับบริษัทประกันวินาศภัย ในการรายงานธุรกรรมที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฏกระทรวง แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หนึ่งในธุรกรรมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ดังกล่าว คือ "ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย"รายการ กฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ตวงรัตน์ จุมปาแฝดวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเรื่องของกฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน เนื่องจากการค้าขายในกลุ่มอาเซียนนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นผู้ค้าหรือผู้ประกอบการและผู้บริโภค จึงนำไปสู่ปัญหาการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มอาเซียนนี้จะมีสถานะของการเป็นผู้บริโภคเหมือนกัน ซึ่งหากการบริโภคสินค้าหรือการบริการแล้วพบว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค เกิดเป็นประเด็นปัญหาว่าจะใช้กฎหมายหรือมาตรการใดในการคุ้มครองผู้บริโภค ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน คำนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียนนั้น เนื่องด้วยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามไว้ ส่งผลให้แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนนำกฎหมายภายในของตนใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งส่งผลเกี่ยวกับความชัดเจนและประสิทธิภาพในคดีคุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในกลุ่มอาเซียน (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน เนื่องด้วยในปัจจุบันการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ อาจมีสินค้าและบริการต่าง ๆ อาจมีบางกรณีที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการซื้อขายและแลกเปลี่ยน อันนำมาสู่กรณีพิพาทและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัญหานี้เนื่องด้วยแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะบังคับใช้ภายในประเทศของตน จึงต้องการให้มีการนำกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นใช้บังคับในกรณีพิพาทเกี่ยวกับประชากรหรือผู้บริโภคที่เป็นประชาชนของประเทศตน แต่กฎหมายของแต่ละประเทศย่อมมีการบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้บังคับในประเทศของตน จึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ภายในประเทศของตน (3) ปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญาของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน เนื่องด้วยข้อกำหนดในการทำสัญญาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่เน้นการประกอบธุรกิจที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาที่ฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าภายในประเทศของตน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้เป็นผู้บริโภคในประเทศของตนหรือภายนอกประเทศของตนก็ได้ รูปแบบของสัญญาจึงเป็นไปในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคภายในประเทศของตน จึงส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางเกี่ยวกับกฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน ในส่วนของนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน สิทธิผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน และการทำสัญญาของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียนรายการ กฎเกณฑ์และมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ทรงพล สงวนจิตรค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นมาตรการสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายแต่หลักเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในประเทศไทยยังคงไม่เป็นระบบ ขาดความชัดเจนและเหมาะสมส่งผลให้การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายที่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิที่ดีเพียงพอเช่น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน อนามัย เสรีภาพและสิทธิอื่น ๆ และส่งผลให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่เข้ามาสู่กระบวนการเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หากปล่อยให้การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีค้ามนุษย์ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เหมาะสมและเป็นธรรม ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้เสียหายลดลงยิ่งกว่าเดิม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสหภาพยุโรป และกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในระบบกฎหมาย Common Law และระบบกฎหมาย Civil Law โดยพบว่าประเทศในระบบกฎหมาย Common Law เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมีการกำหนดเรื่อง ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้ในการดำเนินคดีค้ามนุษย์ด้วยเพื่อเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย อีกทั้งมีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่มีพฤติกรรมร้ายแรง ชั่วร้าย ทารุณกรรมหรือกดขี่ข่มเหงโดยขาดมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงต่อผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังไม่มีแนวทางที่แน่นอนและชัดเจน ส่งผลให้การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในแต่ละคดีมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนแตกต่างกันมากและไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้การใช้บังคับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 35 ขาดประสิทธิภาพจึงเห็นควรเสนอให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการแยกค่าสินไหมทดแทนตามลักษณะของความเสียหายแต่ละประเภทกำหนดรายการที่ใช้สำหรับตรวจสอบและรวบรวมตัวอย่างของค่าสินไหมทดแทนประเภทต่าง ๆ อีกทั้ง กำหนดกลไกของการตรวจสอบติดตามประเมินผล (Follow-up Mechanism) ให้สอดคล้องกับแนวทางที่ได้เสนอแนะมาในวิทยานิพนธ์นี้ด้วยรายการ กฏหมายล้มละลาย : ศึกษากรณีข้าราชการถูกฟ้องล้มละลาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พรพิมล มินทนาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฏหมายล้มละลาย กรณีข้าราชการถูกฟ้องล้มละลายโดยกฏหมายบัญญัติคุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นข้าราชการว่าต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย นอกจากไม่ได้เป็นการช่วยเหลือเจ้าหนี้ที่จะได้รับการชำระหนี้จากข้าราชการแล้ว ยังทำให้ข้าราชการผู้นั้นขาดรายได้ที่จะนำไปชำระหนี้และดำรงชีพของตนเองและครอบครัว อันทำให้ตกเป็นภาระของสังคมต่อไป หากจะกำหนดให้บุคคลล้มละลายสามารถรับราชการต่อไปนั้น ก็จะต้องปรับปรุงกฏหมายระดับพระราชบัญญัติต่างๆที่กำหนดมีให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งรวมถึงการแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 34(6) กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรของรัฐ และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483รายการ การกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดที่กระทำต่อเด็กและเยาวชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) นภาวรรณ ปานศรีแก้วในปัจจุบันกรณีการทำร้ายร่างกายเด็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถูกกระทำโดยบุคคลในครอบครัวของตัวเอง ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี กรณีการทำร้ายร่างกายเด็กนั้นยังไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นเหตุเพิ่มโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญาแต่อย่างใด ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเรื่องของการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในกรณีการทำร้ายร่างกายเด็กโดยพิจารณาถึงหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ พิจารณาจากอายุของผู้ถูกกระทำ , พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ของผู้กระทำผิด รวมทั้งยังพิจารณาถึงผลของการกระทำเพื่อให้การกำหนดเหตุฉกรรจ์ในกรณีการทำร้ายร่างกายเด็กเป็นไปตามหลักสัดส่วนของการลงโทษอย่างเหมาะสมรายการ การควบคุมธุรกิจการพนันในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีธุรกิจการพนันออนไลน์(Sripatum University, 2566) สุชารัตน์ คำภีรานนท์ในยุคโลกาภิวัฒน์เช่นทุกวันนี้ทำให้การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น การเข้าถึงโลกออนไลน์สามารถทำได้ทุกสถานที่ทุกเวลา ธุรกิจพนันออนไลน์นับเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคทั่วโลกควบคู่ไปกับการเจริญก้าวหน้าของเทคโนโสยีสารสนเทศ ทั้งนี้อาจเนื่องจากความง่ายในการเข้าถึงโลกออนไลน์ ความสะดวกในการเล่นและความหลากหลายของรูปแบบพนันออนไลน์ แม้ในหลายประเทศจะอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจพนันออนไลน์ที่ถูกกฎหมายได้ แต่สำหรับประเทศไทยการพนันออนไลน์ยังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย รัฐไม่อนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจการพนันออนไลน์ได้ แต่ในความเป็นจริงกลับยังพบว่ามีการลักลอบเล่นพนันอนไลน์กันอยู่มากมาย แม้จะมีพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องใช้บังคับ แต่ก็ยังมิอาจจัดการกับปัญหาการพนันออนไลน์และการพนันผิดกฎหมายอื่นให้ลดลงได้รายการ การควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) พลอยไพลิน บริบุญวงษ์บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ (By-law) หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ (Advantage) มักมีปัญหาในเรื่องการมีผลใช้บังคับ (Law Enforcement) เนื่องจากฝ่ายบริหาร (the executive) หรือฝ่ายปกครอง (the Administration) ไม่สามารถออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ซึ่งกลไกเร่งรัดให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองหรือกฎโดยเร็ว ตามนัยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (Act of Law Drafting and Evaluation of Legal Achievement B.E. 2562 (2019)) ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (Rights and Liberties of People) เนื่องจากประชาชนที่รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์ไม่สามารถควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนได้โดยตรง แต่จะทำได้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลและศาลเห็นสมควรเท่านั้น โดยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยในกรณีนี้จึงมุ่งเน้นการค้นหาแนวทางและนิติวิธีทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ โดยทำการศึกษาทั้งในส่วนของแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า มาตรการควบคุมภายในของฝ่ายบริหาร (Measure of Internal Control of the Executive ) ที่ใช้ในการควบคุมการออกกฎนั้นจะอาศัยกลไกของรัฐสภา (Parliamentary Mechanism) ซึ่งได้แก่ การตั้งกระทู้ถามรัฐบาล (Interpellation) และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (Vote of No-confidence) ตลอดจนการควบคุมและตรวจสอบโดยศาลยุติธรรม (Courts of Justice) หรือศาลปกครอง (Administrative Courts) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายนั้นอาจยังไม่เพียงพอต่อการให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนที่ต้องได้รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์ จึงจำเป็นต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการมีผลใช้บังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดให้มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ประชาชนสามารถควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอื่นใดได้โดยที่ประชาชนไม่ต้องฟ้องคดีต่อรัฐหรือเป็นคู่ความกับรัฐซึ่งการควบคุมในกรณีการมีผลใช้บังคับของกฎหมายโดยประชาชนนั้น อาจกำหนดให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (Council of State) ทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่เป็นอันสิ้นผลบังคับหรือมีผลใช้บังคับได้โดยไม่มีการออกกฎหรือการดำเนินการอื่นใดก่อน ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้ความเห็นทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ยังอาจกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน (Ombudsman) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ (Independent Organisation) ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนที่ต้องได้รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์จากการที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการออกกฎหรือไม่ดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการ โดยหากดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว อาจทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการออกกฎมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ภาครัฐและประชาชนส่วนรวมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายรายการ การควบคุมองค์กรภาคเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ชัยวัฒน์ โชติวงษ์วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสภาพปัญหาการควบคุมองค์กรภาคเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยศึกษากฎหมายต่างๆของประเทศไทยควรจะมีข้อกำหนดในการควบคุมองค์กรเอกชนอย่างไรเพื่อที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยเกี่ยวกับการควบคุมองค์กรภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมองค์กรเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเอาไว้โดยกว้างแต่ในกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีองค์กรที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากองค์กรเอกชนนั้น คือองค์กรเอกชนผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่มีความสำนึกในหน้าที่ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีแต่ความเห็นแก่ตัว มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภค เอารัดเอาเปรียบและความไม่เป็นธรรมที่นักท่องเที่ยวได้รับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะโดยการให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ในเรื่องของการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมดูแลกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยการกำหนดแผนงานที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจท่องเที่ยวและให้ความคุ้มครองแก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจหรือที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวรายการ การคุ้มครองผู้ซื้อบ้านจัดสรร กรณีความชำรุดบกพร่องที่เกิดหลังการส่งมอบ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) นฤมล บุญวัฒนกุลวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาถึงมาตรการทางกฏหมายในการคุ้มครองผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่พบความชำรุดบกพร่องภายหลังการส่งมอบ โดยศึกษาถึงความเป็นมาและลักษณะของกฏหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของบทกฏหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และในลักษณะของบทกฏหมายทั่วไป ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 1 ซื้อขาย หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องรายการ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทารกในครรภ์มารดา ศึกษากรณีการทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อธิป ลิ้มไพบูลย์การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบถึงการเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์ที่นำไปสู่การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อการวิเคราะห์ถึงปัญหาการทำแท้ง โดยการวิเคราะห์ได้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเอกสาร ข้อค้นพบการวิจัยคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิมนุษยชนที่มีการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศและในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่เป็นปัญหาก็คือการเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์ ซึ่งตามหลักศาสนาและปรัชญาพบว่าเริ่มตั้งแต่ เมื่ออยู่ในครรภ์มารดา โดยเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมีดวงจิตวิญญาณเข้าไปสถิตในตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดา และปรัชญาจีนนับอายุแรกเกิดของทารก เป็น 1 ปี โดยนับตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์มารดาเรื่อยมาจนคลอดเป็นเวลา 1 ปี ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความสัมพันธ์กับการทำแท้งซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้แล้ว 2 แนวทาง คือ อนุญาตให้มีการทำแท้งเสรีหรือกำหนดให้การทำแท้งเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งประเทศไทยกฎหมายอาญากำหนดให้การทำแท้งเป็นความผิดอาญาตาม มาตรา 301-304 และมีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 305 ซึ่งหากนำเอาหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาใช้แล้ว การทำแท้งต้องไม่ให้เป็นเสรีโดยไม่มีข้อยกเว้น เพื่อแสดงถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รายการ การจัดทำบัญชีและรายงานบริษัท : วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ....(Sripatum University, 2566) จุฑามาศ หิตามาตาในประเทศไทยมีการประกอบธุรกิจอยู่หลายประเภทและเกือบทุกธุรกิจมีการจดบันทึกรายการทางบัญชีและจัดทำรายงานผลการประกอบธุรกิจซึ่งแสดงถึงฐานะการดำเนินงานของกิจการไว้ในรูปแบบทางการเงิน โดยนำหลักการใช้หน่วยเงินตรา (Monetary Unit Assumption) ซึ่งกิจการอาจนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนาโวหาร แต่ข้อมูลที่มีลักษณะดังกล่าวจะมีความหมายไม่ชัดเจนเท่ากับข้อมูลที่เป็นตัวเลขซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำข้อมูลทางการบัญชีและรายงานทางการเงินไปใช้ประกอบการตัดสินใจของประชาชน ภาครัฐบาล ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันโดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยนั้นการจัดทำบัญชีและรายงานบริษัท มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเข้ากำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นพิเศษรายการ การจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) คณัชวรรธก์ดา สุภาพรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 283 ได้บัญญัติเรื่องกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถื่น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปให้ส่วนท้องถิ่นในการจัดให้มีบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นให้ได้รับการบริการและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ซึ่งการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญนั้นหมายความรวมถึงการกระจายอำนาจทางการคลังด้วย เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องกระจายอำนาจการจัดเก็บรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกัน เพราะการจัดเก็บรายได้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านการคลัง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจทางการคลังรายการ การจัดให้มีการคุ้มครองหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนและเด็กตามกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) อำพล แก้วปานวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กรณีให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) โดยใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว คือ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In Vitro Fertilization: IVF) เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณสมบัติที่พร้อมต่อการฝังตัวแล้วนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดสัญญารับตั้งครรภ์แทนที่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นพิเศษ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 (Protection of a child born by medically assisted reproductive technology act, B.E. 2558 (2015)) ใช้บังคับ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการรักษาภาวะการมีบุตรยากแก่ผู้ที่มีบุตรยาก โดยสามารถดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดา มารดา และสถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ แต่พระราชบัญญัตินี้กลับไม่ได้บัญญัติความคุ้มครองสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนให้ครอบคลุมโดยคุ้มครองแก่หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนอย่างเหมาะสม และไม่ได้กำหนดให้มีการรับรองสิทธิของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนไว้อย่างเพียงพอ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจึงอาจถูกละเมิดสิทธิในด้านสุขภาพทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights) และในกรณีที่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นถึงแก่ความตายก่อนที่เด็กจะเกิด พระราชบัญญัตินี้กำหนดเพียงให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครอง (Conservator) ขึ้นใหม่ ทำให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องรับภาระ หน้าที่เกินกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยวิทยานิพนธ์นี้จะมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรายการ การตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ : ศึกษาเฉพาะคดีที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภาณุพงศ์ ในเรือนการที่ผู้เสียหายได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท และมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งหากพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จหรือศาลได้วินิจฉัยขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว ย่อมส่งผลต่ออำนาจการไต่สวนและวินิจฉัยคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปตามหลักการห้ามดำเนินคดีอาญาซ้ำ (ne bis in idem) ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายส่งผลกระทบต่ออำนาจการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าควรมีมาตการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายรายการ การตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พงศกร เคยสนิทการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 โดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ยังไม่ทำให้การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในประเทศไทยมีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากเป็นการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ โดยผู้บัญชาการ หรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน อันเป็นองค์กรเดียวกับพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบสวน ไม่ใช่การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยองค์กรภายนอกที่จะทำให้การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น หากมีการแก้ไขกฎหมายให้มีระบบการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ โดยที่บัญญัติให้องค์กรศาลเป็นผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอื่นนอกเหนือจากองค์กรตำรวจซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาในความผิดนั้น และองค์กรอัยการซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้ดุลพินิจทำคำสั่งไม่ฟ้องในคดีนั้น และยังเป็นการให้องค์กรผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่ด้อยกว่าพนักงานอัยการผู้ที่สั่งไม่ฟ้อง จะทำให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในประเทศไทยนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ยังไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำความเห็นของผู้ที่ทำการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการเอาไว้ ว่าองค์กรที่ทำการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจะต้องทำความเห็นภายในกรอบระยะเวลาเท่าไหร่ ทำให้ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าของการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ดังนั้น จึงควรที่จะมีการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาทำความเห็นขององค์กรที่ทำการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการไว้ให้มีกำหนดแน่นอน อันเป็นการเร่งรัดองค์กรที่ทำการตรวจสอบให้ทำความเห็นภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้การดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาดำเนินไปอย่างไม่ล่าช้ารายการ การนำทรัพย์สินมีรูปร่างและทรัพย์สินไม่มีรูปร่างมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ศึกษากรณี : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เอกสิทธิ์ ฤทธิ์วีระเดชงานวิจัยเรื่อง “การนำทรัพย์สินมีรูปร่างและทรัพย์ไม่มีรูปร่างมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ศึกษากรณี : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” เป็นการศึกษาการนำทรัพย์ไม่มีรูปร่างและทรัพย์มีรูปร่าง คือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 โดยเปรียบเทียบกับหลักประกันแบบลอยของประเทศอังกฤษและการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยเอกรูปว่าด้วยการพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาที่มิได้กำหนดประเภททรัพย์สินแตกต่างจากประเทศไทยที่กำหนดประเภททรัพย์สินไว้ ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่นำมาเป็นหลักประกันที่เป็นสิทธิชุมชนอันมิใช่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลหนึ่งและสิทธิในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจว่าต้องเป็นของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 หรือบริษัทนั้นที่มีสิทธิใช้เท่านั้นหรือมีคณะกรรมการสิทธิชุมชนตามร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน พ.ศ. .... เพื่อทำการกำหนดพื้นที่ในการใช้ให้สอดคล้องกับชุมชนที่นำมาเป็นหลักประกันและไม้ยืนต้นที่นำมาเป็นหลักประกันควรมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติและโรคภัยที่เกิดจากธรรมชาติในกฎกระทรวงเพื่อลดความเสียหาย จึงต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการนำสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อีกทั้งปัญหาเรื่องประเภทของผู้รับหลักประกันที่ถูกกำหนดไว้เพียงธุรกิจบางประเภท การกำหนดรายละเอียดในเรื่องการประเมินมูลค่า และการบังคับหลักประกันที่ให้อำนาจผู้รับหลักประกันและผู้บังคับหลักประกันโดยไม่มีการกำหนดวิธีการบังคับหลักประกัน จึงควรมีการแก้ไขให้มีธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเข้ามาเป็นผู้รับหลักประกัน กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ประเมินมูลค่าและวิธีการประเมินมูลค่า และกำหนดการบังคับหลักประกันที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายรายการ การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา(2560) ชาริณี กระตุฤกษ์วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาปรับใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา รวมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาของการนำมาปรับใช้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน สถานะทางกฎหมายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อำนาจในการติดตาม สภาพบังคับและบทลงโทษ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อ โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส มลรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย