LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การก่อการร้าย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สหัส ไพภักดิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน และไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะอยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล การวิจัยจึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 10 หมวด 43 มาตรา ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ให้มีนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายไปตราเป็กฎหมายตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พงษ์ศักดิ์ อโนทัยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการประชุมรับฟังความเห็น ข้อค้นพบจากการวิจัย คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่เหมาะสมกับการดำเนินคดีที่จะเอาตัวผู้ก่อการร้ายไปลงโทษได้ การวิจัยจึงจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้ายโดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย กระบวนการดำเนินคดีในชั้นก่อนพิจารณา โดยการสืบสวน กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่คดีก่อการร้าย การดักฟังด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการอำพรางหรือการแฝงตัว การสอบสวน กำหนดให้มีพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน การต่อรองคำรับสารภาพ และอัยการร่วมสอบสวน การค้นในที่รโหฐาน การค้นตัวบุคคลหรือยานพาหนะ การจับกุม การควบคุมตัวตามความจำเป็น ในชั้นพิจารณา กำหนดให้มีการพิจารณาระบบไต่สวน และระบบผู้พิพากษาสมทบ ชั้นการพิพากษา ใช้การฝึกอบรมแทนการลงโทษ ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ควรมีการออกเป็นกฎหมายด้านวิธีสบัญญัติที่มีความเป็นเอกภาพสำหรับการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และการจัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายต้นแบบ ด้านนโยบาย และด้านการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อไป คือ “การจัดตั้งศาลอาญาคดีความมั่นคงหรือศาลก่อการร้าย” และ “การคุ้มครองพยานคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย”