สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การคุ้มครอง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองกลไกทางเทคโนโลยี(2551-02-13T08:42:32Z) อนุชา เอี่ยมมีแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์โดยตรงแล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ นำมาใช้เพื่อป้องกันการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการสิทธิของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบันหรือจะมีขึ้นในอนาคต จากการศึกษา พบว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เกิดขึ้นเนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ตลอดจนพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ผู้ศึกษาเห็นว่ายังไม่มีมาตรการทางกฎหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายฉบับใด ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์นำมาใช้เพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรง ถึงแม้ว่างานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ไม่สามารถจัดเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดอันถือได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่หากได้มีการพิจารณาความหมายของงานอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยละเอียดแล้ว พบว่าประเภทงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ได้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังไม่ใช่ตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด กลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาความหมายของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ กับการให้ความคุ้มครองตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ผู้ศึกษาเห็นว่าหากเกิดกรณีการทำลายหรือหลีกเลี่ยงกลไกทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานลิขสิทธิ์ สามารถนำหลักความผิดตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... มาบังคับใช้ในการฟ้องร้องเพื่อชดใช้และเยียวยาความเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่ได้ให้บทนิยามของคำว่ากลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีไว้แต่อย่างใด ผู้ศึกษามีความเห็นว่าหากจะมีการปรับปรุงหรือกำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรเลือกปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์มากที่สุด เพียงแต่บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้มากว่าสิบปี ทำให้ไม่สามารถนำมาปรับใช้และไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคที่มีการสร้างสรรค์และจัดเก็บผลงานในรูปข้อมูลดิจิตอลและมีการเผยแพร่งานบนโลกอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย หรือหากจะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่กลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรงแล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมานั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และควรกำหนดบัญญัติให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้การกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนกว่าการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอื่นๆ ซึ่งผู้กระทำความผิดมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการกระทำความผิด ผู้ที่จะมีส่วนในการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการปกป้องการละเมิดงานลิขสิทธิ์ ด้วยเช่นกันรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต(2551-08-26T08:07:25Z) อนุชา เอี่ยมมีแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์โดยตรงแล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ นำมาใช้เพื่อป้องกันการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการสิทธิของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบันหรือจะมีขึ้นในอนาคต จากการศึกษา พบว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เกิดขึ้นเนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ตลอดจนพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ผู้ศึกษาเห็นว่ายังไม่มีมาตรการทางกฎหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายฉบับใด ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์นำมาใช้เพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรง ถึงแม้ว่างานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ไม่สามารถจัดเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดอันถือได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่หากได้มีการพิจารณาความหมายของงานอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยละเอียดแล้ว พบว่าประเภทงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ได้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังไม่ใช่ตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด กลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาความหมายของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ กับการให้ความคุ้มครองตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ผู้ศึกษาเห็นว่าหากเกิดกรณีการทำลายหรือหลีกเลี่ยงกลไกทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานลิขสิทธิ์ สามารถนำหลักความผิดตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... มาบังคับใช้ในการฟ้องร้องเพื่อชดใช้และเยียวยาความเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่ได้ให้บทนิยามของคำว่ากลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีไว้แต่อย่างใด ผู้ศึกษามีความเห็นว่าหากจะมีการปรับปรุงหรือกำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรเลือกปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์มากที่สุด เพียงแต่บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้มากว่าสิบปี ทำให้ไม่สามารถนำมาปรับใช้และไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคที่มีการสร้างสรรค์และจัดเก็บผลงานในรูปข้อมูลดิจิตอลและมีการเผยแพร่งานบนโลกอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย หรือหากจะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่กลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรงแล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมานั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และควรกำหนดบัญญัติให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้การกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนกว่าการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอื่นๆ ซึ่งผู้กระทำความผิดมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการกระทำความผิด ผู้ที่จะมีส่วนในการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการปกป้องการละเมิดงานลิขสิทธิ์ ด้วยเช่นกันรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างการสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา(2553-05-18T08:24:25Z) ชัชญาภา พันธุมจินดาการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้น มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจและให้เด็กกลับคืนสู่สังคมต่อไป มิใช่การดำเนินคดีเพื่อลงโทษให้หลาบจำดังเช่นผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการให้ทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำในชั้นสอบสวน การให้ผู้ที่เด็กไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบปากคำ การแยกการสอบสวนที่ให้กระทำเป็นสัดส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก ต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้อธิบายคำถามของพนักงานสอบสวนมิให้เด็กต้องได้รับการกระทบกระเทือนใจจากคำถามที่พนักงานสอบสวน แต่การดำเนินการในการสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหายังมีปัญหาข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนสิทธิของเด็กที่เป็นผู้ต้องหาดังนี้ 1.ปัญหาการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ทำให้ยังมีการนำผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก นำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน อันเป็นการประจานเด็กและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำวินิจฉัยว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีไม่ใช่การสอบถามปากคำและไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติโดยเฉพาะจึงไม่ต้องมี สหวิชาชีพเข้าร่วมในการดำเนินการดังกล่าว 2. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 /2ประกอบมาตรา 133 ทวิ จะกำหนดให้การสอบปากคำเด็กที่เป็นผู้ต้องหาต้องมีบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ เพื่อให้เด็กมีความอุ่นใจและผ่อนคลายในขณะถูกถามปากคำ แต่เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดว่าบุคคลที่เด็กร้องขอจะเป็นผู้ใด ซึ่งต่างจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การสอบสวนเด็กต้องกระทำต่อหน้าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง 3. แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะกำหนดให้มีทนายความเข้าร่วมการสอบสวนแต่ก็มิได้มีระยะเวลาในการพบและให้คำปรึกษากับเด็กเพื่อให้เด็กทราบถึงสิทธิหน้าที่ของเด็กในการสอบปากคำ ทำให้เห็นว่าการมีทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำเด็กในปัจจุบันได้กระทำเพื่อให้ครบองค์ประกอบตามกฎหมายเท่านั้นไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีการกำหนดไม่ให้การนำชี้ที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหาในที่สาธารณชนและในกรณีที่มีการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา ต้องมีสหวิชาชีพและทนายความเข้าร่วมดำเนินการด้วย และบุคคลที่เด็กร้องขอให้เข้าร่วมการสอบสวนควรจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก นอกจากนี้ต้องกำหนดระยะเวลาให้เด็กที่เป็นผู้ต้องหาได้พบและปรึกษาทนายความก่อนการสอบสวนด้วย